การเลือกตั้งเยอรมนี กับอนาคตยุโรป

การเลือกตั้งเยอรมนี กับอนาคตยุโรป

การเลือกตั้งที่น่าจับตามากที่สุดในยุโรปในปีนี้ การเลือกตั้งBundestagของเยอรมนี เมื่อ 24 ก.ย. หมายถึงการเลือกตั้งรัฐสภาของสหพันธ์(รัฐบาลกลาง)

ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ได้พลิกโผไปมากจากที่โพล์ต่างๆ คาดการณ์ไว้ คือ นาง Angela Merkel bจากพรรคขวา-กลาง CDU / CSU (พรรค CSU ในแคว้นบาวาเรียของเยอมนี) ได้รับคะแนนเสียงไปมากที่สุด ได้แก่ 33%

นั่นหมายถึง นาง Angela Merkel หรือที่รู้จักกันในนาม “Mutti” หรือ “คุณแม่” ของเยอรมนี จะเป็นพรรคผู้นำการจัดตั้งรัฐบาล และเธอจะเป็นนายกรัฐมนตรีของเยอรมนีเป็นสมัยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้นำหญิงที่ที่อยู่ในตำแหน่งนายกฯ นานที่สุดในประวัติศาสตร์ยุโรป

ที่สอง ตามมาด้วยพรรคซ้าย-กลาง SPD ที่นำโดยนาย Martin Schulz อดีตประธานสภายุโรป ที่ตัดสินใจกลับมาลงเลือกตั้งในประเทศ ได้รับคะแนนเสียงไปเพียง 20.5 % พรรค SPD ประกาศแสดงความผิดหวังมาก แต่ก็อาจเป็นเพราะนโยบายที่ไม่ได้ชัดเจดนักของพรรค

ยุคตกต่ำของพรรค CDU และ SPD

ผลออกมาแบบนี้สะท้อนถึงความตกต่ำและถดถอยในความเสร็จของสองพรรคใหญ่ในเยอรมันอย่าง CDU และ SPD ที่เคยครองเสียงข้างมากและเป็นพรรคร่วมรัฐบาลแบบ grand coalition ในสมัยที่แล้ว ว่าได้เสียคำแนนเสียงและคะแนนนิยมไปอย่างมาก สำหรับ CDU นับเป็นผลการเลือกตั้งที่แย่ที่สุดตั้งแต่หลังสงครามเย็น คือคะแนนเสียงลดลงถึง 8.5 % ส่วน SPD ลดลง 5.2%

แต่เสียคะแนนเสียงไปให้ใคร? ก็เสียไปให้พรรคขวาจัด / Populist ชื่อพรรค AFD ที่ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 3 ด้วยคะแนน 12.6 % ทำให้พรรค AFD ได้เข้าไปนั่งใน Bundestag เป็นครั้งแรกหลังจากเวลาเกือบ 60 ปี ทั้งนี้ ก็เพราะนโยบายการเปิดพรมแดนเยอมนีรับผู้อพยพจำนวนหลายล้านคนของนาง Merkel ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก ทำให้เธอเสียเสียงไปจำนวนมาก

จริงๆ คนเยอรมนีส่วนใหญ่ก็พอจะเดาๆ ได้ว่านาง Angela Merkel จากพรรค CDU จะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก แต่การขึ้นมาของพรรคขวาจัด AFD นั่นทำให้หลายคนตกใจ แต่ก็ต้องยอมรับว่านโยบายต่อต้านอิสลาม ต่อต้านการรับผู้อพยพ และต่อต้าน EU ของพรรค AFD กวาดคะแนนเสียงไปได้จำนวนมากจริงๆ ในยุคที่ยุโรปกำลังประสบปัญหาวิกฤติแบบนี้

ส่วนพรรค FDP หรือพรรค liberal พรรค Greens และพรรค Left คือพรรคซ้าย ได้คะแนนเสียงไปประมาณพรรคละ 10 %

การเลือกตั้งเยอรมนี กับอนาคตยุโรป

การเลือกตั้งเยอรมนี กับอนาคตยุโรป

Source: Bloomberg.com

ใครจะขึ้นมาเป็นรัฐบาล?

ที่น่าสนใจก็คือผลการเลือกตั้งออกมาแบบนี้แล้ว ใครจะขึ้นมาเป็นรัฐบาล

นาง Merkel ดูจะมีทางเลือกไม่มากสำหรับการตั้งรัฐบาลผสม เพื่อจัดจั้งรัฐบาล ช่วงนี้ก็กำลังเป็นช่วงที่พรรคต่างๆ อยู่ระหว่างการเจรจากันอยู่ และคาดไว้ต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน กว่าเยอรมนีจะประกาศรัฐบาลใหม่ได้น่าจะเป็นก่อนสิ้นปี 2560 หรือไม่ก็ต้นปี 2561

หลังจากการเลือกตั้ง พรรค SPD ที่มาเป็นอันดับสองประกาศว่า ต้องการเป็นผ่านค้าน จึงน่าจะทำให้จัดตั้งรัฐบาลผสมแบบ Grand Coalition ไม่เกิดขึ้น แต่พรรค CDU ยังไม่ได้ปิดกั้นทางเลือกนี้ และคงเจรจากับ SPD ต่อไป

ทางเลือกที่ดูน่าจะเป็นไปได้มากที่สุดคือ รัฐบาลผสมสีดำ-เหลือง-เขียว สีเหมือนธงประเทศจาไมก้า เลยเรียกว่ารัฐบาลผสมแบบ Jamaica ด้วยการนำของพรรค CDU (สีดำ) พร้อมกับพรรค FDP (สีเหลือง) และ พรรค Greens (สีเขียว) แต่ทางเลือกนี้จะทำให้นาง Merkel ต้องเหนื่อยได้อีก เพราะพรรค FDP ซึ่งเป็นพรรค Pro-Business กับพรรค Greens มีแนวทางนโยบายที่ขัดแย้งกันอยู่หลายด้าน และจะประนีประนอมเพื่อตั้งรัฐบาลผสมได้หรือไม่อย่างไร Merkel คงต้องดึงเกมส์อีกหลายเดือน

รัฐบาลผสมของ Merkel จะต้องพร้อมจะต้องเดินหน้าต่อไปเพื่อเดินหน้าอนาคตยุโรป และประชันกับพรรคขวาจัด AFD และเรียกคำแนนนิยมคืนมานั่นคือเป้าหมายของเธอ แต่การเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสมคงต้องใช้เวลาอีกนาน และอาจมีผลกระทบต่อนโยบายหลักๆ ที่เยอรมนีเคยสนับสนุนยุโรปอย่างเต็มที่ อาทิ พรรค FDP มีทีท่าไม่เห็นด้วยการแผนการปฏิรูป Eurozone ที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศส Emmanuel Marcon เป็นหัวหอกผลักดันอยู่และนาง Merkel ก็ดูจะเห็นด้วย แต่แน่นอน FDP ต้องเอาข้อนี้มาเป็นไพ่ต่อรองรับพรรค CDU ที่คงต้องการมีพรรค FPD เป็นพรรคร่วมรัฐบาล

คงใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าเยอรมนีจะมีรัฐบาลใหม่ อาจต้องรอไปถึงต้นปีหน้า แต่การเป็นผู้นำของเยอรมนีต่อไปของนาง Merkel คงจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับยุโรปในยุคนี้ ในยุคที่ Brexit กำลังเกิด วิกฤติเรื่องผู้อพยพยังไม่ยุดยั้ง และยุโรปต้องการผู้นำที่แข็งแกร่งและมั่นคงอย่างเธอ และเยอรมนียังไม่มีทางเลือกอื่น

-----------------------

ดร. อาจารี ถาวรมาศ เป็นผู้บริหารบริษัท Access-Europe บริษัทที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์และนโยบายเกี่ยวกับสหภาพยุโรปสำหรับภาครัฐและเอกชนไทยที่สนใจเปิดตลาดยุโรป www.access-europe.eu หรือติดตามได้ที่ www.facebook.com/AccessEuropeCoLtd