Trade War: จีน/สหรัฐ ใครได้ ใครเสีย

Trade War: จีน/สหรัฐ ใครได้ ใครเสีย

Trade War มิใช่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยสหรัฐเคยได้รับบทเรียนจาก Smoot Hawley Tariff Act เมื่อปี 1932 ที่รัฐบาลสหรัฐ

โดยสภาคองเกรสโหวตตั้งกำแพงภาษีกับประเทศต่างๆ ดังรูป ผลลัพธ์คือการส่งออกและเศรษฐกิจสหรัฐร่วงลงอย่างไม่เป็นท่าในปีต่อมา

Trade War: จีน/สหรัฐ ใครได้ ใครเสีย

จนกระทั่ง ประธานาธิบดี แฟรงกิน รูสเวลท์ ได้เซ็นออกกฎหมาย Reciprocal Trade Agreements Act (RTAA) ในปี 1934 โดยให้อำนาจต่อประธานาธิบดีในการเจรจาเพื่อลดกำแพงภาษีนำเข้ากับประเทศต่างๆทั่วโลก จนสหรัฐได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ยึดถือนโยบายการค้าเสรีมาโดยตลอด จนประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ มาใช้ในการเพิ่มกำแพงภาษีนำเข้าเป็นครั้งแรกกับหลายต่อหลายประเทศ ดังจนเป็นข่าว Trade War .ในขณะนี้

ในภาพใหญ่ ตอนนี้ ทรัมป์อาศัยจังหวะตอนเศรษฐกิจสหรัฐที่เข้มแข็งในตอนนี้ชิงความได้เปรียบออกมาตรการ Trade War ทว่าหาก Trade War ไปไกลจนเศรษฐกิจสหรัฐเกิด recession ในปีหน้าจนต้องลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และ QE ที่มากไปกว่านั้น หากจีนเกิดตัดสินใจขายพันธบัตรสหรัฐที่ถือครองเป็นสำรองเงินตราระหว่างประเทศออกมาอีก รับรองได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีโอกาสเสียหายแน่ 

หากพิจารณาในแง่ของความเป็นไปได้และความได้เปรียบจาก Player ของ Trade War เป็นไป ดังนี้

ทำไมสหรัฐจ้องเล่นงานจีน

Made in China หรือ中国制造2025 (AI, robotics, semiconductor และ electric car) ดังรูป เป็นข้ออ้างที่ทรัมป์นำมาใช้ในการห้ามมิให้จีนลงทุนในบริษัทไฮเทคของสหรัฐ เหมือนกับตอนกล่าวหาข้ออ้างว่าญี่ปุ่นจะครองครองโลก (megalomaniac) ต่อญี่ปุ่นสมัยยุคทศวรรษ 1980 เพื่อกันท่า Sony และบริษัทอุตสาหกรรมชั้นนำของญี่ปุ่นในตอนนั้น ซึ่งทางด้านจีนและชาวโลกรู้ดี

Trade War: จีน/สหรัฐ ใครได้ ใครเสีย

โดยหากสังเกตให้ดี ทางรัฐบาลเยอรมันก็มีการออกโครงการ Industry 4.0 ที่คล้ายคลึงกับ Made in China 2025 แต่ทางสหรัฐก็ไม่ได้ออกมาตรการปกป้องอุตสาหกรรมไฮเทคต่อเยอรมัน 

ไพ่ที่ จีนได้เปรียบสหรัฐ

เกาหลีเหนือ คือ ไพ่ที่จีนได้เปรียบสหรัฐ เนื่องจากจีนให้การสนับสนุนเกาหลีเหนือมาโดยตลอดและสหรัฐไม่มีเงินทุนหนาพอจะช่วยคิม หากจำเป็นจริงๆ เกาหลีเหนือคือไพ่ที่จีนเล่นได้เสมอ นอกจากนี้ยังมองว่า ทรัมป์ มีจุดด้อย ตรงที่เล่นงานไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ยุโรป จีนเลยสบช่องร้องเรียนผ่าน WTO เสมือนเป็นการโดดเดี่ยวสหรัฐ

น่าสังเกตว่านักเศรษฐศาสตร์เก่งๆของสหรัฐ ไม่ค่อยอยากจะร่วมกับทรัมป์ เนื่องจากทราบดีว่า Trade War นั้น เกิดจากเหตุผลทางการเมือง โดยที่ทราบดีว่า แท้จริงแล้ว ‘เทคโนโลยี’ ไม่ใช่ จีนซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุที่ขาดดุลการค้า และส่งผลให้ชาวอเมริกันตกงาน เพราะจีนไม่มี lobbyist สำหรับประเด็นการค้า รวมถึงความกลัวต่างชาติของชาวอเมริกันที่ทำให้มาตรการ Trade War โดนใจชาวอเมริกันผิวขาวชนชั้นล่าง และมองว่าเทคโนโลยีที่มาแย่งงานเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ

ไพ่ที่ สหรัฐเหนือกว่าจีน

สถานะของดอลลาร์เป็นสกุลเงินหลักของโลกในตอนนี้ กับ มี venture capital ในซิลิกอนวัลเลย์ที่เข้มแข็ง และมีโอกาสสูงที่หวัง ฉี ซานจะลงมาดูแล ประเด็น Trade War เนื่องจากหลิว เฮ่อดูจะอ่อนให้สหรัฐมากเกินไป

ผมมองว่าในขณะที่ทรัมป์มีเวลาเหลือราว 2 ปีก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดี ครั้งใหม่ ขณะที่สีมีเวลา 10 กว่าปี ดังนั้น แม้เป็นเกมช่วงสั้นสัก 1 ปี จากผลกระทบ Trade War ทรัมป์ก็สามารถรับผลกระทบได้ไม่มากนัก โดยขณะที่ชาวจีนรับรู้และยอมรับหากต้องรับภาระบางส่วนในช่วงสั้นจาก Trade War ส่วนชาวสหรัฐสามารถระบายผ่านคูหาเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี สหรัฐเหนือกว่าจีนตรงสถานะของดอลลาร์เป็นสกุลเงินที่มีความพิเศษซึ่งทุกประเทศใช้เป็นเงินสกุลหลักและเป็นสำรองเงินตราระหว่างประเทศในตอนนี้ กับ มี venture capital ในซิลิกอนวัลเลย์ที่เข้มแข็ง โดย ช่วงเวลาที่สหรัฐ/จีน จะสู้หรือถอย เป็นดังตาราง

Trade War: จีน/สหรัฐ ใครได้ ใครเสีย

โดยสรุป สำหรับTrade War หากยื้อกันแค่หลักเดือน ฝั่งโดนัลด์ ทรัมป์ ถือว่าได้ประโยชน์ทางการเมือง แต่หากยืดเยื้อกันไปเป็นหลักปี โดนัลด์ ทรัมป์ มีโอกาสเสียประโยชน์ทางการเมืองสูงมาก

หมายเหตุ : ผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรมเรื่อง “เจาะลึก Trade War ที่นักลงทุนอย่างคุณ ห้ามพลาด” พบกับมุมมอง Macro และการลงทุน ในครึ่งปีหลัง 2018 ในวันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2018 ติดตามรายละเอียดได้ที่ MacroViewblog.com และ facebook.com/ MacroView ครับ