รอยอดีต 'แดงปทุม'

รอยอดีต 'แดงปทุม'

สถานการณ์วัดพระธรรมกาย การต่อสู้ระหว่าง “คณะสงฆ์ธรรมกาย” กับ ดีเอสไอ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า มันเป็น “สมรภูมิการเมือง” ระหว่าง “คนเสื้อแดง” กับ “คสช.” บรรยากาศการปิดล้อมธรรมกาย ทำให้หลายคนนึกถึง “เหตุการณ์ราชประสงค์” เมื่อปี 2553

การที่ดีเอสไอ แจ้งข่าวว่าจะมีมวลชนจัดตั้งเข้ามาในพื้นที่เพิ่มอีก 700 คน อาจทำให้หลายคนเชื่อข่าวสารนี้ในทันที

เนื่องจากระหว่างปี 2552-2557 จังหวัดปทุมธานี เป็นฐานที่มั่นที่ใหญ่อีกแห่งหนึ่งของขบวนการคนเสื้อแดง มีทั้งกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ขึ้นตรงต่อ นปช. และแยกตัวเป็นอิสระ

คนเสื้อแดงกลุ่มแรกๆ คือ กลุ่มปทุมธานีรักษ์ประชาธิปไตย นำโดย กำนันต้อย สมบุญ ขุนทองไทย ที่ได้รับการสนับสนุนจากอดีต ส.ส.ปทุมธานี พรรคเพื่อไทย อย่าง ชูชาติ หาญสวัสดิ์ ว่าที่ ร.ต.สุเมธ ฤทธาคนี และพรพิมล ธรรมสาร

หลังพฤษภา 2553 ชื่อของกำนันต้อยหายไป แต่ก็มีชื่อของ วุฒิพงษ์ กชธรรมคุณ หรือ “โกตี๋ เรดการ์ด” เข้าแทนที่

โกตี๋เป็นพ่อค้าขายผ้าแถวจตุจักร ผันตัวเองไปเป็น ‘ดีเจเสื้อแดง' จัดรายการวิทยุชุมชน ในนามสถานีเรดการ์ดเรดิโอ และเปิดหมู่บ้านเสื้อแดง ลำลูกกา ขึ้นที่ปทุมธานี 

ดังที่ทราบกัน ในพื้นที่ปทุมธานี มีวิทยุชุมชนคนเสื้อแดงอยู่ไม่ต่ำกว่า 10 สถานี

หลังรัฐประหาร 2557 กลุ่มคนเสื้อแดงปทุมธานี สลายตัวไป แกนนำหลายคนถูกทหารควบคุมตัวไปปรับทัศนคติ

มีเพียงโกตี๋คนเดียวที่หนีออกไปอยู่กัมพูชา และย้ายเข้ามาที่ลาว ซึ่งทุกวันนี้ ยังรับบทโฆษกเสื้อแดง โดยเปลี่ยนจากวิทยุชุมชน เป็นวิทยุออนไลน์

ด้วยเหตุนี้ ทาง คสช.จึงอดระแวงคนเสื้อแดงไม่ได้ เมื่อ “แกนนำพระ” วัดธรรมกาย เปิดเกมมวลชนเข้าสู้ดีเอสไอ

แม้หลังรัฐประหาร คสช.จะมอบหมายให้กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) มารับผิดชอบพื้นที่ปทุมธานี สแกนกลุ่มเสื้อแดงอย่างละเอียด แต่ คสช.ก็ยังไม่ไว้วางใจ

ยิ่งส่องตามเฟซบุ๊คคนเสื้อแดง ยิ่งเห็นการจุดกระแส “ล้มธรรมกายคือล้มพุทธศาสนา” 

ในสื่อสังคมออนไลน์ เห็นชัดว่า กรณีธรรมกาย ทำให้คนเสื้อสีเปิดเวทีถล่มกันอีกครั้ง

รัฐบาลจะติดหล่ม ธรรมกาย” หรือไม่กำลังสนับสนุนจากคนเสื้อแดงเป็นคำตอบ