ต้องเน้นปฏิรูปภาคประชาชนจึงจะปฏิรูปประเทศได้

ต้องเน้นปฏิรูปภาคประชาชนจึงจะปฏิรูปประเทศได้

วิธีคิดและการทางานของรัฐบาลชุดนี้ยังติดอยู่ในกรอบคิดของชนชั้นผู้มีอำนาจ ผู้คิดว่าตนเองมีความรู้มากกว่าประชาชน

และการแก้ปัญหาเรื่องการบริหารทางเศรษฐกิจสังคมของประเทศสามารถทำได้ด้วยการสั่งการแบบ จากผู้มีอานาจเบื้องบนไปยังข้าราชการตามลาดับชั้นจนถึงประชาชนที่อยู่ล่างสุดได้

การปฏิรูป ไม่ใช่การปฏิสังขรณ์ ซ่อมแซม ปะผุ แก้ปัญหาเรื่องต่างๆ เป็นประเด็นไปหากหมายถึง การเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างทางสังคม (หมายรวมถึงเศรษฐกิจ การเมือง) เพื่อทำให้เกิดการบริหารทั้งภาครัฐ ธุรกิจเอกชน ภาคประชาชนสังคมแบบใหม่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส กระจายผลการพัฒนาอย่างเป็นธรรม ทาให้ประชาชนส่วนใหญ่มีการศึกษาที่ดีขึ้น ทาประเทศโดยรวมเจริญก้าวหน้าขึ้นได้อย่างมีนัยสาคัญแบบใหม่

การที่รัฐบาลมองว่าตนเองใหญ่ที่สุดเป็นความคิดยุคเก่า ระบบเศรษฐกิจการเมืองสมัยใหม่ซึ่งเป็นระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมที่ภาคธุรกิจเอกชนและประชาชนมีบทบาทมากขึ้น ประกอบไปด้วย 3 ฝ่ายหลักคือ ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน (หรือภาคประชาสังคม) ซึ่งควรพัฒนาไปด้วยกัน และถ่วงดุลกันอย่างเหมาะสม ประเทศจึงจะเจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเทศ อื่นๆ ที่พัฒนาหรือเจริญก้าวหน้ากว่าเราได้

รัฐบาลที่ใช้อำนาจมากไปและหรือเอื้อภาคธุรกิจเอกชนมากไป อาจจะทำให้เศรษฐกิจโดยรวมโตในระดับหนึ่ง แต่การเอาเปรียบภาคประชาชนจะทำให้เศรษฐกิจขาดความสมดุล มีปัญหาอุปสรรคที่จะโตต่อไปไม่ได้ดีพอ

ปัญหาหลักคือภาคประชาชนของไทยยังขาดความรู้ การรวมกลุ่มกัน โดยเปรียบเทียบจึงอ่อนแอกว่าภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชน การพัฒนาประเทศจึงขาดความสมดุลและมีปัญหาเติบโตต่อไม่ได้ จะต้องรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักการจัดตั้งองค์กรคอยติดตามตรวจสอบเสนอแนะและผลักดันต่อภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนอย่างแข็งขัน สม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อสร้างอำนาจต่อรองที่สมดุล เป็นธรรมขึ้น และทำให้เศรษฐกิจสังคมโดยรวมเข้มแข็งขึ้น

ระบบเศรษฐกิจที่เปิดทางให้มีการแข่งขันและการพัฒนาอย่างสมดุลเป็นธรรมขึ้น จะมีส่วนจะปฏิรูประบบการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยและมีความโปร่งใส ประสิทธิภาพเพื่อส่วนรวมเพิ่มขึ้น การเมืองที่ดีขึ้นจะช่วยให้เศรษฐกิจสังคมพัฒนาได้ดีขึ้นแบบเสริมซึ่งกันและกัน

แนวทางการปฏิรูปประเทศเชิงโครงสร้างที่สาคัญคือ การกระจายอำนาจ, ทรัพยากร, ความรู้ให้ภาคประชาชนเพิ่มขึ้น เช่น การปฏิรูปการเมือง ควรเพิ่มสิทธิประชาชนในการถอดถอนผู้แทนที่ขาดจรรยาบรรณ ให้ทำได้ง่ายกว่าในระบบปัจจุบัน จัดให้มีการทำประชาพิจารณ์ การทำประชามติในเรื่องสาคัญได้บ่อยครั้งขึ้น โดยภาคประชาชนมีสิทธิเสนอด้วย 

ในทางเศรษฐกิจควรกระจายอำนาจการ บริหารจัดการทรัพยากร งบประมาณสู่ท้องถิ่นและชุมชน แบบให้มีการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจที่มีประสิทธิภาพและความโปร่งใสเพิ่มขึ้นป้องกันการรวบอำนาจและทุจริตโดยนักการเมืองนายทุนท้องถิ่น เช่นต้องเสนองบประมาณ, โครงการประจำปีโดยละเอียด ประชาชนตรวจสอบได้ ร้องเรียน ฟ้องร้องได้ การ กระจายทรัพยากร งบประมาณ สู่ท้องถิ่น เป็นแนวทางที่จะทำให้เกิดการพัฒนาที่เป็นธรรมขึ้น ภาค ประชาชนได้เรียนรู้เศรษฐกิจการเมืองภาคปฏิบัติเพิ่มขึ้น

รัฐบาลไม่เข้าใจสภาพ สาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงไม่สามารถจะปฏิรูป หรือแก้ไขปัญหาหลักของประเทศได้จริง แม้จะอุตสาห์ออกแนวทางการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์การ พัฒนาประเทศ 20 ปี มาก็ตาม

การจะทำให้ภาคประชาชนเข้มแข็งต้องปฏิรูปเรื่องการศึกษา และสื่อสารอย่างจริงจัง ส่งเสริม พัฒนาความรู้ความคิดอ่านของประชาชนให้เป็นพลเมืองที่มีความรู้และรับผิดชอบสูง มีประชาชนรู้จักการ การจัดตั้งกลุ่มสมาคม สหภาพแรงงาน องค์กรประชาชนรูปแบบต่างๆ ที่สามารถคานอำนาจและ ตรวจสอบเรียกร้องทั้งนักการเมืองและชนชั้นสูงอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของสมาชิกทั้งหมดของสังคมได้เพิ่มขึ้น

การเมืองคือเรื่องการต่อรองทางอานาจของประชาชนกลุ่มต่างๆ ในสังคม ถ้าภาคประชาชน มีความรู้รวมตัวกันได้เข้มแข็งและมีอานาจต่อรองมากขึ้ นจะทาให้นักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจเอกชน ต้องปรับตัวปรุงการทางานของตนเองไปในแนวทางที่จะทาเพื่อประโยชน์ให้ภาคประชาชนเพิ่มขึ้ นเพราะถ้า ไม่ทาประชาชนที่ตื่นตัวมีความรู้จะหาทางถอดถอนเขาหรือไม่เลือกพวกเขาในวาระต่อไป การซื้อเสียงขาย เสียง ระบบอุปถัมภ์จะลดลง ต้องทาให้ภาคประชาชนเข้มแข็งเท่านั้น สังคมจึงจะพัฒนาไปอย่างสมดุล เป็น ธรรม ลดความขัดแย้งลง มีสงบสุขเพิ่มขึ้น

ประชาชนควรได้รับการส่งเสริมให้เป็นพลเมืองที่ขวนขวายศึกษาพัฒนาหาความรู้ และวิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจการเมือง รู้จักใช้สิทธิและหน้าที่พลเมืองที่รับผิดชอบเข้าไปแสดงความ คิดเห็นและมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ หรือการตัดสินใจเรื่องการใช้ทรัพยากรของประเทศ ของจังหวัด ชุมชนต่างๆ เพื่อประโยชน์คนส่วนใหญ่ อย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพเพื่อส่วนรวม และอย่างยั่งยืน (ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม)

การปฏิรูปทางเศรษฐกิจที่สำคัญคือ การปฏิรูปการคลัง (ระบบภาษี งบประมาณ) การเงินการ ธนาคาร ปฏิรูปที่ดิน ฯลฯ ให้ประชาชนมีส่วนเป็นเจ้าของ ผู้ครอบครองทุน ที่ดิน และปัจจัยการผลิต ทรัพยากร สินค้าต่างๆ ทั้ งนี้เพื่อจะได้มีการกระจายทรัพย์สินและรายได้ ไปสู่ประชาชนกลุ่มต่างๆ อย่าง ทั่วถึง เป็นธรรม มีสิทธิและโอกาสในการศึกษาเรียนรู้และการมีงานทาอย่างเสมอภาคเป็นธรรมเพิ่มขึ้น

นั่นก็คือต้องปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้เป็นแบบผสมระหว่างทุนนิยมที่มีการแข่งขันที่เป็นธรรม (ควบคุมสกัดกับการผูกขาดของทุนรายใหญ่ และส่งเสริมธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม) และระบบสังคมนิยมประชาธิปไตยแนวรัฐสวัสดิการแบบสวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก ฯลฯ

เมื่อเราปฏิรูปเศรษฐกิจแบบใหม่ที่ทาให้ประชาชน การศึกษา ประสิทธิภาพการทำงานและมีรายได้สูงขึ้น ประชาชนจะสามารถลงทุนเรื่องการศึกษาหาความรู้ (ให้ตนเองและลูกหลาน) ได้มากขึ้น รู้จักรวมกลุ่มกันสร้างอานาจต่อรองในการเลือกตั้งผู้แทน และรู้จักการผลักดันตรวจสอบให้รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรให้ต้องดำเนินนโยบายพัฒนาประเทศที่เอื้อประโยชน์คนส่วนใหญ่ได้มากขึ้น การจะปฏิรูปการเมืองให้ได้จริงไม่อาจสำเร็จด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ ซึ่งมีช่องโหว่ในการบังคับใช้/การปฏิบัติ ต้องทำควบคู่ไปกับการปฏิรูปทางเศรษฐกิจให้ประชาชนเข้มแข็ง เมื่อประชาชนมีความรู้ มีงานที่ดีทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น จะทำให้การซื้อเสียงขายเสียง ระบบอุปถัมภ์ การใช้อานาจและการให้สินบน แรงจูงใจต่างๆ ลดลง เหมือนในประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมส่วนใหญ่