การแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545

การแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545

(กฎหมายระบบ 30 บาท) (1)

คำถามใครสั่งให้แก้ไขพ...หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ตำตอบก็คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ออกคำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่างพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2560 เพื่อแก้ปัญหาการบริหารงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)(1)

เหตุผลที่ต้องแก้ไขพ...หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.. 2545

คำตอบ เพื่อทำตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 37/2559

ตามคำสั่งที่ 37/ 2559 ลงวันที่ 5 ก.ค. 2559 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา(2) ได้เผยแพร่คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 37/2559 เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจําเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริม การจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่นตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

โดยที่ได้ปรากฏว่าการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการและเครือข่ายหน่หน่วยบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีเหตุขัดข้องบางประการ ทําให้เป็นอุปสรรคต่อความคล่องตัว ในการบริหารจัดการและประสิทธิภาพของการให้บบริการของหน่วยบริการ

ทั้งนี้ได้ส่งผลกระทบถึงการให้บริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขแก่ประชาชนโดยรวม สมควรแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในขณะนี้โดยเร็ว เพื่อประโยชน์ต่องานบริการสาธารสาธารณสุขของประเทศ และประชาชนผู้รับบริการในระหว่างที่จะได้มีการดําเนินการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อไป

จึงอาศัยอํานาจตามความในมาตมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่งตามรายละเอียด ดังต่อไปนี้(2)

การที่หัวหน้าคสช.ออกคำสั่งนี้ เนื่องจากคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เกี่ยวกับปัญหาในการบริหารงาน และการใช้จ่ายงบประมาณของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 11/2558 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2558 ได้รายงานผลการตรวจสอบว่า การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (กองทุน 30 บาทนั้น ได้ดำเนินการโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายหลายประเด็น

และคณะกรรมการชุดนี้ได้เสนอแนะว่า ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินกองทุนที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายนี้ ก็สมควรที่จะต้องแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการจัดบริการสาธารณสุขให้แก่ประชาชน ซึ่งอาจจะส่งผลเสียหายแก่ประชาชนผู้มีสิทธิไปใช้บริการในระบบ 30 บาท

 หัวหน้าคสช.จึงได้ออกคำสั่งที่ 37/2559 ดังกล่าวนี้ เพื่อให้สปสช.จ่ายเงินกองทุนที่ผิดกฎหมายตามเดิมได้

โดยในคำสั่งนั้นข้อ (5)เขียนไว้ว่า ค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปแล้วก่อนวันที่ 1 ต.ค. 2558 หากผลการตรวจสอบของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าเป็นการดำเนินการโดยสุจริต ให้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง และจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่นตามคำสั่งนี้” และคำสั่งข้อ (6) ให้ใช้คำสั่งนี้จนกว่าจะมีการแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อไป

 ซึ่งเป็นต้นเหตุที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2559(1)

คำอธิบายขยายความตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 37/2559

หัวหน้าคสช.พบว่าการใช้จ่ายเงินกองทุน 30 บาทที่ผ่านมานั้น มีการใช้จ่ายเงินผิดกฎหมาย แต่ถ้าให้หยุดการจ่ายเงินเช่นนี้ จะทำให้สถานพยาบาลไม่มีเงินไปให้บริการประชาชน หัวหน้าคสช.จึงออกคำสั่งยกเว้นให้สปสช.ทำผิดกฎหมายเหมือนเดิมได้

 แต่ให้กระทรวงสาธารณสุขตรวจสอบว่า การทำผิดกฎหมายก่อนหน้าการออกคำสั่งนี้ เป็นการกระทำที่สุจริตหรือไม่?

ถ้าเป็นการกระทำที่สุจริตและสอดคล้องกับคำสั่งนี้ ก็ให้ถือว่าทำถูกกฎหมายแล้ว

 และในขณะเดียวกัน หัวหน้าคสช.ก็ต้องการให้มีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้การจ่ายเงินกองทุน 30 บาท ในอนาคต ไม่เป็นการทำผิดกฎหมายอีกต่อไป

ผู้เขียนในฐานะผู้เสียภาษีร่วมกับประชาชนอื่นๆให้รัฐบาลเอามาจัดสรรเป็นกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงมีคำถามดังนี้

คำถามถึงนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการตรวจสอบ การใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่แล้วมา ก่อนวันที่ 1 ต.ค. 2558 นั้น เป็นการใช้จ่ายเงินที่สุจริต เพื่อประโยชน์ของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือไม่? ถ้าตั้งกรรมการตรวจสอบแล้ว ได้ผลการตรวจสอบอย่างไร ? โปรดแจ้งให้ประชาชนทราบด้วย

แต่ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้ดำเนินการสอบสวนเรื่องนี้ จะถือได้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่?

นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามสอบถามผลการตรวจสอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่?

ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้ดำเนินการตั้งกรรมการสอบสวน ในเรื่องการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือไม่ได้รายงานผลการตรวจสอบนี้ ในเวลาเนิ่นนานกว่า 1 ปีแล้ว โดยที่นายกรัฐมนตรีไม่ได้ติดตามเร่งรัดผลการตรวจสอบ จะถือว่านายกรัฐมนตรีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่?

สรุปเนื้อหาบทความนี้คือ

 เหตุที่ต้องมีการแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 เนื่องจากมีการบริหารกองทุนที่ผิดกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่มีการอ้างว่าถ้าไม่ทำผิดกฎหมายแล้ว จะไม่สามารถจ่ายเงินให้บริการประชาชนได้

หัวหน้าคสช.จีงออกคำสั่งที่ 37/2545 ให้สปสช.ทำผิดกฎหมายเหมือนเดิมที่ทำมาแล้วได้ต่อไป แต่สั่งให้รมต.สาธารณสุขตรวจสอบว่า ที่ทำผิดกฎหมายไปแล้วนั้น มันมีการทุจริตด้วยหรือไม่?

ถ้าทำ(ผิดกฎหมาย)โดยสุจริตแล้วไม่เป็นไร แต่ถ้าพบทุจริตแล้ว คนที่เป็นรัฐมนตรีที่กำกับดูแลการทำงานของสปสช.จะต้องจัดการอย่างไร ซึ่งวิญญูชนพึงรู้อยู่แก่ใจอยู่แล้วว่าจะต้องทำอย่างไร

และถ้าไม่รีบดำเนินการจัดการแก้ไขปัญหาความไม่สุจริต ก็เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่?

ตอนที่ 2 จะพูดถึงกฎหมายที่ยกร่างใหม่ ว่าแก้ปัญหาการบริหารงานของสปสช.หรือไม่

..............................................

เอกสารอ้างอิง

1. https://www.thairath.co.th/content/655717

2. https://www.dailynews.co.th/politics/548325

..............................................

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

กรรมการแพทยสภา

ที่ปรึกษาสำนักกฎหมายการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ที่ปรึกษากิติมศักดิ์ กรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ