ASEM CONNECTIVITY เชื่อมโยงเอเชียกับยุโรป

ASEM CONNECTIVITY เชื่อมโยงเอเชียกับยุโรป

เราเพิ่งจะฉลอง ASEM DAY ไปเมื่อวันที่ 1 มีค ของทุกปี และการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป หรือ Asia-Europe Meeting (ASEM) ครั้งต่อไป

 จะจัดขึ้นที่กรุงบรัสเซลส์ในเดือน ตค. ศกนี้ คาดว่าจะมีผู้นำจากประเทศเอเชียและยุโรปเข้าร่วมกันอย่างหนาแน่นโดยการประชุมสุดยอดผู้นำครั้งนี้จะมีสหภาพยุโรปหรืออียูเป็นเจ้าภาพ ภายใต้หัวข้อ Global Parners for Global Challages

แต่หัวข้อที่เห็นว่าน่าจับตาเพราะฝ่ายยุโรปให้ความสนใจมากคือ connectivity หรือการสร้างความเชื่อมโยง ระหว่างสองภูมิภาคเอเชียและยุโรป ว่าที่เราพูดว่ากันถึง connectivity ๆ นั้น ฝ่ายเอเชียและยุโรปจะตกลงกันถึงความหมายของ connectivity ว่าหมายถึงอะไร และเอเชียกับยุโรปจะสร้างความเชื่อมโยงดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้จริงแบบยั่งยืนได้อย่างไร ในความร่วมมือด้านใดบ้าง

ยุโรปสนใจผลักกัน concept เรื่อง sustainable connectivity เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ทั้งนั้น การผลักดันเรื่อง connectivity ในการกรอบ ASEM จะมาพร้อมกับการออกแผนยุทธศาสตร์ใหม่ของอียูเกี่ยวกับ connectivity กับภูมิภาคเอเชีย ซึ่งกำลังจะเปิดตัวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ASEM CONNECTIVITY เชื่อมโยงเอเชียกับยุโรป

ทั้งนี้ ASEM ประกอบไปด้วยสมาชิกจาก 53 ประเทศ ได้แก่ ประเทศยุโรป 30 ประเทศ และประเทศเอเชีย 21 ประเทศ รวมทั้งสหภาพยุโรป และ ASEAN ก็เป็นสมาชิกอยู่อยู่ ทำให้ ASEM เป็นกรอบความร่วมมือที่รวมเกือบ 60 % ของ GDP โลก และ 60% ของประชากรโลก และ 60 % ของการค้าขายของโลก

มีผู้เชียวชาญท่านหนึ่งกล่าวไว้ในงานสัมมนาฯ ว่า “หากจะมองความเชื่อมโยงระหว่างแต่ละทวีปเป็นเหมือน เส้นทางของถนน ถนนสายเอเชีย-ยุโรป นั้นถือว่าเป็น ถนนสายที่กว้างขวางมากที่สุดในโลก”

การหารือในกรอบ ASEM มิได้จำกัดอยู่เพียงเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการเมืองการต่างประเทศในระดับผู้นำและผู้ดำเนินนโยบายเท่านั้น แต่ได้ขยายตัวไปเกี่ยวกับเรื่องปัญหาระหว่างประเทศรูปแบบใหม่ เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคง การต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ ความมั่นคงทางพลังงานและอาหาร ซึ่ง ASEM ก็ได้รวมประเด็นใหม่ๆ เหล่านี้ไว้เป็นประเด็นการหารือ ที่สำคัญ อาเซมยังเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างสองภูมิภาคผ่านการมีส่วนร่วมของกลุ่มประชาสังคมและภาคธุรกิจ ในลักษณะ track 2

ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือในกรอบทวิภาคีระหว่างแต่ละประเทศของเอเชียและยุโรปเอง หรือความร่วมมือระดับภูมิภาคในกรอบพหุพาคี อย่างกรอบความร่วมมือ ASEM ที่ยังมีคุณค่าอยู่หลังจากตั้งขึ้นมานานกว่า 20 ปี ด้วยการประชุม ASEM Summit ครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ประเทศไทยเมื่อปี 2539

เป็นที่เข้าใจกันว่า กระบวนการอาเซมมีเป้าหมายในการสร้างการเป็น หุ้นส่วนที่เท่าเทียมกันระหว่างภูมิภาคเอเชียและยุโรปนั้นก็จริงอยู่ แต่แท้จริงแล้วบทบาทและความสำคัญของสองภูมิภาคในกระบวนการ ASEM ก็เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและยุคสมัย ในยุคนี้ ดูเหมือน ยุโรปจะต้อง “ง้อ” อยากเป็นพันธมิตรกับเอเชียมากขึ้น

ว่าแต่เมื่อพูดถึงความเชื่อมโยงหรือ Connectivity ยุโรปเขาคิดถึงอะไรบ้าง และเอเชียมองว่าเป็นอย่างไร

แน่นอนเมื่อพูดถึงความเชื่อมโยง เรามันจะนึกถึงเรื่องการสร้างสาธารณูปโภคและการคมนาคมระหว่างกันก่อน ในโลกปัจจุบัน มันรวมถึงการเชื่อมโยงไม่ใช่แค่ผ่านถนน แต่เป็นเรื่องการบิน การถไฟ การเดินเรือ ฯลฯ เพื่ออำนวยความสะดวกของการไหลเวียนของสินค้า บริการ และรวมทั้งข้อมูลข่าวสาร ในระบบห่วงโซ่อุปทานของโลก สำหรับเรื่องการคมนาคม อียูให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อมโยงกับโครงการ Belt and Road Initiative ของจีน และการขยายกรอบนโยบาย EU-China Connectiviityy platform ของอียูกับจีนที่มีอยู่แล้วให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น

อียูมีหลักการสำคัญๆ เรื่อง Connectivity อยู่สองสามอย่าง ซึ่งหัวใจหลักของ connectivity ที่อียูพูดถึงนั้น น่าสนใจและน่าจะเป็นประเด็นที่ประเทศไทยนำไปปรับใช้กับการสร้างระบบสาธารณูปโภคและคมนาคมในประเทศของเราได้ด้วย อาทิ

  • การสร้างความเชื่อมโยงด้านการคมนาคมสายใหม่ๆ จะต้องเน้นโอกาสที่ทั่วถึงแก่ทุกประเทศที่อยู่บนเส้นทางนั้น ให้เหมาะสมกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านั้น มิใช่ใช้เป็นเพียงแค่ “ท่านผ่าน”
  • ความโปร่งใส่ในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคเป็นเรื่องหลัก โดยต้องเปิดโอกาสให้ธุรกิจมีการแข่งขันอย่างเสรี เพื่อให้ได้โครงการที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพสูงที่สุด (อันนี้ คงเป็นคำถามหลัก สำหรับประเทศไทย....)
  • ควรคำนึงถึงผลกระทบด้านความยั่งยืน ได้แก่ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปด้วย อย่าละเลยประเด็นสำคัญเหล่านี้ และควรหันมามองการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ สำหรับโครงการสาธารณูปโภคต่างๆ

ที่สำคัญ การพูดเรื่อง Connectivity ของผู้นำเอเชียและยุโรป ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเรื่องของสาธารณูโภคและคมนาคมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างโอกาสและอำนวยความสะดวกทางธุรกิจระหว่างสองภูมิภาคให้มากยิ่งขึ้น ที่เรียกว่า Business links

ที่ขาดไม่ได้ ยังพูดถึงการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประชาชนของสองภูมิภาค หรือ People-to-People ให้แน่นแฟ้นขึ้น ซึ่งรวมเรื่องการสร้างโอกาสการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษา (อาทิ การส่งเสริมนักเรียนและนักวิจัยแลกเปลี่ยน) ด้านวัฒนธรรม (การส่งเสริมความร่วมมือของโครงการด้านศิลปะและวัฒนาธรรมต่างๆ ระหว่างเอเชียและยุโรป) รวมทั้ง ด้านการท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวเอเชีย-ยุโรป ไปมาหาสู่กันมากขึ้น เพราะการเชื่อมโยงและการสร้างความเข้าอกเข้าใจกันในลักษณะ soft connectivity เป็นจุดเริ่มต้นของโอกาสและความเชื่อมโยงในด้านอื่นๆ ของสองภูมิภาค ที่ยิ่งต้องเร่งสร้างให้เน้นแฟ้นขึ้นในกระโลกโลกปัจจุบัน