อะไรคือเป้าหมายของ 'การศึกษา'?

อะไรคือเป้าหมายของ 'การศึกษา'?

สถาบันอนาคตไทยศึกษา บอกว่าผลงานวิจัยชี้ชัดว่า การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย

ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 ถึงปัจจุบันผ่านไป 16 ปี พบว่าไม่สำเร็จ ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ส่งผลให้เกิดค่าเสียโอกาสที่ประเทศควรจะได้รับ ประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท หรือกว่า 11% ของจีดีพี

สาเหตุที่ไม่สำเร็จนั้น ผลงานวิจัยบอกว่าไม่ใช่เรื่องงบประมาณ เพราะภาครัฐได้จัดสรรงบประมาณ ด้านการศึกษาเป็นจำนวนมาก แต่เกิดจากบริหารการจัดการ, หลักสูตร, และคุณภาพของครู โดยเฉพาะคุณภาพของครูที่เป็นปัจจัยสำคัญ

ผลการวิจัยบอกว่าตราบใดที่ไม่แก้ปัญหาเหล่านี้ ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาการศึกษาได้

น่าคิดว่าคนบริหารการศึกษาของประเทศ รวมไปถึงทุกภาคส่วนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมนั้นเข้าใจว่า การศึกษาคืออะไรหรือไม่

เรารู้ไหมว่าการศึกษามีเป้าหมายอย่างไร? วันก่อนได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งที่เขียนไว้น่าสนใจอย่างยิ่ง ทุกคนในสังคมไทยจะต้องเข้าใจตรงกันก่อน ว่าเราส่งลูกหลานไปเรียนหนังสือเพื่ออะไร? ไม่ใช่เพื่อปริญญาใบนั้น, ไม่ใช่เพื่อให้พ่อแม่คุยกับเพื่อน ๆ ได้ว่าลูกฉันเก่ง, และไม่ใช่เพื่อคุยโม้โอ้อวดเท่านั้น

If we want to improve education, we must first of all have a vision of what good education is.

Certainly, we want our children to be able to read and write and be numerate. Those are the basic skills on which all other learning builds. But that's not enough.

We want to prepare them for a useful life.

 We want them to be able to think for themselves when they are out in the world on their own.

 We want them to have good character and to make sound decisions about their life, their work, and their health.

 We want them to face life's joys and travails with courage and humour.

 We hope that they will be kind and compassionate in their dealings with others.

 We want them to have a sense of justice and fairness.

 We want them to understand our nation and our world and the challenges we face.

 We want them to be active, responsible citizens, prepared to think issues through carefully, to listen to differing views, and to reach decisions rationally.

 We want them to learn science and mathematics so they understand the problems of modern life and participate in finding solutions.

 We want them to enjoy the rich artistic and cultural heritage of our society and other societies.

 (จาก The Death and Life of the Great American School System โดย Diane Ravitch)

ดังนั้น เราเพียงแค่บอกว่าเราต้องการให้เด็กไทยเป็น คนเก่งและคนดี จากระบบการศึกษาเท่านั้นก็ยังไม่พอ จะต้องสร้าง คนรุ่นใหม่ ที่มีบทบาทสำคัญในทุก ๆ ด้านเพื่อร่วมกันสร้างสังคมไทยอันพึงปรารถนาด้วย

นั่นย่อมหมายถึงความเข้าใจว่า การศึกษามีเป้าหมายในการสร้างคนที่รักความยุติธรรม ที่เป็น พลเมืองมีคุณภาพ มีส่วนร่วมในการทำให้สังคมดีขึ้น

และที่สำคัญที่สุดคือ การศึกษาต้องทำให้คนไทยเคารพในความเห็นต่าง และสามารถตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุและผล

ไม่ต้องเรียนเก่ง ไม่ต้องเข้าโรงเรียนดัง แต่หากการปฏิรูปการศึกษาสำเร็จ เราก็คงไม่ต้องอยู่กับสภาพปัญหาสังคมขัดแย้ง เพียงเพราะมีความเห็นต่างกันเท่านั้น

นี่คือข้อพิสูจน์ว่าการปฏิรูปการศึกษาของเราล้มเหลวมาตลอดจริง ๆ