’วิกฤติอิตาลี’ เหมือนไม่น่ากลัว...จึงน่ากลัว

’วิกฤติอิตาลี’ เหมือนไม่น่ากลัว...จึงน่ากลัว

ความผันผวนของการเมืองอิตาลี ที่ได้ส่งผลกระทบไปยังตลาดหุ้นทั่วโลกเมื่อวันพุธที่ผ่านมา มีความน่ากังวลในจุดใดบ้าง ผมขอมองประเด็นดังกล่าว ดังนี้

’วิกฤติอิตาลี’ เหมือนไม่น่ากลัว...จึงน่ากลัว

ที่มา: Bloomberg

รูปแสดง ตารางการชำระคืนหนี้ของอิตาลีแยกตามเวลาที่ต้องชำระคืน ที่มีมูลค่ารวม 2.4 ล้านล้านยูโร

วิกฤติอิตาลีกระเทือนต่อหุ้นและแบงก์ในยุโรป

โดยตารางการจ่ายคืนหนี้ของอิตาลีมีอยู่ราว 2 แสนล้านยูโร สูงสุดในไตรมาส 4 ปี 2018 และไตรมาส 1 ปี 2019 ดังรูป ซึ่งเมื่อพิจารณาจากอัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีราว 130% นั้น ถือว่าสถานะการคลังของอิตาลีถือว่าย่ำแย่อยู่แล้ว 2 พรรค ได้แก่ 5Star และ The League ที่เป็นแนวประชานิยมและต้านยูโร ยังจะมีนโยบายที่จะเพิ่มภาระทางการคลัง 1.1 แสนล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 6.5% ของจีดีพี ผ่านมาตรการดังนี้ 1.การให้แบบเงินให้เปล่าขั้นต่ำแก่ประชาชนทั่วไปทุกคน 2.การปฏิวัติระบบภาษีเพื่อที่จะลดการจ่ายภาษีของประชาชน และ 3.การยกเลิกระบบบำนาญที่ได้ผ่านเมื่อปี 2011

โดยรากของปัญหาของเศรษฐกิจอิตาลีคือ แม้อัตราส่วนหนี้ภาครัฐต่อจีดีพีจะสูงมาก ทว่าเอาเข้าจริงแล้วไม่ได้สะท้อนผ่านการเพิ่มขึ้นของการลงทุนเลยแม้แต่น้อย โดยเมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนของการลงทุนต่อจีดีพีของอิตาลีและเยอรมนีดังรูป จะพบว่าหลังเกิดวิกฤติยุโรปปี 2012 ในขณะที่การลงทุนของเยอรมนีเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ โดยส่วนใหญ่มาจากการลงทุนภาคเอกชน การลงทุนของอิตาลีก็ลดลงเรื่อยๆ แม้ว่าหนี้ภาครัฐของอิตาลีจะขยับสูงขึ้นเรื่อยมา นั่นหมายความว่ารัฐบาลนำงบประมาณดังกล่าวไปใช้ในส่วนการบริโภคของประชาชน ซึ่งเลยทำให้เศรษฐกิจของอิตาลีไม่ได้มีความแข็งแกร่งขึ้นเลยแม้แต่น้อย 

จากรูป จะพบว่าสำหรับอิตาลีการลงทุนลดลงในปี 2016 จากปี 2008 ราว 17% หรือจาก 3.47 แสนล้านยูโร เหลือ 2.87 แสนล้านยูโร ในปี 2016 ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่าเพราะเหตุใดที่ประธานาธิบดีใหม่อิตาลี เซอร์จิโอ มัททาเรลล่า จึงเลือก คาร์โล คอททาริลลี อดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไอเอ็มเอฟให้มาเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เนื่องจากหากหัวหน้าพรรค 5Star และ The League ขึ้นมาเป็นผู้นำ ก็จะยิ่งทำให้การคลังของอิตาลีย่ำแย่ลง และยิ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรของอิตาลียิ่งสูงขึ้น โดยการเพิ่มขึ้นทุกๆ เปอร์เซ็นต์ของอัตราส่วนหนี้ภาครัฐต่อจีดีพีอิตาลี จะทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรอิตาลีกับเยอรมนีสูงขึ้น 1 basis point

ผมมองว่าไตรมาส 4 ปี 2018 คือช่วงที่อิตาลีมีความเสี่ยงสูงที่สุดในการจ่ายคืนหนี้ให้กับเจ้าหนี้

’วิกฤติอิตาลี’ เหมือนไม่น่ากลัว...จึงน่ากลัว

ที่มา: Consob

รูปแสดงอัตราส่วนของการลงทุนต่อจีดีพีของอิตาลีและเยอรมนี

ความเสี่ยงที่อิตาลีจะออกจากยุโรป และยังจะคงถือหนี้ที่ตนเองมีอยู่ไว้ในสกุลเงินของอิตาลีเอง หรือ redenomination Risk

ผมมองว่าการต่อรองทางการเมืองระหว่างประธานาธิบดีมัททาเรลล่า กับ 2 พรรคที่ค้านยุโรป 5Star และ The League คงจะไปได้แค่ระยะสั้นๆ จากนั้นการโหวตในสภาของรัฐบาลใหม่ก็จะมีเสียงไม่เพียงพอ จนต้องมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ซึ่งคราวนี้เป็นการวัดกันระหว่างกลุ่มเอาและกลุ่มไม่เอายุโรป ซึ่งอาจจะหมายถึงการโหวตว่าออกและไม่ออกจากยุโรป หรือ Quitaly ซึ่งหลายฝ่ายคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงราวๆ เดือน ..นี้

  ’วิกฤติอิตาลี’ เหมือนไม่น่ากลัว...จึงน่ากลัว

[ที่มา : Bloomberg]

[รูปแสดงส่วนต่างผลตอบแทนระหว่าง CDS 2014 (with CAC) ซึ่งอนุญาตให้ลูกหนี้ชำระเฉพาะสกุลยูโรและ CDS 2003 (no CAC)]

จะเห็นได้ว่าความเสี่ยงการเมืองดังกล่าว สะท้อนมายังส่วนต่างผลตอบแทนระหว่าง CDS 2014 (with CAC) ซึ่งอนุญาตให้ลูกหนี้ชำระเฉพาะสกุลยูโรและ CDS 2003 (no CAC) ซึ่งอนุญาตให้ลูกหนี้ชำระสกุลยูโรหรือสกุลเงินของตนเอง ดังรูป โดยดัชนีดังกล่าวที่สะท้อนการออกจากยูโรโดยยังถือหนี้ไว้ในสกุลเงินของตนเองสูงขึ้นเป็นอย่างมาก หลังเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา เมื่อผลการเลือกตั้งอิตาลีปรากฏออกมา นั่นหมายความว่า โอกาสที่อิตาลีจะออกจากยุโรป และยังจะคงถือหนี้ที่ตนเองมีอยู่ไว้ในสกุลเงินของอิตาลีเอง หรือ redenomination Risk จะสูงขึ้นเป็นอย่างมาก

โดยผมมองว่าไตรมาส 4 ปี 2018 เช่นกัน คือช่วงที่อิตาลีมีความเสี่ยงการเมืองสูงที่สุด โดยจะวัดกันว่าจะไปทางยูโรหรือไม่

ท้ายสุด ด้วยสภาพคล่องของตลาดตราสารหนี้อิตาลีมีสภาพคล่องที่มีไม่สูงมากนัก หากตลาดประมาทปัญหาทั้งในแง่เศรษฐกิจและการเมืองที่กล่าวไว้ข้างต้น เราอาจได้เห็นอุบัติเหตุในตลาดตราสารหนี้อิตาลีที่ไม่มีใครคาดการณ์ไว้ก็เป็นได้