พระราชาผู้ทรงธรรม

พระราชาผู้ทรงธรรม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็น

“ราชาแห่งราชาทั้งปวง” (The King of Kings) ตามที่สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ แห่งประเทศบรูไนตรัสไว้เมื่อคราวที่เสด็จมาร่วมงานเฉลิมฉลองการครองราชย์ 60 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อปี พ.ศ.2549 ซึ่งพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชนั้นเป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลกเป็นอย่างดี

เหตุที่พระองค์ทรงเป็นราชาแห่งราชาทั้งปวงนั้น มิใช่เพราะทรงเป็นนักรบผู้พิชิตอาณาจักรต่างๆ ด้วยกำลังทหาร แต่เพราะพระองค์ทรงเอาชนะใจคนทั้งหลายด้วยธรรมแห่งพระราชา ซึ่งธรรมแห่งพระราชาที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางแล้วก็คือทศพิศราชธรรม นั่นก็เป็นธรรมที่พระองค์ทรงไว้อย่างบริบูรณ์ แต่ยังมีธรรมแห่งพระราชาอีกอย่างหนึ่งที่พระองค์ทรงไว้อย่างบริบูรณ์เช่นกัน นั่นคือ จักรวรรดิวัตร โดยปรากฏอยู่ใน จักวัตติสูตร ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่หมู่สงฆ์ที่เมืองมาตุลา แคว้นมคธ อยู่ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ 11 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ซึ่ง พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ได้สรุปไว้ใน พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ดังจะขอคัดใจความมาเสนอดังต่อไปนี้

จักรวรรดิวัตร วัตรของพระเจ้าจักรพรรดิ, พระจริยาที่พระจักรพรรดิพึงทรงบำเพ็ญสม่ำเสมอ, ธรรมเนียมการทางบำเพ็ญพระราชกรณีย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ, หน้าที่ของนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่

  1. ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ เคารพนับถือบูชายำเกรงธรรม ยึดธรรมเป็นหลัก เป็นธงชัย เป็นธรรมาธิปไตย
  2. ธรรมิการักขา จัดการรักษาป้องกันและคุ้มครองอันชอบธรรมและเป็นธรรม ให้แก่

  ก. อันโตชน ชนภายใน ตั้งแต่พระมเหสี โอรส ธิดา จนถึงผู้ปฏิบัติราชการในพระองค์ทั้งหมด คือ คนในปกครองส่วนตัว ตั้งแต่บุตรธิดาเป็นต้นไป ด้วยให้การบำรุงเลี้ยงอบรมสั่งสอนเป็นต้น ให้อยู่โดยเรียบร้อยสงบสุข และมีความเคารพนับถือกัน

ข.พลกาย กองทัพ คือ ปวงเสนาข้าทหาร, ข้าราชการฝ่ายทหาร

  ค.ขัตติยะ กษัตริย์ทั้งหลายผู้อยู่ในพระบรมเดชานุภาพ, เจ้าเมืองขึ้น, ปัจจุบันสงเคราะห์ชนชั้นปกครองและนักบริหารชั้นผู้ใหญ่ทั้งหลาย, ข้าราชการฝ่ายปกครอง

  ง.อนุยนต์ ผู้ตามเสด็จ คือ ราชบริพารทั้งหลาย, ปัจจุบันควรสงเคราะห์ข้าราชการฝ่ายพลเรือนเข้าทั้งหมด

  จ.พราหมณคฤหบดี ชนเจ้าพิธี เจ้าตำรา พ่อค้า เจ้าไร่เจ้านา คือ ครูบาอาจารย์ นักวิชาการ หมอ พ่อค้า ผู้ประกอบอาชีพวิชพต่างๆ และเกษตรกร ด้วยช่วยจัดหาทุนและอุปกรณ์เป็นต้น

  ฉ.เนคมชานบท ชาวนิคมชนบท คือ ราษฎรทั้งปวงทุกท้องถิ่นตลอดถึงชายแดนทั่วไปไม่ทอดทิ้ง

ช.สมณพราหมณ์ พระสงฆ์และบรรพชิตผู้ทรงศีลทรงคุณธรรม

  ญ.มิคปักษี มฤคและปักษี คือ สัตว์อันควรสงวนทั้งหลาย

  1. อธรรมการนิเสธนา ห้ามกั้น มิให้มีการอันอธรรมเกิดขึ้นในพระราชอาณาเขต คือ จัดการป้องกัน แก้ไข มิให้มีการกระทำความผิดความชั่วร้ายเดือดร้อนเกิดขึ้นในบ้านเมือง
  2. ธนานุประทาน ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ชนผู้ไร้ทรัพย์ มิให้มีคนขัดสนยากไร้ในแว่นแคว้น
  3. ปริปุจฉา ปรึกษาสอบถามปัญหากับสมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ผู้ไม่ประมาทมัวเมา อยู่เสมอตามกาลอันควร เพื่อให้รู้ชัดการอันดีชั่ว ควรประกอบหรือไม่ เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขหรือไม่ แล้วประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปโดยถูกต้อง ข้อนี้ปัจจุบันสงเคราะห์นักปราชญ์นักวิชาการผู้ทรงคุณธรรมเข้าด้วย

(อ้างอิงจาก http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=339)

เมื่อพิจารณาจักรวรรดิวัตร คือ ข้อปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิหรือนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่แล้ว จะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่9 แห่งราชวงจักรีนั้น ทรงปฏิบัติได้ครบถ้วนสมบูรณ์อย่างมิต้องสงสัย ดังนั้น พระองค์จึงเป็นที่รักและเคารพของพสกนิกร รวมถึงชาวโลกเป็นจำนวนมากที่ได้รู้เห็นถึงสิ่งที่พระองค์ทรงปฏิบัติ ซึ่งไม่เพียงแต่เพื่อพสกนิกรชาวไทยของพระองค์เท่านั้น แต่เพื่อมนุษยชาติทั้งมวล ดังจะเห็นได้จากแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่สหประชาชาติประกาศยกย่องเป็นหลักสากลและเผยแพร่ส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ นำไปใช้เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงเป็นพระราชาผู้ทรงธรรมโดยแท้หาได้ยากยิ่ง ดุจดังพระเจ้าจักรพรรดิที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ซึ่งชั่วกัปชั่วกัลป์จึงจะปรากฏขึ้นในโลกพระองค์หนึ่งนั่นเอง