คิดต่างจากสมองสองซีก

คิดต่างจากสมองสองซีก

ความรู้มีพลวัต คือเปลี่ยนแปลงไปเหมือนน้ำที่ไปอยู่ในภาชนะต่างๆก็สามารถทำให้กลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมนั้นๆได้หาใช่เป็นสิ่งที่หยุดนิ่ง

ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับลูกค้าหรือกับผู้คนอย่างเช่น Apple ที่บอกว่า “Think different” ได้ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มาพร้อมกับการออกแบบที่ทันสมัยแต่ใช้งานง่าย (Simplicity) ในอดีต iPod ได้สร้างผลกระทบอย่างมากถึงขนาดเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจเพลงทีเดียวการคิดออกนอกกรอบนี้ถือได้ว่าเป็นสิ่งซึ่งสะท้อนถึงการเป็นองค์กรนวัตกรรมอย่างแท้จริง“เพราะถ้าทำเหมือนกับที่บริษัทอื่นๆทำก็ไม่ใช่Apple นะสิ” ดูจะเป็นคำกล่าวที่ไม่เกินจริงเลยร้านกาแฟ Starbuck ก็เปลี่ยนแปลงเรื่องของการใช้ชีวิตสร้างประสบการณ์ที่เปลี่ยนไปให้ความรู้สึกว่าชีวิตการทำงานกับชีวิตการพักผ่อนมันสามารถที่จะอยู่ที่เดียวกันได้นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราต้องเสียเงินซื้อกาแฟแก้วหนึ่งตั้งร้อยบาทแล้วก็กลับไปซื้อซ้ำอยู่เรื่อยๆมันเป็นเรื่องของความรู้สึกเรื่องของประสบการณ์ของคนที่มีความชอบแบบนั้นคนเราทำงานเยอะแล้วก็มีความเครียดลองสังเกตการออกกำลังกายอันหนึ่งที่เป็นที่นิยมกันมากคือโยคะสิ่งนี้ได้มาสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นโดยทำให้คนมีความรู้สึกว่าชีวิตต้องการความสมดุลตัวอย่างดังกล่าวเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นเองที่แสดงให้เห็นว่าในโลกนี้เราสามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้กับคนให้กับผู้บริโภคได้ตลอดเวลา

 

จากตัวอย่างที่ยกมาจะเห็นว่าธุรกิจที่เจริญขยายใหญ่โตและสร้างปรากฏการณ์ที่น่าทึ่งแก่โลกเรานั้น ล้วนเกิดมาจากสมองของคนและพลังสมองของคนนี่เองที่เป็นต้นทางที่นำไปสู่ธุรกิจมากมายสำหรับโลกของดิจิตอลสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้คือ Digital distribution ตอนนี้ถ้าไม่พูดถึงเรื่องของ Digital content ก็ไม่ใช่โลกอนาคตแล้ว Digital content ทำให้เกิด Digital distribution ต่อไปคนไม่จำเป็นต้องไปดูหนังที่โรงหนังนั่นคือธุรกิจโรงหนังอาจจะหายไปคนไม่จำเป็นต้องไปฟังเพลงในรายการวิทยุแล้วมีอีกมากมายหลายธุรกิจที่กำลังเกิดขึ้นแต่เรายังอาจจะมองไม่เห็นณตอนนี้มันอาจจะทำให้เกิดภาพที่เด่นชัดขึ้นสิ่งที่เกิดขึ้นจะมาอยู่ที่ on-line แล้วก็มาอยู่ที่ mobile เพราะว่า2 สิ่งนี้มันจะมาอยู่ใกล้คนเหลือเกินจนแยกกันไม่ออก

 

ปัจจุบันมันจะไม่ใช่เรื่องของ Mass market อีกต่อไปแต่จะกลายเป็นเรื่องของ Niche market เป็นความต้องการของกลุ่มคนเล็กๆที่มีความต้องการที่ไม่เหมือนคนอื่นผู้บริโภคไม่ต้องการใช้สินค้าและบริการที่สร้างมาเพื่อคนจำนวนมากที่ไม่ได้สะท้อนบุคลิกลักษณะของเขาร้านหนังสือในบ้านเราที่ใหญ่ที่สุดน่าจะเป็นร้าน Kinokuniya แน่นอนมีหนังสือจำกัดแต่ถ้าเราไปดูที่ Amazon ซึ่งสามารถบรรจุหนังสือได้มากนับเป็นสิบเท่าและก็จะโตขึ้นเป็นร้อยเท่าในที่สุดนี่ก็คือโลกของคนที่มีความต้องการที่ไม่เหมือนคนอื่นเพราะร้านหนังสือทั่วไปส่วนใหญ่ก็จะมีแต่หนังสือที่ขายได้ขายเร็วเพราะชั้นวางมีพื้นที่จำกัดมีต้นทุนดังนั้นคนที่ต้องการหาสิ่งที่ไม่สามารถหาได้ทั่วไปก็ต้องวิ่งเข้าไปหาที่ on-line แนวโน้มอันหนึ่งที่หลายๆบริษัทต้องปรับตัวคือจะเรียนรู้ความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายได้อย่างไรเราจะสร้างสินค้าและบริการเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของกลุ่มคนเล็กๆจำนวนมากได้อย่างไร หลายท่านคงจะทราบดีว่าการที่มีลูกค้ามากๆไม่ได้หมายความว่าทุกรายจะทำกำไรตามหลักพาเรโต80/20 แต่ทุกรายมีความสำคัญ ดังนั้นแทนที่เราจะตัดความสัมพันธ์กับลูกค้าที่ไม่ได้ทำกำไรให้กับเราแต่จะทำอย่างไรให้เขากลายเป็นลูกค้าที่สร้างผลกำไรให้บริษัทได้

 

ในอนาคตเมื่อเรานำเอาสมอง2 ซีกมาผนวกเข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็จะเกิดนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อมาสนองตอบต่อความหลากหลายของลูกค้าและเข้าถึงลูกค้าได้อย่างง่ายดายตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน ในปัจจุบันคือการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรของบริษัทในเครือซิเมนต์ไทยจากที่ในอดีตมุ่งเน้นการผลิตที่มีคุณภาพผลิตภาพและได้มาตรฐานสากลจนทำให้เป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็งอย่างมากทางด้านการผลิตแต่กลับไม่สามารถจะคิดออกนอกกรอบเดิมๆได้ดังนั้นสิ่งที่จะมาตอบโจทย์ที่ว่าจะเติบโตให้ได้ในอนาคตและออกไปโลดแล่นในเวทีการค้าโลกได้นั้นความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มดูจะเป็นสิ่งที่องค์การต้องไปจึงเป็นที่มาของการสร้างวัฒนธรรมการคิดการแสวงหาความรู้ใหม่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันจึงเกิดขึ้นอย่างไรก็ตามการจัดการความรู้(Knowledge Management) ที่กำลังเป็นสิ่งที่หลายองค์กรทั้งราชการและเอกชนให้ความสำคัญและเชื่อว่าเป็นระบบการจัดการที่จะช่วยเก็บสะสมความรู้และประสบการณ์ของบุคลากรในองค์กรและต่อยอดให้เกิดผลส่งเสริมความสามารถการแข่งขันขององค์กรในที่สุดนั้น ไม่ได้ทำง่ายอยากที่คิด

 

เราสังเกตหรือไม่ทำไมการจัดการความรู้ในองค์กรทั่วไปจึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จหรือไปไม่ถึงจุดหมายปลายทางที่ตั้งใจไว้ทั้งๆที่ก็พยายามใช้เครื่องมือและเทคนิควิธีการต่างๆอีกทั้งก็ใช้กระบวนการมากมายเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นCOP (Community of Practice) หรือStorytelling ทั้งนี้ก็เพราะว่าส่วนใหญ่ยังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นผิวหรือเปลือกยังลงไปไม่ถึงแก่นนั่นเองทุกคนยังมุ่งที่Know What และ Know How แต่ยังไปไม่ถึง Know Why ซึ่งเป็นเหตุผลเบื้องหลังหรือเป็นแก่นของความรู้ที่แท้จริงนั่นเพราะความรู้มีความเหมาะเจาะเหมาะสมกับสถานการณ์สภาพปัญหาและตัวปัญหาไม่สามารถจะใช้ได้แบบครอบจักรวาลนี่คือเสน่ห์ของความรู้ที่เราพยายามจะจัดการมันการใช้รูปแบบของการสื่อสารที่มีความแตกต่างเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดลักษณะการคิดสะท้อนเชื่อมโยงและกลั่นกรองสิ่งที่รับรู้ให้กลายเป็นความรู้เป็นสิ่งที่จำเป็น

ทั้งนี้เพราะความรู้มีพลวัต (Dynamic) คือเปลี่ยนแปลงไปเหมือนน้ำที่ไปอยู่ในภาชนะต่างๆก็สามารถทำให้กลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมนั้นๆได้หาใช่เป็นสิ่งที่หยุดนิ่ง (Static)