Customized เริ่มอย่างไร ให้โดนใจลูกค้า

Customized เริ่มอย่างไร ให้โดนใจลูกค้า

Arty & Fern เป็นแบรนด์ที่เริ่มจากการนำแนวคิด customization มาแทนที่ โมเดลธุรกิจแบบเดิมๆที่เริ่มกระบวนการจากการขายกรอบแว่นตาสำเร็จรูป

แบรนด์ต่างๆเปลี่ยนมาเป็นการเริ่มกระบวนการจากโครงหน้าและความต้องการของลูกค้า ออกแบบและผลิตกรอบแว่นตาให้เข้ากับลูกค้าแต่ละคน

คุณชนกันต์ อุโฆษกุล (คุณอาร์ท) และคุณอานิกนันท์ เอี่ยมอ่อง(คุณเฟิร์น) ผู้ก่อตั้ง Arty & Fern เล่าว่าจุดเริ่มต้นของธุรกิจแบบใหม่นี้เริ่มมาจากความชอบส่วนตัวของคุณชนกันต์ และประสบการณ์จากธุรกิจร้านแว่นตาของครอบครัวนั้น ทำให้เห็นว่าในรูปแบบของธุรกิจเดิมๆ แว่นตาในร้านแว่นตาเป็นสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งบางครั้งมีข้อจำกัดของการสวมใส่ให้เข้ากับโครงหน้าคนเอเซีย จึงเริ่มจากการผลิตแว่นตารุ่นแรกคือA&F’s nationality เป็นแว่นตาเลนส์สีธงชาติไทย หลังจากวางจำหน่ายเริ่มมีลูกค้าต่างชาติมาสั่งผลิตเป็นสีของธงชาติของประเทศต่างๆ เป็นจุดที่สะท้อนถึงว่าการCustomized ที่เริ่มมาโดนใจลูกค้า และช่วยสร้างการจดจำของแบรนด์ได้ดี

หลังจากนั้นคุณอาร์ทและคุณเฟิร์น จึงเริ่มที่จะเน้นการออกแบบด้าน Functional ให้มากขึ้น มีการออกแบบแว่นให้เข้ากับลูกคาแต่ละคน เก็บข้อมูลความต้องการที่แตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นรูปส่ง สี วัสดุ และปัญหาโครงหน้า โดยแนวคิดหลักในการผลิตแว่น Customized คือ แว่นตาที่ดีไม่ใช่แค่สวยเมื่อเห็น แต่ว่าต้องสวยเมื่อสวมใส่ด้วย จนปัจจุบันยอดขายของร้านกว่า 80% มาจากแว่นตา Customized เป็นหลัก

ในการผลิตสินค้า Customized นั้นสิ่งที่สำคัญคือ การทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความเป็นคนพิเศษ ซึ่งทำได้ง่ายๆจากการรับฟังความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นจากปัญหา จากแนวความคิดสนุกสนานสร้างสรรค์ของลูกค้า เพื่อหาคำตอบที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด ซึ่งที่ Arty & Fern นั้นลูกค้าจะแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่มีปัญหาโครงสร้างใบหน้า และกลุ่มความต้องการเฉพาะด้าน Design

เมื่อเข้าใจความต้องการของลูกค้าแล้ว Arty & Fern จะออกแบบให้ลูกค้าดูก่อน มีการทำภาพเสมือนของสินค้า และภาพเสมือนเมื่อใส่บนใบหน้าลูกค้าให้ดูเพื่อสรุป Design หลังจากนั้นจึงจะเริ่มผลิตสินค้าซึ่งใช้เวลา 2-3 สัปดาห์โดยในระหว่างขั้นตอนการผลิตซึ่งเป็นเสมือนงาน Handcraft นั้น จะมีการส่งภาพแต่ละขั้นให้ลูกค้าได้รับรู้เพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ร่วมกัน

สำหรับความท้าทายในการผลิตสินค้า Customized นั้น คุณอาร์ทและคุณเฟิร์น เล่าว่า ในบางครั้งลูกค้าเริ่มจากการวาดภาพแว่นตาที่อยากได้ให้เลย ถือเป็นโจทย์ว่า ทาง Arty & Fern จะสามารถตอบความคาดหวังของลูกค้าให้ดีที่สุดได้อย่างไร แต่คุณอาร์ทและคุณเฟิร์นมองว่าเป็นความสนุก ท้าทายและเป็นการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการทำสินค้า Customized ต่อไปในอนาคต

จากความกังวลในครั้งแรกว่าการเปลี่ยนโมเดลธุรกิจมาทำ Customized นั้นจะมีลูกค้าสนใจมากน้อยเพียงใด ปัจจุบันจากช่องทางการสื่อสารผ่าน Instagram Facebook และ WOM ทำให้ Arty & Fern มีกลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้นจากเดิมที่ตั้งไว้ว่าเป็นกลุ่มลูกค้าอายุ 30 ต้น ๆ เป็นกลุ่ม first jobber ที่ต้องการแว่นตา Design เฉพาะตัว ไปจนถึงกลุ่มคนอายุ 40 ปี ที่ต้องการแว่นตาที่เหมาะสมกับการใช้งาน รวมไปถึง นักร้องและดารา ซึ่งกลุ่มลูกค้ายินดีที่จะจ่ายให้กับแว่นตา Customized อย่างไม่ลังเล

กรณีศึกษาของ Arty & Fern สะท้อนให้เห็นว่า สินค้า Customized ยังมีโอกาสเติบโตในเมืองไทยได้ไม่อยาก สิ่งสำคัญคือ การตอบโจทย์ความคาดหวัง ความต้องการ และ เคล็ดลับอยู่ที่การไม่ลืมสร้างประสบการณ์การเป็นคนพิเศษไปในระหว่างทางของการสร้างสินค้า Customized ด้วย

-----------------

เครดิต...กรณีศึกษาและการสัมภาษณ์คุณชนกันต์ อุโฆษกุล และคุณอานิกนันท์ เอี่ยมอ่อง โดย นางสาวภัทรพร วรรธนะวิศาล นักศึกษาปริญญาโท สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล