ยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศภายใต้พลวัตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 3

ยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศภายใต้พลวัตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 3

สหรัฐอเมริกาเป็นสังคมอุดมปัญญา มีงานวิจัย งานประดิษฐ์และนวัตกรรมมากมายเกิดขึ้น ในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา

สหรัฐอเมริกา จึงมีระบบเศรษฐกิจแบบฐานความรู้มากกว่าประเทศใดๆ เวลานี้ มีเกาหลีใต้และไต้หวัน ที่เดินหน้าพัฒนาตัวเองสู่ ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (KNOWLEDGE-BASED ECONOMY) ซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจที่การผลิตและการแพร่กระจายสินค้าและบริการอาศัยความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก เพื่อสร้างความเติบโตความมั่งคั่งและสร้างงานในทุกภาคเศรษฐกิจความรู้และนวัตกรรมจึงเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนามากกว่าเงินทุนและแรงงานความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับฐานความรู้และทำให้องค์กรต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจและสังคมจำเป็นต้องปรับตัวไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่


หลายประเทศก็ประกาศวิสัยทัศน์อันสวยหรูเช่นเดียวกันว่า จะพัฒนาตัวเองสู่ เศรษฐกิจฐานความรู้ แต่ก็ยังเป็นเพียงความฝันลมๆ แล้งๆ ไม่มีอะไรที่จับต้องเป็นรูปธรรม หรือ แม้นกระทั่ง มีการเตรียมการอย่างเป็นระบบขั้นตอนสู่เป้าหมายดังกล่าว


ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ ประกอบด้วย ๖มิติตามความเห็นของผม


มิติแรก ระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย และ ให้เสรีภาพทางวิชาการและการคิดอย่างเต็มที่ หากยังมีการใช้อำนาจรัฐครอบงำความคิดของผู้คนในสังคมไม่ให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ด้วยกรอบของเหตุผล เป็นสังคมอุปถัมภ์ที่มีระดับชั้นมากย่อมไม่เกื้อกูลต่อการเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้


มิติที่สอง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


มิติที่สาม การลงทุนทางด้านวิจัย นวัตกรรมและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีโดยการพัฒนาระบบนวัตกรรมแห่งชาติเพื่อเป็นเครือข่ายของสถาบันรัฐและเอกชนในการพัฒนากิจกรรม ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันตลอดจนส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และการพัฒนาเทคโนโลยี


มิติที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมนับเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ทำให้ประชาชนและภาคธุรกิจเข้าถึงสารสนเทศและความรู้จากทั่วโลกรวมถึงเป็นสื่อกลางในการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


มิติที่ห้า นโยบาย ระบบกฎหมายและการสร้างระบบแรงจูงใจต่อเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา


มิติที่หก ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและระดับการพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ


การทำให้ นวัตกรรม และ ทรัพย์สินทางปัญญา บางลักษณะ กลายเป็น สินค้าสาธารณะที่ทุกคนเข้าถึงได้เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้สู่การพัฒนาเป็น เศรษฐกิจฐานความรู้เช่นเดียวกัน


การทำให้ผู้คิดค้นนวัตกรรมรายแรกไม่เป็นผู้ผูกขาดรายเดียวอีกแนวคิดหนึ่งคือการทำให้ผู้คิดค้นนวัตกรรมคนแรกไม่เป็นผู้ผูกขาดเพียงรายเดียวแต่ให้ผู้ที่สามารถคิดค้นนวัตกรรมที่เหมือนกับผู้คิดนวัตกรรมรายแรกโดยไม่ได้ลอกเลียนแบบได้รับสิทธิในการผลิตร่วมกับผู้ที่คิดค้นเป็นรายแรก


แนวคิดนี้อยู่ภายใต้ข้อสมมติว่า การสร้างนวัตกรรมในหลายกรณีอาจมีผู้ที่สามารถคิดค้นนวัตกรรมที่เหมือนกันได้ โดยไม่ได้ลอกเลียนแบบกัน เช่น โทรศัพท์สมาร์ทโฟนรุ่นต่างๆ ทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ เทคโนโลยีการผลิตพลังงาน เป็นต้นเนื่องจากความก้าวหน้าขององค์ความรู้และเทคโนโลยีสุกงอมจนทำให้นวัตกรรมดังกล่าวพร้อมที่จะถูกผลิตออกมาการให้สิทธิการผูกขาดทั้งหมดแก่ผู้คิดค้นนวัตกรรมได้เป็นคนแรกอาจไม่เป็นธรรมแก่ผู้ที่คิดค้นได้หลังจากนั้น ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ลอกเลียนความคิดหรือวิธีการจากคนแรกเลย


สังคมไทยยังขาดแคลนอุปสงค์ต่อการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศมีขนาดเล็กทำให้ภาคเอกชนขาดแรงจูงใจในการลงทุนทำวิจัยและพัฒนาเพราะการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องใช้เงินลงทุนสูงขณะที่ตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนามีขนาดเล็กเกินไปทำให้ผลตอบแทนที่ได้ไม่คุ้มทุน เมื่อบรรษัทไทยขยายฐานไปยังตลาดอาเซียนทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาดและสร้างแรงจูงใจในการลงทุนทางด้านวิจัยและสร้างนวัตกรรมมากขึ้น


โดยปกติในประเทศที่พัฒนาแล้วภาคเอกชนมักเป็นผู้ลงทุนหลักในการทำวิจัยและพัฒนาโดยเฉพาะกิจการขนาดใหญ่ที่มีเงินทุนจำนวนมากและมีฐานการตลาดขนาดใหญ่จึงมีศักยภาพที่จะลงทุนวิจัยและพัฒนาแต่ธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศไทยกลับไม่ได้เป็นหัวจักรสำคัญในการทำวิจัยและพัฒนาเนื่องจากกิจการขนาดใหญ่จำนวนมากในประเทศไทยเติบโตขึ้นภายใต้บรรยากาศตลาดผูกขาดอันเนื่องจากการคุ้มครองของระบบสัมปทาน การกีดกันทางการค้าและสิทธิพิเศษที่ได้รับจากการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจรัฐกิจการเหล่านี้จึงแทบไม่มีความจำเป็นต้องลงทุนทำวิจัยเพราะการลงทุนทางการเมืองเพื่อได้มาซึ่งสิทธิการผูกขาดได้ผลที่คุ้มค่าและมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนทำวิจัย


การปฏิรูปมาตรฐานแรงงาน


การกำหนดสาขาวิชาชีพหลักที่มีการจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วม หรือ MRAs (Mutual Recognition Agreements) เพื่อรับรองคุณสมบัติ วิชาชีพ และช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงาน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 8 สาขา คือ วิศวกรรม (Engineering Services) พยาบาล (Nursing Services) สถาปัตยกรรม (Architectural Services) การสำรวจ (Surveying Qualification) แพทย์ (Medical Practitioners) วิชาชีพท่องเที่ยว (Tourism Profession)


ในการพัฒนาบุคลากรวิชาชีพทั้ง 8 สาขา นอกจากต้องให้ความสำคัญกับวิชาพื้นฐาน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีให้ได้เป็นอย่างดีแล้ว ก็จำเป็นต้องพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษควบคู่กันไปด้วย เนื่องจาก กฎบัตรอาเซียนข้อ 34 บัญญัติเอาไว้ว่า “ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียนคือ ภาษาอังกฤษ” (The working language of ASEAN shall be English) ประเทศที่จะแข่งขันในเวทีอาเซียนได้จึงต้องมีความชำนาญในภาษาอังกฤษด้วย


การเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพรวมทั้งการเคลื่อนย้ายแรงงานอื่นๆ ในอนาคตจำเป็นต้องพัฒนามาตรฐานแรงงานของแต่ละประเทศสู่ มาตรฐานอาเซียน ในส่วนของมาตรฐานแรงงานไทยและระบบแรงงานของไทยก็มีความจำเป็นต้องปฏิรูปยกระดับให้ได้มาตรฐานที่ดียิ่งขึ้น มาตรฐานแรงงานต้องทบทวนข้อกำหนดแห่งมาตรฐานหลังจากประกาศใช้มาเป็นเวลา 5 ปีหรือเมื่อสถานการณ์ต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไป กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ปรับปรุงมาตรฐานแรงงานอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้สถานประกอบกิจการใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อแรงงาน


มาตรฐานนี้ครอบคลุมไปยังผู้รับเหมาช่วงด้วยและผู้บริหารสูงสุดต้องกำหนดเป็นนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษร สถานประกอบการต้องแต่งตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วย ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างให้ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานนี้นายจ้างต้องจัดให้สถานที่ทำงานมีความปลอดภัย มีสภาพแวดล้อมและอาชีวอนามัยที่ดีสำหรับการทำงาน ข้อกำหนดของมาตรฐานนี้รวมถึงบุคลากรฝ่ายบริหารด้วย มาตรฐานแรงงานต้องทบทวนข้อกำหนดแห่งมาตรฐานหลังจากประกาศใช้มาเป็นเวลา 5 ปีหรือเมื่อสถานการณ์ต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไป กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ปรับปรุงมาตรฐานแรงงานอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้สถานประกอบกิจการใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อแรงงาน มาตรฐานนี้ครอบคลุมไปยังผู้รับเหมาช่วงด้วยและผู้บริหารสูงสุดต้องกำหนดเป็นนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษร สถานประกอบการต้องแต่งตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วย ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างให้ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานนี้นายจ้างต้องจัดให้สถานที่ทำงานมีความปลอดภัย มีสภาพแวดล้อมและอาชีวอนามัยที่ดีสำหรับการทำงาน ข้อกำหนดของมาตรฐานนี้รวมถึงบุคลากรฝ่ายบริหารด้วย


มาตรฐานแรงงานไทยเกี่ยวกับการใช้แรงงานบังคับ สถานประกอบกิจการต้องไม่กระทำ หรือสนับสนุนให้มีการใช้แรงงานบังคับในทุกรูปแบบสถานประกอบกิจการต้องไม่เรียก หรือรับหลักประกันการทำงาน หรือหลักประกันความเสียหายในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเงิน บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารประจำตัวใดๆ ทรัพย์สินอื่น หรือการค้ำประกันด้วยบุคคลจากลูกจ้าง ไม่ว่าเข้าทำงานแล้ว หรือเป็นเงื่อนไขในการรับเข้าทำงาน เว้นแต่กฎหมายยกเว้นไว้


ค่าตอบแทนการทำงาน สถานประกอบกิจการต้องจ่ายค่าจ้าง และค่าตอบแทนการทำงานนอก หรือเกินเวลาทำงานปกติให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สถานประกอบกิจการต้องจ่ายค่าจ้าง และค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินตราไทย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้างถ้าจะจ่ายเป็นตั๋วเงิน หรือเงินตราต่างประเทศ หรือจะจ่าย ณ สถานที่อื่นหรือด้วยวิธีอื่น ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน ทั้งนี้ ให้จ่ายทันทีเมื่อถึงกำหนดการจ่ายแต่ละงวดสถานประกอบกิจการต้องให้ลูกจ้างได้รับข้อมูลเกี่ยวกับค่าจ้าง และค่าตอบแทนการทำงานที่ได้รับทั้งหมดในแต่ละงวด เป็นลายลักษณ์อักษร และสามารถเข้าใจรายละเอียดส่วนประกอบต่างๆ ได้สถานประกอบกิจการต้องไม่หักค่าจ้าง ค่าตอบแทนการทำงาน หรือเงินอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้จ่ายแก่ลูกจ้างไม่ว่ากรณีใด เว้นแต่กฎหมายยกเว้นไว้


ชั่วโมงการทำงานสถานประกอบกิจการต้องกำหนดชั่วโมงการทำงานปกติของลูกจ้างไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละไม่เกิน 48 ชั่วโมง และต้องจัดให้มีวันหยุดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน หรือเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดสถานประกอบกิจการต้องถือเป็นสิทธิของลูกจ้างในการทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุดสำหรับงานทั่วไป เว้นแต่งานที่กฎหมายยกเว้นไว้ โดยสถานประกอบกิจการต้องกำหนดชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา และชั่วโมงการทำงานในวันหยุดของลูกจ้าง ตามที่กฎหมายกำหนด หรือไม่เกินสัปดาห์ละ 24 ชั่วโมง หรือ 18 ชั่วโมง หรือ 12 ชั่วโมง ตามความสามารถในการจัดการของสถานประกอบกิจการ


การเลือกปฏิบัติ สถานประกอบกิจการต้องไม่กระทำ หรือสนับสนุนให้มีการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน การจ่ายค่าจ้าง และค่าตอบแทนการทำงาน การให้สวัสดิการ โอกาสได้รับการฝึกอบรม และพัฒนา การพิจารณาเลื่อนขั้น หรือตำแหน่งหน้าที่ การเลิกจ้าง หรือเกษียณอายุการทำงานและอื่นๆ อันเนื่องมาจากเหตุเพราะความแตกต่างในเรื่องของสัญชาติ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา อายุ เพศ สถานภาพสมรส ทัศนคติส่วนตัวในเรื่องเพศ ความพิการ การติดเชื้อเอชไอวี การเป็นผู้ป่วยเอดส์ การเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน การเป็นกรรมกรลูกจ้าง ความนิยมในพรรคการเมือง หรือแนวความคิดส่วนบุคคลอื่นๆ สถานประกอบกิจการต้องไม่ขัดขวาง แทรกแซง หรือกระทำการใดๆ ที่จะเป็นผลกระทบต่อการใช้สิทธิของลูกจ้างที่ไม่มีผลเสียหายต่อกิจการ ในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับเชื้อชาติ ประเพณีเชื้อชาติ ศาสนา เพศ ความพิการการเป็นกรรมกรลูกจ้าง การเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือพรรคการเมือง และการแสดงออกตามทัศนคติส่วนบุคคลอื่นๆ


วินัยและการลงโทษ สถานประกอบกิจการต้องไม่ลงโทษทางวินัย โดยการหัก หรือลดค่าจ้าง และค่าตอบแทนการทำงาน หรือเงินอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้จ่ายให้แก่ลูกจ้างสถานประกอบกิจการต้องไม่กระทำ หรือการสนับสนุนให้ใช้วิธีการลงโทษทางร่างกาย ทางจิตใจ หรือกระทำการบังคับขู่เข็ญ ทำร้ายลูกจ้างสถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการป้องกัน และแก้ไขปัญหา เพื่อมิให้ลูกจ้างถูกล่วงเกิน คุกคาม หรือได้รับความเดือดร้อนรำคาญทางเพศ โดยการแสดงออกด้วยคำพูด ท่าทาง การสัมผัสทางกาย หรือด้วยวิธีการอื่นใด


การใช้แรงงานเด็ก


๐ สถานประกอบกิจการต้องว่าจ้าง หรือสนับสนุนให้มีการว่าจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี

๐ สถานประกอบกิจการต้องไม่ให้ หรือไม่สนับสนุนให้แรงงานเด็กทำงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย หรืออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย และความปลอดภัย


๐ สถานประกอบกิจการต้องทำทะเบียน และบันทึกเวลาการปฏิบัติงานของแรงงานเด็กเป็นหลักฐาน และเก็บรักษาไว้พร้อมที่จะให้เจ้าหน้าที่ และบุคคล ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องตรวจสอบทะเบียนและบันทึกดังกล่าว ต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและเป็นไปตามข้อกำหนด 5.1.3


การใช้แรงงานหญิง


๐ สถานประกอบกิจการต้องไม่ให้ลูกจ้างหญิงทำงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายตามที่กฎหมายกำหนด


๐ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำงาน หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยต่อการมีครรภ์ รวมทั้งต้องไม่เลิกจ้าง ลดตำแหน่ง หรือลดสิทธิประโยชน์ เพราะเหตุจากการมีครรภ์


เสรีภาพในการสมาคมและการร่วมเจรจาต่อรอง


๐ สถานประกอบกิจการต้องเคารพสิทธิลูกจ้างในการรวมตัวจัดตั้งและร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือคณะกรรมการอื่นๆ ในสถานประกอบกิจการ อีกทั้งยอมรับการร่วมเจรจาต่อรอง การคัดเลือก หรือเลือกตั้งผู้แทน โดยไม่กระทำการใดๆ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อขัดขวาง หรือแทรกแซงการใช้สิทธิของลูกจ้าง


๐ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการที่จะอำนวยความสะดวกแก่ผู้แทนลูกจ้างในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ และต้องปฏิบัติต่อผู้แทนลูกจ้างโดยเท่าเทียมกับลูกจ้างอื่นๆ โดยไม่กลั่นแกล้ง โยกย้าย เลิกจ้าง หรือกระทำการใดๆ ที่ไม่เป็นธรรม


ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน


๐ สถานประกอบกิจการต้องกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ครอบคลุมประเภทงาน หรือลักษณะงานที่มีแนวโน้มอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้อง และมีการควบคุม ป้องกันให้เป็นไปตามกฎหมาย และมาตรฐานความปลอดภัยในทุกสภาพแวดล้อมในการทำงาน


๐ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันอันตราย และลดปัจจัยเสี่ยงให้เป็นไปตามกฎหมาย และมาตรฐานความปลอดภัย


๐ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้ลูกจ้างทุกคน


1.ได้รับโอกาสให้มีส่วนร่วมในการดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน


2.ได้รับรู้และเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นจากกระบวนการทำงาน หรือจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน


3.ได้รับรู้ และเข้าใจถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และคู่มือด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ


4.ได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในงานที่กำลังปฏิบัติอยู่ โดยเฉพาะผู้ที่เข้าทำงานใหม่ และผู้ที่เปลี่ยนหน้าที่และต้องบันทึกการฝึกอบรมตามข้อกำหนดในข้อ 5.1.3


5.ได้ใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐาน และเหมาะสมกับลักษณะงาน


สวัสดิการ


๐ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้ลูกจ้างทุกคนได้รับสวัสดิการโดยสะดวกและพอเพียง


1.ห้องน้ำ และห้องส้วมที่สะอาดถูกสุขอนามัย


2.น้ำดื่มสะอาดถูกสุขอนามัย


3.สิ่งจำเป็นในการปฐมพยาบาล และการรักษาพยาบาล


4.สถานที่รับประทานอาหาร และสถานที่สำหรับเก็บรักษาอาหารที่สะอาด และถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร


กรณีที่มีการจัดที่พักให้ลูกจ้าง สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็น มีความสะอาด ปลอดภัย และพร้อมที่จะใช้การได้อยู่เสมอ