แนวคำวินิจฉัย เป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่

แนวคำวินิจฉัย เป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่

พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เป็นกฎหมายที่กำหนดวิธีพิจารณาคดีขึ้นพิเศษ สำหรับคดีผู้บริโภค

 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีระบบวิธีพิจารณาคดีที่เอื้อต่อการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายได้รับการแก้ไขเยียวยาด้วยความรวดเร็ว ประหยัดและมีประสิทธิภาพ อันเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค แต่ไม่ได้มีการจัดตั้งศาลพิเศษขึ้นเป็นการเฉพาะคดีผู้บริโภคจึงยังคงต้องฟ้อง ณ ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งทั่วไป

คดีผู้บริโภคเป็นคดีที่มีความพิเศษแตกต่างจากคดีแพ่งสามัญหลายประการ เช่น

ผู้บริโภคที่เป็นผู้เสียหายจะฟ้องคดีเองหรือจะมอบหมายให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือสมาคมหรือมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคฟ้องและดำเนินคดีแทนก็ได้ ฟ้องด้วยวาจาได้ ผู้บริโภคได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องคดี ผ่อนคลายเรื่องหลักฐานเป็นหนังสือ อายุความยาวกว่าคดีแพ่งทั่วไป ไม่เคร่งครัดกระบวนการพิจารณา ภาระการพิสูจน์เป็นของผู้ประกอบการศาลพิพากษาเกินคำขอได้ เป็นต้น

การพิจารณาคดีว่า คดีใดจะเป็นคดีผู้บริโภคต้องเป็นไปตามคำนิยามที่กำหนดไว้ในมาตรา3 คือ

-เป็นคดีแพ่งระหว่างผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทน กับผู้ประกอบธุรกิจ ที่มีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับสินค้าที่ซื้อ เช่า หรือเช่าซื้อ หรือที่ได้มาโดยวิธีอื่นใดโดยเสียค่าตอบแทน หรือได้มาจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบแม้มิได้เสียค่าตอบแทน หรือพิพาทกันเกี่ยวกับบริการที่รับบริการที่เสียค่าตอบแทน หรือที่ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบแม้จะไม่เสียค่าตอบแทน

-เป็นคดีแพ่งตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย

 -เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวพันกับคดีดังกล่าวข้างต้น หรือคดีที่มีกฎหมายกำหนดให้ใช้วิธีพิจารณาตามกฎหมายฉบับนี้ ​

โดยให้ความหมายของผู้บริโภคไว้ ได้แก่ ผู้ซื้อ เช่า เช่าซื้อ หรือได้สินค้ามาโดยวิธีอื่นใดโดยเสียค่าตอบแทน หรือผู้ได้สินค้ามาจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบแม้จะไม่เสียค่าตอบแทน หรือผู้รับบริการ ซึ่งรวมทั้งผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบแม้ไม่เสียค่าบริการ และหมายความรวมถึงผู้ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้น

ในกรณีที่มีปัญหาว่าคดีใดเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ให้ประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย และคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุดการขอให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้ร้องขอหรือโดยศาลเห็นสมควรก็ได้ต้องทำอย่างช้าในวันนัดพิจารณาหรือวันชี้สองสถานแล้วแต่กรณี หากพ้นกำหนดแล้วจะขอให้วินิจฉัยไม่ได้

ที่ผ่านมามีคดีที่สู่การพิจารณาวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ ว่าเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่มากมาย โดยศูนย์วิทยบริการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม ได้รวบรวมและสรุปแยกตามลักษณะธุรกิจหรือธุรกรรมที่มีการฟ้องร้องกันไว้คือ

กรณีวินิจฉัยว่าเป็นคดีผู้บริโภค เช่น

ฟ้องผู้ใช้บัตรเครดิตให้ชำระหนี้ สหกรณ์การเกษตรฟ้องสมาชิกให้ชำระหนี้บุคคลให้กู้เงินโดยเรียกดอกเบี้ยเป็นการค้าปกติของตน โรงพยาบาลของรัฐให้บริการโดยเรียกค่ารักษาพยาบาลเป็นการตอบแทนโรงงานน้ำตาลให้ชาวไร่ที่ทำสัญญาขายอ้อยกู้เงินโดยคิดดอกเบี้ยฟ้องเรียกเงินกู้คืนธนาคารอาคารสงเคราะห์ฟ้องลูกหนี้เงินกู้ให้ชำระหนี้คนไข้ฟ้องโรงพยาบาลเอกชนผู้เอาประกันภัยฟ้องผู้รับประกันภัยผู้โดยสารเครื่องบินฟ้องสายการบินและผู้ให้บริการสนามบินไม่จัดเครื่องตรวจอาวุธไว้ตรวจผู้โดยสารบริษัทประกันภัยฟ้องผู้ขอให้ออกหนังสือรับรองการประกันตัวจำเลยชั้นศาล ผู้ซื้อบ้านจัดสรรฟ้องผู้จัดสรรให้ชำระค่าเสียหายและโอนกรรมสิทธิ์ถนนที่พิพาทนิติบุคคลอาคารชุดและผู้ซื้อห้องชุดฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทมาเป็นทรัพย์ส่วนกลางจากผู้ประกอบธุรกิจสร้างและขายอาคารชุดฟ้องหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนให้รับผิดในหนี้ของห้างทนายความฟ้องลูกความให้ชำระค่าจ้างว่าความ เป็นต้น

กรณีที่วินิจฉัยว่าไม่เป็นคดีผู้บริโภค เช่น

บริษัทฟ้องพนักงานรับทุนฝีกอบรมแล้วลาออกก่อนครบกำหนดทำงานใช้ทุนคืนซื้อขายที่ดินโดยผู้ขายไม่ได้ประกอบธุรกิจขายที่ดินอันเป็นการค้าปกติให้กู้เงินโดยเรียกดอกเบี้ยที่ไม่ใช่การค้าปกติของตนผู้ขายฟ้องผู้ซื้อสินค้าไปขายต่อผู้ขายฟ้องผู้ซื้ออะไหล่ไปซ่อมประกอบให้ลูกค้าในอู่กองทัพเรือฟ้องนักเรียนจ่าทหารเรือผิดสัญญาไม่รับราชการจนครบกำหนดผู้ปลูกอ้อยฟ้องผู้ซื้อ อ้อยเหมาเป็นแปลงจำนวนมาก ไม่ได้นำไปบริโภคเองผู้เช่าที่ดิน ร.ฟ.ท.ไปทำแผงให้เช่าต่อฟ้องร.ฟ.ท.ทำสัญญาเช่าไม่เป็นธรรมผู้ให้เช่าซื้อฟ้องผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันให้ชำระค่าเครื่องจักรที่เช่าซื้อเพื่อผลิตสินค้าออกจำหน่ายในทางการค้าเจ้าของที่ดินและที่พักอาศัยใกล้เคียงอาคารชุดฟ้องผู้ประกอบกิจการสร้างและขายอาคารชุดเรียกค่าเสียหายจากการก่อสร้างอาคารชุด

หมายเหตุ1. คำวินิจฉัยกล่าวข้างต้น อาจนำมาใช้เป็นแนวทางประกอบการพิจารณาได้ว่าคดีเช่นใดเป็นคดีผู้บริโภค คดีเช่นใดไม่ใช่คดีผู้บริโภค

2.อย่างไรก็ตามแนวของคำวินิจฉัยบางกรณี ปัจจุบันมีการวางหลักที่เปลี่ยนแปลงไปจากข้อวินิจฉัยเดิมเช่นการให้กู้เงินโดยเรียกดอกเบี้ยที่ไม่ใช่การค้าปกติของตนเดิมเคยมีคำวินิจฉัยว่าไม่เป็นคดีผู้บริโภคนั้น ปัจจุบันมีคำวินิจฉัยที่21/2559วินิจฉัยว่าแม้โจทก์ผู้ให้กู้ไม่มีอาชีพให้กู้ยืมเงินแต่ได้ให้กู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทนเป็นคดีผู้บริโภคการเช่าห้องประกอบธุรกิจการค้าเป็นการใช้สอยทรัพย์ที่เช่าตามปกติมิได้แสวงหาประโยชน์ จากทรัพย์อีกต่อหนึ่ง ผู้เช่าเป็นผู้บริโภค จึงเป็นคดีผู้บริโภค(คำวินิจฉัยที่639/2558)เช่าซื้อรถมาใช้รับจ้าง ไม่ได้นำมาขายต่อเป็นคดีผู้บริโภค (คำวินิจฉัยที่ 606/2558)

3.การขอให้ประธานศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่าเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่หากพ้นเวลาตามที่กำหนดไว้ ถึงแม้จะเป็นกรณีที่ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นตันพิจาณาพิพากษาใหม่ก็ตามก็ไม่รับวินิจฉัย (คำวินิจฉัยที่252/2558)