ชัยชนะ ที่ไม่ได้ยิ่งใหญ่เสมอไป !!

ชัยชนะ ที่ไม่ได้ยิ่งใหญ่เสมอไป !!

เจริญพรสาธุชนผู้มีสติปัญญา .. ได้มองดูเรื่องราวในสังคมไทยขณะนี้แล้ว ได้แต่ต้องปลงในการพยายามเอาชนะคะคานกันในทุกเรื่อง

 อันสืบมาจากเหตุสังคมแบ่งขั้วกันอย่างชัดเจน ด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ การให้ได้มาซึ่งชัยชนะเพื่ออานาจบริหารแผ่นดิน .. โดยอ้างอิงอานาจประชาชน


เราจึงเห็นการเคลื่อนตัวของแต่ละกลุ่มที่ประสานอย่างสอดรับกัน เสมือนบังเอิญ เพื่อดึงกระแสแนวร่วมจากชาวบ้านชาวเมือง มาเป็นกาลังสนับสนุนการก่อการตามแผนงาน..


การคิดหาวิธีการเพื่อการสู้รบกันแบบสงครามเย็นจึงเกิดขึ้นในท่ามกลางสังคมที่เคยสันติสุข โดยมุ่งหวังความสาเร็จตามจุดมุ่งหมาย จึงเห็นวิธีการพยายามทั้งที่แยบยลและฉ้อฉล .. ปรากฏออกมาในยามนี้ เพื่อนาไปสู่การมีชัยชนะเหนือฝ่ายตรงข้าม ..คาว่า ต้องชนะโดยทุกวิธีการ จึงถูกสะกดคาไว้ในกลางจิต จนไม่คิดอะไรไปมากกว่าคาว่า ชัยชนะ อานาจ ผลประโยชน์ และพวกตนเอง..


ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ ตรัสถามพราหมณ์ผู้หนึ่งว่า ท่านประกอบอาชีพอะไร พราหมณ์กราบทูลตอบว่า.. หม่อมฉันเล่นสกา ซึ่งเป็นการพนันเลี้ยงชีวิต...


พระพุทธองค์ตรัสว่า.. นั่นยังประมาณน้อย เพราะชื่อว่าความชนะผู้อื่นไม่ประเสริฐ ส่วนผู้ใดชนะตนเองได้เพราะชนะกิเลส ความชนะของผู้นั้นประเสริฐ เพราะว่าใครๆ ไม่อาจทาให้ความชนะนั้นกลับพ่ายแพ้ได้..


พระพุทธองค์ทรงสรุปธรรมวิธีเอาชนะกิเลสทั้ง ๓ ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ ด้วยการคิดเผื่อแผ่ประโยชน์ให้ผู้อื่น.. การมีเมตตากรุณาและการอบรมจิตภาวนา


ทรงตรัสสรุปว่า.. เมื่อชนะกิเลสทั้ง ๓ ได้จริง การก่อเวรกรรมให้ตนเองและผู้อื่นย่อมสิ้นไป ได้ชื่อว่า ชนะจิตใจตนเองจึงประเสริฐกว่าการชนะผู้อื่น.. และจะไม่กลับมาพ่ายแพ้อีกต่อไป


การมุ่งเอาความสาเร็จในการดาเนินชีวิตไม่ใช่เรื่องผิดเพี้ยน หากผลแห่งความสาเร็จนั้นถูกต้อง ให้ประโยชน์โดยธรรม แม้การเอาชนะก็ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดี หากชัยชนะนั้นเกิดขึ้นโดยไม่ต้องก่อเวรกรรมกับใครๆ.. การมุ่งหวังความสาเร็จด้วยวิธีแห่งชัยชนะที่เป็นธรรมวิชัย จึงเป็นจิตวิญญาณของชาวพุทธ หรือแม้แต่ในหมู่บัณฑิตในโลกนี้ก็ยังนิยมสันติวิธีที่นาไปสู่ชัยชนะ.. ประสบความสาเร็จตามมุ่งหมาย ดังเช่นเรื่อง อักบาร์มหาราช พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินอินเดียสมัยก่อน ที่มีประวัติน่าสนใจศึกษา ด้วยสมัยทรงพระเยาว์ ต้องทรหดอดทนตามเสด็จพระราชบิดานามว่า หูมายูน ผ่านทางทุรกันดารไปตามทะเลทราย ต่อมาพระเจ้าหูมายูนเสด็จสวรรคต เจ้าชายอักบาร์จึงต้องขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทาการสงครามปราบข้าศึกของประเทศตลอดเวลา จนสามารถรวมประเทศอินเดียเป็นหนึ่งเดียวได้ เมื่อพระชนมายุ ๖๕ พรรษา พระนามของพระองค์ คือ ยะลาล อุดดีน มูฮัมหมัด อักบาร์ แต่ด้วยความเก่งกล้าสามารถจึงได้รับการถวายพระนามว่า “อักบาร์มหาราช” ด้วยพระองค์จะออกแนวหน้าเพื่อนากองทัพรบ

เองเสมอ และเมื่อชนะข้าศึกกลับมีเมตตากรุณา ไม่ทารุณทาร้ายเข่นฆ่าผู้พ่ายแพ้ จนพระเกียรติคุณหอมฟุ้งไปทั่ว..


อักบาร์มหาราช เป็นผู้แสวงหาความรู้ให้แก่ตนเองเสมอ ชอบคบค้ากับปราชญ์ราชบัณฑิต ครั้งหนึ่ง อักบาร์มหาราชได้ลากเส้นตรงขึ้นมาเส้นหนึ่ง แล้วบอกให้ปราชญ์ผู้หนึ่งหาวิธีการทาให้เส้นตรงเส้นนั้นสั้นลง โดยห้ามตัดหรือถูกต้องเส้นตรงเส้นนั้นเป็นอันขาด


ปราชญ์คนดังกล่าว จึงลากเส้นตรงขึ้นมาเส้นหนึ่งขนานกับเส้นตรงของอักบาร์ฯ แต่ยาวกว่า เมื่อเทียบกันทาให้เส้นตรงของอักบาร์ฯ สั้นลง.. จากเรื่องดังกล่าว อักบาร์ฯ ได้คติว่า การที่จะเอาชนะใครๆ ก็ตาม ไม่จาเป็นต้องไปทาร้ายเขา .. ไม่ต้องไปริษยา .. กระทาการอธรรมต่อเขาแต่อย่างใดๆ ..พึงสร้างบารมีธรรม .. เพิ่มพูนความสามารถให้ยิ่งขึ้น ก็จักสามารถเอาชนะได้โดยธรรม.. อันเป็นไปตามสันติวิธีที่ตรงตามหลักพุทธศาสนาอย่างแท้จริง.. จึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้มีชัยชนะที่ควรคู่กับความยิ่งใหญ่ แท้จริง !