โมเดลธุรกิจ สำหรับธุรกิจเพื่อสังคม

โมเดลธุรกิจ สำหรับธุรกิจเพื่อสังคม

โมเดลธุรกิจ (Business Model) คือ โครงร่างสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจที่จะกำหนดวัตถุประสงค์และทิศทางเดินคร่าวๆ ให้กับธุรกิจเริ่มใหม่

ก่อนที่จะเริ่มลงมือทำ แผนธุรกิจ (Business Plan) ซึ่งจะเป็นการกำหนดรายละเอียด ขั้นตอน หรือตัวเลขคาดการณ์ทางการเงิน และผลตอบแทนของธุรกิจ

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการริเริ่มสร้างธุรกิจเพื่อสังคมขึ้นมา จำเป็นที่จะต้องวาดภาพในใจที่ชัดเจนก่อนว่า ต้องการที่จะนำเสนอธุรกิจอะไร และถอดแบบออกมาให้เป็นโมเดลธุรกิจที่เป็นกิจลักษณะ เพื่อปรับแต่งรูปแบบธุรกิจให้สมบูรณ์ก่อนที่จะนำไปกำหนดรายละเอียดต่างๆ ไว้ในแผนธุรกิจต่อไป

ธุรกิจเพื่อสังคม ก็เป็นธุรกิจที่ต้องการแสวงหากำไรที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจเช่นเดียวกับธุรกิจทั่วๆ ไป

แต่ที่แตกต่างออกไปก็คือ ธุรกิจเพื่อสังคม จะไม่สนใจในการจัดสรรผลกำไรที่ได้จากธุรกิจเพื่อนำมาแจกจ่ายเป็นผลตอบแทนการลงทุนของเจ้าของและผู้ที่นำเงินมาลงทุนเริ่มต้นธุรกิจ แต่จะมุ่งไปที่การสร้างผลกำไรเพื่อนำไปตอบแทนหรือสร้างประโยชน์ให้กับสังคมโดยรวมเป็นหลัก

ศ.มูฮัมเมด ยูนุส ผู้ก่อตั้งธนาคาร กรามีน เพื่อต่อสู้กับความยากจนในบังคลาเทศ ซึ่งเป็นต้นแบบของธุรกิจเพื่อสังคมในปัจจุบัน ได้กำหนดหลัก 7 ประการของธุรกิจเพื่อสังคมไว้ คือ

    ดังนั้น โมเดลธุรกิจสำหรับธุรกิจเพื่อสังคม จึงจะมีส่วนที่เหมือนและส่วนที่แตกต่างไปจากโมเดลของธุรกิจที่แสวงหากำไรกลับคืนแก่เจ้าของและผู้ลงทุนที่เห็นกันอยู่ตามปกติทั่วไป

    ส่วนใหญ่แล้ว โมเดลธุรกิจ มักจะต้องเริ่มจากการกำหนดว่า ธุรกิจที่จะทำนั้น จะนำเสนออะไร ให้กับ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

    แต่สำหรับธุรกิจเพื่อสังคม คุณค่าที่ธุรกิจจะนำเสนอต่อตลาดที่ผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมจะต้องคิดถึงและมีคำตอบไว้ในโมเดลธุรกิจอย่างชัดเจน จึงจะต้องประกอบด้วยคุณค่าใน 2 ส่วน คือ คุณค่าที่จะตอบแทนต่อลูกค้าที่จะเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือบริการไปใช้ประโยชน์(1) และ คุณค่าที่สังคมโดยทั่วไปจะได้รับ(2)

    ซึ่งจะต้องรวมถึง การกำหนดตัวชี้วัดหรือมาตรการที่จะวัดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม(3) และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย(4)

    เมื่อกำหนดคุณค่าที่ธุรกิจจะส่งมอบให้กับลูกค้าและสังคมได้แล้ว โมเดลธุรกิจเพื่อสังคม จะต้องกำหนดถึง กิจกรรมหลักของกระบวนการทางธุรกิจ(5) เช่น จะผลิตสินค้า จะให้บริการ หรือ จะดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ที่เหมาะสมที่สุดที่จะตอบสนองคุณค่าที่ธุรกิจจะส่งมอบต่อผู้ได้รับประโยชน์ทั้ง 2 กลุ่มตามที่กำหนดไว้

    ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย(6) และระบุกลุ่มทางสังคมที่จะได้รับประโยชน์จากธุรกิจ(7) รวมถึง ช่องทางทางการตลาด(8) ที่จะนำมาใช้เชื่อมโยงระหว่างธุรกิจและกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

    คุณค่าที่จะส่งมอบ กลุ่มเป้าหมาย และช่องทางทางการตลาด จะนำไปสู่การกำหนด แผนการตลาดและการสื่อสารทางการตลาด(9) เพื่อการเผยแพร่กิจกรรมที่ธุรกิจต้องการจะทำ ซึ่งจะนำไปสู่การพยากรณ์ยอดขายหรือรายได้(10) ของธุรกิจที่จะเกิดขึ้น

    จากนั้น โมเดลธุรกิจ ก็จะต้องสะท้อนให้เห็นว่า ธุรกิจจำเป็นที่จะต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้างมาสนับสนุน(11) เช่น แหล่งและปริมาณของเงินลงทุนที่ต้องใช้ ทักษะความสามารถของบุคลากร สถานที่ตั้ง ความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ และภาคประชาสังคม ฯลฯ

    ทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจเหล่านี้ รวมถึงการประมาณการค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินการ จะถูกนำมาเป็นโครงสร้างของต้นทุนการดำเนินกิจการ(12) ของธุรกิจเพื่อสังคม

    จากประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย โมเดลธุรกิจก็จะให้คำตอบได้ว่า กำไรที่จะเกิดขึ้นจากธุรกิจเพื่อสังคม(13) จะมีจำนวนมากน้อยเพียงใด และธุรกิจจะมีนโยบายในการจัดสรรปันส่วนกำไรที่เกิดจากธุรกิจ(14) นี้อย่างไร

    องค์ประกอบทั้ง 14 ประการ (ที่เขียนกำกับไว้ในวงเล็บ) นี้ จะทำให้โมเดลของธุรกิจเพื่อสังคม โดยเฉพาะธุรกิจเริ่มใหม่ ได้มีโอกาสทบทวนความเหมาะสมรัดกุมและความเป็นไปได้ของธุรกิจได้อย่างมีทิศทางที่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่ผู้ประกอบการเพื่อสังคมได้ตั้งเจตนารมณ์ไว้