การแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

การแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

(กฎหมายระบบ 30 บาท) 5

การแก้ไขมาตรา 41 เพิ่มการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้ผู้บริการ

ความเห็น เห็นด้วย

มาตรา 42 ยกเลิก

ความเห็น เห็นด้วย

มาตรา 45 (5) ไม่เห็นด้วยที่จะขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุข

(6) ไม่เห็นด้วยที่จะจัดบริการสาธารณสุขในระดับบุคคล โดยอาจดำเนินการด้วยตนเอง หรือให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการแสวงหาผลกำไร เป็นผู้ดำเนินการแทนก็ได้

มาตรา 46 หน่วยบริการมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากการรับการส่งต่อผู้รับบริการ

เห็นด้วยว่าหน่วยที่รับส่งต่อเอาเงินไปใช้ได้ตามระเบียบของสถานพยาบาลนั้นๆ

วรรคสอง(2) ไม่ควรครอบคลุมค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการในส่วนค่าตอบแทนบุคลากร ในภาครัฐ เพราะเป็นปัญหาการหักเงินเดือนและค่าตอบแทนซ้ำซ้อนกัน เนื่องจากจำนวนบุคลากรไม่เท่ากันและมีอัตราค่าตอบแทนแตกต่างกัน จึงควรแยกเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากรในภาครัฐออกไปตั้งแต่ต้น ไม่นำมาคิดรวมในค่าเหมาจ่ายรายหัว และกระทรวงสาธารณสุขควรได้รับงบประมมาณเหมือนกระทรวงอื่นๆ และ ควรคิดค่าบริการตามต้นทุนบริการทั้งหมด

มาตรา 47 มีการเพิ่ม 47/1 ไม่ควรเพิ่มให้องค์กรเอกชนและ NGO มาขอรับเงินจากกองทุนนี้ได้

มาตรา 48 คณะกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน ควรยกเลิก เพราะเป็นหน้าที่ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาลที่จะต้องตรวจสอบคุณภาพสถานพยาบาล และเป็นหน้าที่ของสำนักสถานพยาบาล กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณศุขที่จะต้องควบคุมคุณภาพมาตรฐานการบริการสาธารณสุขตามพ.ร.บ.สถานพยาบาลพ.ศ.2559 อยู่แล้ว สปสช.เป็นหน่วยงานประกัน ไม่มีหน้าที่ไปตรวจสอบคุณภาพมาตรฐาน แต่มีหน้าที่ไปตรวจสอบเรื่องร้องเรียนจากการที่ผู้รับบริการมีความเห็นว่าสถานบริการอาจให้บริการที่ไม่ได้มาตรฐานเท่านั้น

ส่วนการกำหนดราคากลางตามมาตรา 48(4) นั้น คณะกรรมการต้องรับฟังความคิดเห็นผู้ให้บริการตามมาตรา 18(13) และมาตรา 5

สรุปความเห็นทั้งหมดต่อร่างแก้ไขกฎหมายนี้ที่คณะกรรมการยกร่างกฎหมายเขียนขึ้นมา ผู้เขียนคิดว่า ไม่สามารถแก้ปัญหาการบริหารงบประมาณให้มีธรรมภิบาลได้ เนื่องจากไม่สามารถควบคุมการทำงานของเลขาธิการสปสช.และคณะได้ เพราะกฎหมายเดิมที่ให้อำนาจเลขาธิการตามมาตรา 36(1) มีอำนาจเต็มแต่ผู้เดียว ในการบรรจุ แต่งตั้ง เลื่อน ลด ตัดเงินหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัย หรือให้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างออกจากตำแหน่งได้ (แม้จะอ้างว่าตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนดก็ตาม) แต่ใครๆก็รู้ว่าจะต้องเข้าหาเลขาธิการเท่านั้นจึงจะได้ทำงานในสปสช. และใน(2) ออกระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงานตามติของคณะกรรมการ แต่ปัญหาคือคณะกรรมการได้ตรวจสอบว่าได้ทำตามมติจริงหรือไม่?

 ในมาตรา 37 ให้มีสำนักงานตรวจสอบขึ้นในสำนักงานและให้รับผิดชอบขึ้นตรงต่อคณะอนุกรรมการตรวจสอบและรายงานเลขาธิการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

แต่ปัญหาคือ สำนักตรวจสอบและคณะอนุกรรมการตรวจสอบจะกล้ารายงานความผิดพลาดของการบริหารสำนักงานที่เลขาธิการรับผิดชอบต่อเลขาหรือไม่ ควรกำหนดให้รายงานตรงต่อคณะกรรมการ(บอร์ด) โดยตรง เพื่อจะได้รายงานอย่างตรงไปตรงมาและโปร่งใส

นอกจากนั้นการตรวจสอบผลงานของสปสช.ซึ่งควรจะทำโดยก.พ.ร. ตามมติครม.เมื่อวันที่ 7 กย. 2547(1) ข้อ 12 ที่กำหนดว่าการตรวจสอบองค์กรมหาชนและองค์กรที่ตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.เฉพาะ ก็ไม่ได้ทำ แต่ไปจ้างบริษัท TRIS มาตรวจสอบ โดยมีผลการตรวจสอบว่า สปสช.เป็นผู้บริหารกองทุนดีเด่น ทุกปี

การทำประชาพิจารณ์หรือรับฟังความเห็นจากประชาชนเกี่ยวกับร่างแก้ไขพ.ร.บ. 30 บาท ก็เกิดปรากฎว่ามีการต่อต้านจากกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ โดยการชุมนุมประท้วง ออกข่าวทางทีวี และมีการ walk out ออกจากที่ประชุม

รัฐบาลต้องตอบปัญหาว่าขบวนการคัดค้านการแก้กฎหมายนี้มีใครอยู่เบื้องหลังหรือไม่ และทำไมจึงเกิดขบวนการเหล่านี้ขึ้นมา ทั้งการรับฟังความเห็นการแก้ไขพ.ร.บ.สสส.(4) และสปสช.

และต้องวิเคราะห์ด้วยว่าสำนักข่าวไหนที่ชอบออกข่าวเรื่อง walk outนี้

เอกสารอ้างอิง

http://www2.eppo.go.th/admin/cab/cab-2547-09-07.html

https://www.isranews.org/isranews-short-news/56995-walkout.html

http://news.voicetv.co.th/thailand/497653.html

https://prachatai.com/journal/2017/04/70880

 .............................................................................

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

กรรมการแพทยสภา

ที่ปรึกษาสำนักกฎหมายการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข