ไม่เลื่อนเลือกตั้ง แต่ยื้อผลเลือกตั้ง?

ไม่เลื่อนเลือกตั้ง  แต่ยื้อผลเลือกตั้ง?

คสช.อยู่มา 4 ปีกว่าๆ ต้องบอกว่าล้มเหลวทางเครดิตมากพอสมควร...

เพราะก่อนที่กฎหมายลูกเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 2 ฉบับสุดท้ายจะประกาศในราชกิจจานุเบกษา แทบไม่มีใครเชื่อว่าการเลือกตั้งจะมีขึ้นจริงในเดือน ก.พ.ปีหน้า ตามที่ กกต.กำหนดเป็นตุ๊กตาเอาไว้

ที่น่าตกใจก็คือ แม้ล่าสุดกฎหมายลูกจะประกาศออกมาแล้ว แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในหมู่นักการเมืองเองที่ไม่เชื่อว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นจริงๆ ตามโรดแมพ

แต่ข้อมูลที่ได้มาล่าสุด (จากสมาชิกกลุ่มสามมิตรบ้าง คนที่ทำงานให้ คสช.บ้าง) ก็คือ คสช.จะเดินหน้าจัดการเลือกตั้งตามโรดแมพแน่นอน และอาจเร่งให้เร็วตามที่สังคมต้องการ คือวันที่ 24 ก.พ.ปีหน้าเสียด้วย

ใครที่ติดตามท่าทีของ บิ๊กป้อม ที่ออกมาย้ำหลายครั้งผิดสังเกตว่าจะเลือกตั้งให้ทันวันที่ 24 ก.พ. คงงุนงงสงสัยเหมือนๆ กันว่าอะไรจะพลิกเร็วขนาดนั้น เพราะจริงๆ แล้ว วันเลือกตั้ง ยังเลื่อนออกไปอีกได้จนถึงก่อนวันที่ 10 หรือ 11 พ.ค.โดยไม่ผิดกฎหมาย

เหตุผลของเรื่องนี้ไม่ใช่ผู้มีอำนาจมั่นใจว่าชนะแน่ แต่จริงๆ แล้วฝ่ายผู้มีอำนาจมี “ไพ่ในมือ” ที่สามารถยื้อผลเลือกตั้งได้โดยไม่จำเป็นต้องเลื่อนเลือกตั้งให้ถูกวิจารณ์ด่าทอ เพราะกฎหมายเลือกตั้งมีเนื้อหาเป็นประโยชน์กับฝ่ายผู้มีอำนาจ โดยเฉพาะการเลือกตั้งระบบใหม่ที่ใช้ บัตรเดียว” แต่คิดคะแนนทั้งระบบเขต และปาร์ตี้ลิสต์

ฉะนั้นหากเขตเลือกตั้ง หรือแม้แต่หน่วยเลือกตั้งในเขตใดเขตหนึ่งเพียงบางส่วนไม่สามารถนับคะแนนได้ หรือถูกร้องเรียน หรือ กกต.สั่งเลือกตั้งใหม่ หรือโดนแจกใบเหลืองใบแดง ก็จะทำให้ไม่สามารถนำคะแนนมาคำนวณคิดสัดส่วน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 150 คนได้เลย เพราะต้องใช้คะแนนเสียงจากทั้งประเทศ ส่งผลกระเพื่อมไปถึงจำนวน ส.ส.ที่ได้รับการรับรองจาก กกต.มีไม่ถึง 95% ก็ไม่สามารถเปิดสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีได้ และหากมีปัญหาหลายเขต หลายหน่วย ก็จะยิ่งล่าช้าไปเรื่อยๆ

จะว่าไปการยื้อเวลาเป็นเพียงส่วนเสี้ยวของหมากเกมนี้ เพราะคิดง่ายๆ ฝ่ายใดกุมอำนาจการดูแลสถานการณ์ความเรียบร้อย ย่อมสามารถสร้างความไม่เรียบร้อยได้ และถ้าฝ่ายใด

จะว่าไปการยื้อเวลาเป็นเพียงส่วนเสี้ยวของหมากเกมนี้ เพราะคิดง่ายๆ ฝ่ายใดกุมอำนาจการดูแลสถานการณ์ความเรียบร้อย ย่อมสามารถสร้างความไม่เรียบร้อยได้ และถ้าฝ่ายใดมีอำนาจเหนือคนจัดการเลือกตั้ง ก็สามารถสั่งให้ทำอะไรก็ได้ อำนาจเหล่านี้แปรเป็นเงื่อนไขต่อรองให้เลือกข้าง หรือยกมือสนับสนุนใครได้หรือไม่...

รอดูกันยาวๆ ก็แล้วกัน!