จีนจะแซงหน้าอเมริกาใน ปี2023

จีนจะแซงหน้าอเมริกาใน ปี2023

สำนักวิจัย Center for Economics and Business Research (CEBR) ในกรุงลอนดอน ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านการพยากรณ์ทางเศรษฐกิจ

ได้แถลงผลการวิจัยเมื่อ 26 ธ.ค. 2017 โดยมีข้อสรุปสำคัญคือ เศรษฐกิจจีนจะมีขนาดใหญ่กว่าเศรษฐกิจสหรัฐ (วัดจากมูลค่า จีดีพี) ตั้งแต่ปี 2032 หรืออีกใน 14 ปี ข้างหน้า

นอกจากนั้นเราก็จะเห็นถึงความสำคัญ และความโดดเด่นที่ชัดเจนของทวีปเอเชียในเศรษฐกิจโลก กล่าวคือ จะมีประเทศเอเชียถึง 3 ประเทศ คือ จีน (ที่ 1) อินเดีย (ที่ 3) และญี่ปุ่น (ที่ 4) ซึ่งจะติดอันดับ 5 ประเทศ ที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก

สำหรับเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลก 10 อันดับแรกนั้น ก็จะพบว่ามีประเทศเอเชีย ติดอันดับดังกล่าวถึง 5 ประเทศ (จีน, ญี่ปุ่น, อินเดีย, เกาหลีใต้ และ อินโดนีเซีย) ซึ่งประเทศที่ไต่อันดับมากที่สุด ในช่วง 2018-2032 คือ อินเดีย (จากที่ 7 เป็นที่ 3) เกาหลีใต้ (จากอันดับ 12 เป็นอันดับ 8) และ อินโดนีเซีย (จากอันดับ 16 เป็นอันดับ 10) ประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 11 คือ ออสเตรเลีย ซึ่งก็อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเช่นกัน

จีนจะแซงหน้าอเมริกาใน ปี2023

ประเทศที่ความสำคัญทางเศรษฐกิจลดลงนั้น ได้แก่ประเทศพัฒนาแล้วทั้งหมด ซึ่งประเทศที่ตกอันดับมากที่สุดได้แก่ ฝรั่งเศส (จาก ที่ 5 เป็นที่ 9) อิตาลี (จากที่ 9 เป็นที่ 13) และแคนาดา (จากที่ 10 เป็นที่ 12)

นอกจากนั้น ผมมีข้อสังเกตว่าไม่มีการกล่าวถึงรัสเซีย ในเรื่องของขนาดของเศรษฐกิจเลย เพราะเศรษฐกิจของรัสเซียมีขนาดเล็กมาก (เล็กกว่าอิตาลี) ในขณะนี้

CEBE สรุปว่า “Russia’s economy is among those expected to perform least well between now and 2032” ซึ่งจะขัดกับความรู้สึกในเชิงของความมั่นคงระหว่างประเทศ และด้านการทหารว่ารัสเซียเป็นมหาอำนาจ แต่ในเชิงเศรษฐกิจโลกนั้น รัสเซียแทบจะไม่มีบทบาทเลยทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

การที่เศรษฐกิจจีนจะมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และแซงหน้าสหรัฐในอีกไม่ถึง 15 ปีข้างหน้านั้น เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อมองในภาพรวมอีกมิติหนึ่งว่า เศรษฐกิจของทวีปเอเชียนั้นจะเป็นแกนนำหลักของเศรษฐกิจโลกอย่างสมบูรณ์แบบในอนาคตอันใกล้

แต่หากวัดจีดีพีโดยการคำนวณอำนาจซื้อจริง หรือที่เรียกว่า Purchasing power parity เอเชียอาจจะเข้าสู่สถานะดังกล่าวไปแล้ว เนื่องจากประเทศกำลังพัฒนานั้นมักจะมีจีดีพี คิดเป็นมูลค่าเงินดอลลาร์ต่ำกว่าอำนาจซื้อจริง เพราะในประเทศดังกล่าวราคาสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ จะถูกกว่าประเทศพัฒนาแล้ว

หากประเมิน จีดีพีโดยใช้ PPP เป็นตัววัดแล้ว จีนและเอเชียนั้นเทียบเท่าหรือนำหน้าสหรัฐ และประเทศกลุ่ม จี 7 ไปแล้วในปัจจุบันไม่ต้องรอปี 2032 ด้วยซ้ำ

แต่ในอีกด้านหนึ่งนั้น ก็ต้องยอมรับว่ามาตรฐานความเป็นอยู่ของจีนยังต่ำกว่าสหรัฐมาก

หากรัฐบาลต้องการจะเก็บภาษีประชาชนและระดมทรัพยากรมาพัฒนาศักยภาพทางการทหาร เพื่อความเป็นหนึ่งในด้านความมั่นคงระหว่างประเทศแล้ว ก็ต้องยอมรับว่า สหรัฐจะยังมีศักยภาพเหนือกว่าจีนหลายเท่าตัว เพราะคนจีนมีรายได้ต่อหัวเพียง 15,400 ดอลลาร์ ในปี 2016 โดยการคำนวณแบบ PPP ซึ่งยังต่ำกว่ารายได้ต่อหัวของคนอเมริกันที่ 57,400 ดอลลาร์ ในปีเดียวกัน

ดังนั้น คนอเมริกันก็ยังร่ำรวยกว่าคนจีนเกือบ 4 เท่า จึงน่าจะมีศักยภาพในการเสียภาษีให้รัฐบาลนำไปสร้างกองทัพที่มีศักยภาพสูงกว่าจีนต่อไปได้อีกหลายสิบปี กล่าวคือจะดูเพียงขนาดของจีดีพีเพียงอย่างเดียว และไม่ดูจีดีพีต่อหัวในการประเมินศักยภาพโดยรวมของประเทศไม่ได้ครับ