กรธ.ต้องสร้างความ‘ไว้วางใจ’

กรธ.ต้องสร้างความ‘ไว้วางใจ’

วันถัดมา... หลังจากประกาศรายชื่อกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ทั้ง 21 คน นายมีชัย ฤชุพันธ์ ก็เดินหน้า

นำทีมประชุมหารือกันทันที ในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมานี้ มีการกำหนดกรอบการทำงานชัดเจน โดยมุ่งแก้ไขปัญหา 2 เรื่องหลักคือโครงสร้างฝ่ายนิติบัญญัติ และโครงสร้างฝ่ายบริหาร 

000 มีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมาศึกษาปัญหาและศึกษาแนวทางของต่างประเทศทั้ง 2 เรื่อง พร้อมกับมีีคณะอนุกรรมการด้านผลิตสื่อทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลไปยังประชาชน เพื่อป้องกันการสื่อสารที่อาจเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน เน้นไปที่ช่องทางสื่อดิจิทัล และมีอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ อนุกรรมการรับฟังความคิดเห็น รวมเบ็ดเสร็จเป็น 5 คณะ

000 ส่วนกรอบ“เนื้อหา”...ตามคำบอกเล่าจากที่ประชุมจะเป็นการรวบรวมข้อดี-ข้อเสียจากรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคงเป็นไปได้ยาก เพราะร่างรัฐธรรมนูญบางฉบับที่เป็นแม้ถูก ยอมรับ” อย่างเช่น รธน.2521 ก็อาจจะเก่าไป ไม่ทันยุคสมัย

000 จึงค่อนข้างชัดเจนว่าจะเป็นการหยิบเอาร่างรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับเป็น“แม่แบบ” ทั้ง 2540-2550 และร่างฉบับปี 2558 ที่เพิ่งตกไป เอามา“เขย่า”กันใหม่ ดูเหมือนจะเป็นวิธีการง่ายๆ แต่การจะทำให้ ถูกใจ” คนส่วนใหญ่ต่างหากที่เป็นเรื่องยาก เพราะเป็นที่รู้กันอยู่ว่ารธน. 2 ฉบับแรกก็เคยเป็นประเด็นกล่าวหา “ขัดแย้ง”ของคน 2 กลุ่ม 2 สี

000 ส่วนฉบับที่เพิ่ง“ถูกคว่ำ”ก็เป็นที่หวาด“ระแวง“ว่ามุ่งที่จะสลายพรรคการเมืองใหญ่ มุ่งสานต่ออำนาจให้ คสช. รวมไปถึงบรรดา ประเด็นร้อนทั้ง ”นายกฯคนนอก-ที่มาสว.“ ก็เป็นเรื่องที่ทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจและพอใจยากมาก 

000 โดยเฉพาะการมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) หรือที่บางฝ่ายขนานนามว่า อภิมหารัฐบาล” ไม่ว่าจะเปลี่ยนชื่อ หรือปรับบทบาทอย่างไรก็คงเชื่อลำบากเพราะถูกปักใจไปแล้วว่า ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินภารกิจบางประการ

000 อย่างไรก็ดีเนื้อหาสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญที่กำลังจะร่างขึ้นใหม่ จะหนีไม่พ้นไปจากกรอบที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี2557 ในมาตรา 35 ที่ระบุให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดทําร่างฯ ให้ครอบคลุมเนื้อหา 10 ประการ 

000 สรุป“ใจความ”ได้ตรงกันกับ 5 แนวทางของคสช. ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มอบหมายให้นายมีชัย ดำเนินการ ว่าด้วยการทำให้ร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นที่ยอม สอดคล้องกับสภาพปัญหา ประเพณี วัฒนธรรม ต้องมีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการปฏิรูปและสร้างความปรองดอง 

000 ที่สำคัญต้องมีมาตรการป้องกันการเมืองใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์ ต้องมีแนวทางการขจัดทุจริต และต้องสร้างกลไกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและสังคมโดยรวม

000 การดำเนินการของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้มีความ“พยายาม”เปิดช่องทางการรับฟังความเห็นของหลายกลุ่มหลายฝ่าย...รวมทั้งการทาบทามและอดีตเลขานุการกมธ.ร่างรัฐธรรมนูญในอดีต มาเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้ข้อมูลถึง“แนวคิด”การร่างรธน.ในยุคสมัยนั้น ซึ่งหมายรวมถึงนายบวรศักดิ์ อุวรรโณ ในฐานะเลขานุการกรรมาธิการฯ เมื่อปี2540 ที่เพิ่งตอบ“ปฏิเสธ”ด้วย

000 อย่างไรก็ดีแม้จะมีตัวบุคคลเป็นที่ยอมรับ มีกรอบการทำงานที่ชัดเจน มีเนื้อหาครอบคลุมทุกปัญหาของชาติ... แต่โจทย์ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่า คือการสร้างความ“ไว้ใจ” ให้เกิดกับคนทุกฝ่าย เพราะไม่เช่นนั้นความปรองดอง” หรือความสงบสุขของบ้านเมือง อย่างที่ หวัง” คงไม่มีทางจะเกิดขึ้นได้เลย !!!

 ......................................

นฤพีร์ เพชรดล [email protected]