“นิด้า” ลงพื้นที่ 50 ตำบลทั่วประเทศ ขับเคลื่อน U2T มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตคนไทย

“นิด้า” ลงพื้นที่ 50 ตำบลทั่วประเทศ ขับเคลื่อน U2T มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตคนไทย

“นิด้า ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ – เอกชน มุ่งแก้ปัญหาชุมชนอย่างยั่งยืน” ศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ “โครงการ U2T นิด้ารับพัฒนา 50 ตำบล 3 แขวง กทม. ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ” ผศ.ดร. รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์

จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนหลากหลายอาชีพ รวมถึงบัณฑิตจบใหม่ ต้องตกงานจำนวนมาก “สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)” เป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่ได้ขับเคลื่อนโครงการ กิจกรรมต่างๆ เพื่อมุ่งช่วยเหลือผู้ว่างงาน และชุมชน ให้พลิกฟื้นกลับมายืนได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

 ล่าสุด “นิด้า” ได้เข้าร่วมโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ “U2T” ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โครงการที่สร้างอนาคตให้กับ 3,000 ตำบลทั่วประเทศ รวมทั้งสร้างอนาคต สร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กับนักศึกษาและประชาชน  ศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เป็นโครงการที่ดีมาก ทำให้มหาวิทยาลัยได้ลงพื้นที่ช่วยแก้ปัญหาชุมชนอย่างแท้จริง เนื่องด้วยนโยบายของ ดร.อเนก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ต้องการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ต้องเร่งแก้ปัญหา อีกทั้งยังเป็นการปิดช่องว่างการทำงานระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนอีกด้วย

“นิด้า” ลงพื้นที่ 50 ตำบลทั่วประเทศ ขับเคลื่อน U2T มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตคนไทย

“นิด้ามีการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนในการแก้ปัญหาชุมชน โดยยึดโจทย์ที่ชุมชนอยากให้แก้ไขเป็นสำคัญ และให้คณาจารย์ทำการวิเคราะห์ข้อมูล รวบรวมปัญหาในชุมชน เพื่อแก้ปัญหา และคาดการณ์ปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนในอนาคต รวมถึงสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะช่วยแก้ปัญหาชุมชนได้ ดังนั้น “นิด้า” ได้มีความร่วมมือกับชุมชน และมหาวิทยาลัยหลากหลายทั้งในไทยและต่างประเทศ ในการสร้างองค์ความรู้เพื่อสามารถแก้ปัญหาได้จริง ดังนั้น โครงการต่างๆของนิด้า สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลทั้งในเรื่องการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม โครงการ U2T จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยองค์ความรู้ด้านพัฒนบริหารศาสตร์ที่หลากหลายของนิด้า จะเข้าไปบูรณาการในการแก้ไขปัญหา และสร้างองค์ความรู้อย่างยั่งยืนให้แก่คนในชุมชน” ศ.ดร.กำพล กล่าว

“นิด้า” ลงพื้นที่ 50 ตำบลทั่วประเทศ ขับเคลื่อน U2T มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตคนไทย

ผศ.ดร. รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผน นิด้า กล่าวว่า โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เป็นหนึ่งในโครงการที่กระทรวง อว. ได้ริเริ่มจัดทำแผนมาตั้งแต่กลางปี 2563 เพื่อช่วยเหลือบรรเทา เยียวยาแก่ประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ต่อเนื่องจากโครงการจ้างงาน 2 ระยะ และโครงการ Upskill และ Reskill  โครงการ U2T จึงเป็นการต่อยอดขยายผลและมีเป้าหมายชัดเจนทั้งระยะสั้น กลาง และระยะยาว เกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

โดยระยะสั้น โครงการ U2T จะช่วยเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยกระทรวง อว. และสถาบันการศึกษาทุกแห่งต้องเข้าไปช่วยกลุ่มนักศึกษา และบัณฑิตจบใหม่ เพราะในช่วงโควิด-19 ตำแหน่งงานเปิดรับน้อยลง เป็นความยากลำบากของบัณฑิตในการหางานทำ ระยะสั้นจึงเป็นการจ้างงานบัณฑิตจบใหม่ และประชาชนทั่วไป ส่วนระยะกลาง เป็นการจัดทำฐานข้อมูลระดับพื้นที่ ตำบล เพื่อให้มีข้อมูลในลักษณะ Big Data ที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจ วางแผนการพัฒนาพื้นที่ในแต่ละชุมชน ตำบลได้มากขึ้น โดยเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษา ได้ลงพื้นที่ช่วยในการเก็บข้อมูล คัดแยกข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เกิดเป็น Big Data ระดับตำบลและประเทศ

ขณะที่ ระยะยาว กำหนดบทบาทให้สถาบันการศึกษาเป็นหน่วยบูรณาการกลางระดับพื้นที่ (System Integrator) ช่วยพัฒนาพื้นที่ระดับตำบล เป็นศูนย์กลางบูรณาการการทำงานระดับพื้นที่ในตำบลร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และเป็นการสร้างจิตสำนึก ปลูกฝังเยาวชนให้รักถิ่นฐานบ้านเกิดและมีแรงบันดาลใจในการดูแลพัฒนาพื้นที่ของตนเองให้มีโอกาสแข่งขันทางเศรษฐกิจ เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในระดับพื้นที่ ชุมชน ตำบล เพื่อให้การทำงานในระดับชุมชนมีความยั่งยืน ก้าวข้ามยุคการเปลี่ยนแปลง ยุคโควิด -19 ไปได้ สร้างคนรุ่นใหม่เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงชุมชนไทย และยังเป็นการสร้างงาน สร้างโอกาส และรากฐานของการพัฒนาเชิงพื้นที่ในระดับตำบลให้พร้อมสำหรับโลกในยุคหลังโควิด-19

“นิด้า” ลงพื้นที่ 50 ตำบลทั่วประเทศ ขับเคลื่อน U2T มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตคนไทย

“นิด้า” ลงพื้นที่ 50 ตำบลทั่วประเทศ ขับเคลื่อน U2T มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตคนไทย

“โครงการ U2T จึงเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างมาก และสอดคล้องกับภารกิจและแนวทางการดำเนินงานของนิด้า ในการนำความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ จากคณาจารย์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาต่างๆ ส่งมอบไปยังคนในพื้นที่ เพื่อให้องค์ความรู้ของนิด้าถูกใช้ไปสร้างประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยนิด้าได้ตั้งเป้าไว้ 2 ระยะ ระยะแรกจะดูแล 50 ตำบล 3 แขวง กทม. ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เป็นการนำองค์ความรู้ของนิด้าไปช่วยชุมชนตามที่ชุมชนเป็นผู้กำหนดโจทย์หรือปัญหาที่ต้องการแก้ไขทั้งในด้านการบริหารพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ท่องเที่ยว การสื่อสาร และการพัฒนาคน” ผศ.ดร. รักษ์พงศ์ กล่าว

ปัจจัยหลักที่จะทำให้การขับเคลื่อนโครงการ U2T ประสบความสำเร็จได้นั้น   ผศ.ดร.รักษ์พงศ์ กล่าวต่อไปว่าโครงการ U2T และการตั้งสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง ได้มีการเตรียมพร้อมการดำเนินงานมาอย่างยาวนาน โดยได้ ดร.ปรียานุช ธรรมปิยา ผอ.ศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีประสบการณ์ทำงานด้านเศรษฐกิจพอเพียงมาอย่างยาวนาน อีกทั้งเมื่อได้ลงพื้นที่ก็ได้รับความร่วมมือจากนักศึกษาเก่าของนิด้าให้ความช่วยเหลือ ทั้งในการเก็บข้อมูล ติดต่อ ทำความเข้าใจกับผู้นำในชุมชน รวมถึงการใช้พื้นที่ของชุมชน ซึ่งชาวบ้านในแต่ละชุมชนต่างมีความเชื่อมั่นในนิด้าและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

“นิด้า” ลงพื้นที่ 50 ตำบลทั่วประเทศ ขับเคลื่อน U2T มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตคนไทย

“นิด้า” ลงพื้นที่ 50 ตำบลทั่วประเทศ ขับเคลื่อน U2T มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตคนไทย

ในปัจจุบันได้มีการจ้างงานบุคลากรแต่ละตำบล โดยคณาจารย์ของสถาบันได้กระจายตัวลงพื้นที่ในตำบลที่รับผิดชอบเพื่อมอบหมายงานและบริหารทีมงานในพื้นที่ สร้างเครือข่ายความร่วมมือและรับฟังความต้องการในพื้นที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่กระทรวง อว. ได้มอบหมาย

“ความคาดหวังตามเป้าหมายของโครงการ คือ การช่วยเหลือ เยียวยาประชาชนที่เดือนทั่วประเทศ ยกระดับองค์ความรู้ คุณภาพชีวิต สร้างอาชีพ สร้างรายได้ รวมถึงร่วมแก้ปัญหาให้กับชุมชน โดยใช้องค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญจากคณาจารย์นิด้า ภายใต้การดำเนินงานและการสนับสนุนหลักจาก อว. ที่เป็นศูนย์กลางในการประสาน เชื่อมโยง วางแผนการทำงาน เพื่อพัฒนาพื้นที่ชุมชน ตำบลต่างๆ ให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเป็นการทำงานที่เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม สร้างความภาคภูมิใจให้แก่คณาจารย์  บุคลากร และผู้ได้รับการจ้างงานทุกคน ที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ ได้นำองค์ความรู้ ความมุ่งมั่นตั้งใจและความเสียสละเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ สอดคล้องตามพระราชปณิธานของในหลวง รัชกาลที่ 9 ผู้ทรงก่อตั้ง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เพื่อให้เป็นเสาหลักในการนำองค์ความรู้และปัญญาไปบริหารการพัฒนาประเทศชาติต่อไป” ผศ.ดร.รักษ์พงศ์ กล่าวทิ้งท้าย

“นิด้า” ลงพื้นที่ 50 ตำบลทั่วประเทศ ขับเคลื่อน U2T มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตคนไทย

“นิด้า” ลงพื้นที่ 50 ตำบลทั่วประเทศ ขับเคลื่อน U2T มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตคนไทย

“นิด้า” ลงพื้นที่ 50 ตำบลทั่วประเทศ ขับเคลื่อน U2T มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตคนไทย

“นิด้า” ลงพื้นที่ 50 ตำบลทั่วประเทศ ขับเคลื่อน U2T มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตคนไทย

“นิด้า” ลงพื้นที่ 50 ตำบลทั่วประเทศ ขับเคลื่อน U2T มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตคนไทย

“นิด้า” ลงพื้นที่ 50 ตำบลทั่วประเทศ ขับเคลื่อน U2T มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตคนไทย