เช็ค "อาการโควิด-19" สายพันธุ์ "โอมิครอน" VS "เดลตา" ต่างกันอย่างไร ?

เช็ค "อาการโควิด-19" สายพันธุ์ "โอมิครอน" VS "เดลตา" ต่างกันอย่างไร ?

เทียบความแตกต่าง "อาการโควิด-19" 2 สายพันธุ์ที่ระบาดในไทยล่าสุดคือ สายพันธุ์ "โอมิครอน" และสายพันธุ์ "เดลตา" มีอาการอย่างไร รุนแรงแค่ไหน

หลังจากช่วงหยุดยาวปีใหม่ 2565 พบว่าอัตราการ "ติดเชื้อโควิด-19" ของคนไทยกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ทำให้ ศบค. ต้องยกระดับการควบคุมและแจ้งเตือนมาอยู่ที่ระดับ 4 จากการระบาดของสายพันธุ์ "โอมิครอน" ที่มีคุณสมบัติกระจายตัวได้เร็ว และมีแนวโน้มว่าจะตรวจเจอได้ยากขึ้นจากการตรวจเองด้วย ATK สำหรับคนที่ตรวจ "ATK" แล้วไม่พบอย่าลืมสังเกตการร่วมด้วย โดย "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" รวบรวม "อาการโควิด-19" สายพันธุ์ "โอมิครอน" และ "เดลตา" ช่วยกรองความเสี่ยงของตัวเองเบื้องต้น ดังนี้

 

  •  โอมิครอน 

"โควิด-19" สายพันธุ์ "โอมิครอน" นับเป็นสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดระบาดในประเทศไทย มีลักษณะพิเศษคือกระจายเชื้อได้เร็ว แต่มักแสดงอาการน้อย และยังสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันมนุษย์ได้ดี 

โดยเชื้อไวรัสโควิด "สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron)" เป็นสายพันธุ์ที่องค์การอนามัยโลก จัดให้เป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในระดับน่ากังวล (Variants of concern: VOC) มีรหัสไวรัสเป็น B.1.1.529 พบครั้งแรกที่แอฟริกาใต้ ก่อนจะระบาดลามไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย 

ลักษณะอาการของผู้ที่ติดเชื้อโควิดโอมิครอน ที่พบในผู้ติดเชื้อในประเทศไทย ข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ช่วงเดือน ธ.ค. 2564 พบว่ามีอาการหลักๆ 8 อย่าง และมากน้อยแตกต่างกันออกไป ดังนี้

- ไอ 54%
- เจ็บคอ 37%
- ไข้ 29%
- ปวดกล้ามเนื้อ 15%
- มีน้ำมูก 12%
- ปวดศีรษะ 10%
- หายใจลำบาก 5%
- ได้กลิ่นลดลง 2%

เช็ค \"อาการโควิด-19\" สายพันธุ์ \"โอมิครอน\" VS \"เดลตา\" ต่างกันอย่างไร ?

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 

 

นอกจากนี้ปรากฏข้อมูลอัพเดทใหม่ปี 2565 ว่า โอมิครอนมีอาการที่สามารถพบได้เพิ่มเติมได้ด้วย ทั้ง เจ็บคอ, ปวดกล้ามเนื้อ, เหนื่อย, อ่อยเพลีย, ไอแห้ง และเหงื่อออกมากในเวลากลางคืน อีกด้วย

  •  เดลตา 

ส่วน โควิด-19 สายพันธุ์เดลตา เป็นสายพันธุ์ที่มีการระบาดครั้งใหญ่ในไทยตั้งแต่ระลอก เม.ย. 64 กระจายเร็วและรุนแรง แต่อาการที่พบใกล้เคียงกับ "โรคหวัด" โดยข้อมูลจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุถึงอาการที่พบบ่อยในผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาไว้ดังนี้

- ปวดหัว
- เจ็บคอ
- มีน้ำมูก
- ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส
- อาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา

เช็ค \"อาการโควิด-19\" สายพันธุ์ \"โอมิครอน\" VS \"เดลตา\" ต่างกันอย่างไร ?

 

  •  เทียบอาการที่พบบ่อย "โอมิครอน" และ "เดลตา" 

เช็ค \"อาการโควิด-19\" สายพันธุ์ \"โอมิครอน\" VS \"เดลตา\" ต่างกันอย่างไร ?

 

ทั้งนี้ โอมิครอนสามารถแพร่กระจายเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจและหลอดลมได้ดีกว่าสายพันธุ์เดลตาถึง 70 เท่า แต่หากแพร่กระจายถึงขั้นลงปอด จะไม่ทำลายปอดเท่ากับเดลตา เพราะเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้มักอยู่ในทางเดินหายใจส่วนบน

ด้าน สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า องค์อนามัยโลก (WHO) ระบุว่าขณะนี้ผลวิจัยเบื้องต้นบ่งชี้ว่าโอมิครอนก่อให้เกิดอาการรุนแรงน้อยกว่า และผู้ติดเชื้อมีความเสี่ยงที่จะต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลน้อยลง แต่การแพร่กระจายได้ง่ายจะทำให้ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกจึงพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งได้สร้างแรงกดดันต่อระบบสาธารณสุขเป็นอย่างมากได้เช่นกัน 

------------------------------------------------

อ้างอิง: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, ศบค.