จีนชูระบบ ‘พหุภาคีแบบจีน’ กระตุ้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ในปี 2021

จีนชูระบบ ‘พหุภาคีแบบจีน’ กระตุ้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ในปี 2021

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้กล่าวสุนทรพจน์ในวาระการประชุม Davos Agenda Dialogue ในงานประชุมสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum : WEF) เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 ว่า มนุษยชาติกำลังเผชิญกับสี่ประเด็นปัญหาที่สำคัญในด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ แนวคิดและวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และสาธารณสุข ซึ่งทางออกของปัญหาเหล่านี้ คือการยึดถือและใช้แนวทางพหุภาคี ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างประชาคมโลกที่มีอนาคตร่วมกันเพื่อมวลมนุษยชาติ แนวทางพหุภาคี เป็นแนวทางที่หลายประเทศในโลกนำมาใช้ภายหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง และยังเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่จีนยึดถือและปฏิบัติมาอย่างยาวนาน แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แนวทางนี้ก็ได้รับผลกระทบจากแนวคิด เช่น เอกภาคีนิยม การกีดกันทางการค้าและการต่อต้านโลกาภิวัฒน์ ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น แม้ว่าการระบาดของโควิด-19 จะยิ่งเป็นอุปสรรคต่อการทำให้แนวทางพหุภาคี

ได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน สถานการณ์นี้ก็ทำให้โลกได้เห็นถึงความสำคัญของแนวทางนี้ Davos Forum เป็นเวทีการประชุมระดับพหุภาคีเวทีแรกที่ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้เข้าร่วมในปี 2564 ซึ่งเป็นการสานต่อการดำเนินนโยบายการทูตพหุภาคีอย่างแข็งขันต่อจากปี 2563 สี จิ้นผิงได้อธิบายถึงจุดเด่นของแนวทางพหุภาคี และสร้างฉันทามติระหว่างประเทศทั่วโลกในการร่วมมือกันต่อสู้กับโรคระบาด ภายใต้ “แนวทางพหุภาคีแบบจีน”

แนวทางพหุภาคีแบบจีนมีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้ หนึ่ง ยึดมั่นในความร่วมมือ สุขภาพ การฟื้นฟู และการเติบโต เป็นหัวใจสำคัญ ควบคู่ไปกับความเป็นธรรมและยุติธรรมอันเป็นแก่นสารแนวทางนี้อยู่บนพื้นฐานของกลไกพหุภาคี และมุ่งสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ สอง ยึดมั่นในบรรทัดฐานระหว่างประเทศ และเรียกร้องให้มีการนำแนวทางพหุภาคีมาใช้อย่างสมดุลมากขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงผลประโยชน์และความปรารถนาของประเทศส่วนใหญ่ ดังจะเห็นได้จากความมุ่งมั่นของจีนที่จะเพิ่มการสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง สาม บทบาทของจีนจะค่อยๆ เปลี่ยนจากผู้มีส่วนร่วมและ

ผู้จัดจำหน่ายสินค้าสาธารณะในระดับนานาชาติสู่การเป็นผู้นำในสาขา เช่น โครงการความร่วมมือการวิจัยและพัฒนา และทดสอบ โครงการความร่วมมือการก่อสร้างโรงงาน การผลิตที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของสินค้า และการผลิตวัคซีนป้องกัน

โควิด-19 ที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งการสร้างศูนย์การวิจัยและพัฒนาวัคซีน BRICS สี่ จีนกำลังก่อสร้างโครงการ “Belt and Road” Initiative (BRI) ซึ่งจะเป็นช่องทางการค้าสินค้าสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในโลก แม้ว่าความเชื่อมโยงระหว่างประเทศต่างๆ ทั่วโลกจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาด แต่จีนยังคงมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนโครงการก่อสร้าง BRI และทำได้ดีในการตอบสนองต่อสถานการณ์โรคระบาดในโครงการ BRI ในต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริมแนวคิดเส้นทางสายไหมแห่งสุขภาพ

(Silk Road of Health) อย่างเต็มที่ ห้า กลยุทธ์การพัฒนาในด้านการรวมตัวทั้งภายในและภายนอกประเทศจะต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้รูปแบบการพัฒนา “วงจรคู่” (Dual Circulation) ศักยภาพของตลาดจีนจะได้รับการกระตุ้นอย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยผลักดันให้ประเทศต่างๆ มีอุปสงค์เพิ่มขึ้น และทำให้โลกกลับมาเชื่อมโยงกันใหม่อีกครั้ง

 

แรงผลักดันในการใช้แนวทางพหุภาคีของจีน

แนวทางพหุภาคีนับเป็นช่องทางและหน้าต่างในการแสดงออกของนโยบายต่างประเทศของจีนมาอย่างช้านาน จีนสนับสนุนการใช้แนวทางนี้อย่างแข็งขันในช่วงสถานการณ์โรคระบาด ด้วยเหตุผลหลักๆ สามประการ ประการแรก ความต้องการใช้แนวทางพหุภาคีอย่างแรงกล้า เนื่องจากแนวทางนี้สามารถตอบสนองความต้องการในด้านการพัฒนาของประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ในทางปฏิบัติ และประเทศส่วนใหญ่ รวมทั้งจีน ได้รับประโยชน์จากแนวทางนี้

ประธานาธิบดีจีน กล่าวว่า สถานการณ์โรคระบาดทั่วโลกจะยังดำเนินต่อไป ขณะที่มีการใช้แนวทางเอกภาคีนิยมและการกีดกันทางการค้าเพิ่มขึ้น ระบบห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานต้องสะดุดหยุดลงและเศรษฐกิจโลกต้องประสบกับภาวะซบเซา ดังนั้น ประชาคมนานาชาติจึงต้องใช้แนวทางพหุภาคีเป็นหลัก เพื่อให้หลุดพ้นจากเงื้อมเงาของโรคระบาดและความยากลำบากทางเศรษฐกิจ

ประการที่สอง ความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความสามารถในการฟื้นตัวของแนวทางพหุภาคี ในภาวะโรคระบาด แนวทางนี้ต้องเผชิญกับความท้าทายและความกดดันที่หลากหลาย ทำให้เกิดความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องเพิ่มความสามารถในการฟื้นตัวให้กับแนวทางนี้ ความสามารถในการฟื้นตัวนี้หมายถึง แนวทางพหุภาคีจะยังมีความมั่นคงในระดับหนึ่งเมื่อได้รับผลกระทบจากความกดดันจากภายนอกหรือความขัดแย้งและไม่ลงรอยกันภายใน ซึ่งประเทศสมาชิกจะต้องไม่เพียงแค่รักษาความสามารถในการฟื้นตัวด้วยการยึดถือเป้าหมายร่วมเดียวกันเท่านั้น แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศมหาอำนาจจะต้องร่วมมือกัน ทั้งนี้ ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจส่งผลกระทบอย่างล้ำลึกต่อพัฒนาการของแนวทางพหุภาคี

ประการที่สาม “Belt and Road” คือการปฏิบัติอย่างหนึ่งในรูปแบบของแนวทางพหุภาคี โดยมีลักษณะเด่นในด้านความสามารถในการฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเครือข่ายความร่วมมือที่ครอบคลุมและแบ่งเป็นหลายระดับ ในภาวะโรคระบาด สถานการณ์การค้าและการลงทุนจากต่างประเทศในโครงการ Belt and Road ยังคงมีความมั่นคง โดยโครงการหลักๆ ต่างมีความคืบหน้าอย่างราบรื่น รายได้จากเส้นทางรถไฟสายจีน-ยุโรป เติบโตอย่างสวนกระแสโลก นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ภายใต้แนวคิดเส้นทางสายไหมแห่งสุขภาพ ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว

 

ความท้าทายที่มีต่อแนวทางพหุภาคีแบบจีน

ในภาวะที่โรคระบาดยังคงเป็นภัยคุกคามโลกอยู่จนวันนี้ ประเทศต่างๆ จะถูกผลักดันให้ร่วมมือกันแต่เมื่อใดที่ภัยคุกคามนี้เริ่มบรรเทาเบาบางลง แนวทางพหุภาคีก็มีแนวโน้มที่จะถูกลดความสำคัญลงเช่นกัน นอกจากนี้ ในช่วงที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเขาได้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้กับแนวทางพหุภาคีในระดับโลก

ด้วยการให้สหรัฐอเมริกา ถอนตัวจากกลไกพหุภาคีต่างๆ การที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน นำสหรัฐฯ กลับเข้าร่วมข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) เป็นสัญญาณว่าสหรัฐฯ จะกลับไปใช้แนวทางพหุภาคีอย่างเต็มตัวอีกครั้งและจะแข่งขันกับจีนในการก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำของแนวทางนี้ หรือจำกัดบทบาทของจีนในการใช้กลไกพหุภาคี ไบเดน มีแนวโน้มที่จะสานต่อ

นโยบายของทรัมป์ในการต่อต้านและยับยั้งโครงการ BRI แท้จริงแล้ว แนวทางพหุภาคีมิได้มีขึ้นเพื่อรองรับประเทศใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะ หากแต่เป็นเวทีสำหรับการพูดคุย เรียนรู้ และเชื่อมโยงในระดับนานาชาติ แนวทางพหุภาคีแบบจีน ถือเป็นตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่งที่สร้างผลกระทบในเชิงบวกซึ่งประเทศอื่นๆ สามารถที่จะทำความเข้าใจและสร้างความร่วมมือระหว่างกันได้ตามแนวทางนี้ได้

อย่างไรก็ดี มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่แนวทางพหุภาคีแบบจีนจะต้องแสดงความแน่วแน่ การเปิดกว้างการสร้างการมีส่วนร่วม และการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้มากขึ้นในยุคหลังโรคระบาด การใช้แนวทางนี้ของจีนมิได้มีความโดดเด่นเพียงชั่วครู่ชั่วยามในช่วงที่มีโรคระบาด หากแต่เป็นผลจากการสะสมประสบการณ์มาอย่างยาวนาน โดยจีนได้ทำให้แนวทางนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งในระบบสากล และได้สร้างค่านิยมพหุภาคีที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของแนวทางพหุภาคีแบบจีน เราจำเป็นที่จะต้องมีข้อสรุปเกี่ยวกับประสบการณ์การใช้แนวทางพหุภาคีในอดีต เพื่อป้องกันไม่ให้มีการถอนตัวจากแนวทางนี้ หรือลดความสำคัญของแนวทางนี้

รวมทั้งเพื่อลดปัญหาความไม่สมดุลในการใช้กลไกพหุภาคีระหว่างประเทศต่างๆ นอกจากนี้ ในสภาวะโรคระบาด การรับและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในรูปแบบใหม่ๆ ผ่านการใช้ Big Data อินเทอร์เน็ต และวีดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ออนไลน์ ได้นำโอกาสใหม่ๆ ที่จะช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก ซึ่งจีนสามารถทำงานร่วมกับรัฐบาลของไบเดน เพื่อให้บริการด้านเทคนิคและสินค้าสาธารณะที่มากขึ้นผ่านกลไกพหุภาคีโลก

โครงการ BRI เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของแนวทางพหุภาคีแบบจีน ในยุคหลังโรคระบาด “Belt and Road” จะเดินหน้าภายใต้แนวคิดแห่งการเปิดกว้าง การรักษ์สิ่งแวดล้อม และความซื่อตรง เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมและคุณลักษณะของแนวทางนี้ ในปัจจุบัน การเข้าถึงระบบพหุภาคีส่วนมากจะต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่บางประเทศเป็นผู้กำหนด

ในขณะที่ BRI เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างสำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ที่ผู้เข้าร่วมโครงการทุกรายล้วนมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎเกณฑ์ อย่างไรก็ดี BRI ควรจะยอมรับกฎเกณฑ์ด้านกลไกที่แตกต่างไปพร้อมๆ กับการปฏิบัติตามกฎสากลและแนวปฏิบัติที่ดีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง

เขียนโดย Zhai Kun ศาสตราจารย์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยปักกิ่ง

จีนชูระบบ ‘พหุภาคีแบบจีน’ กระตุ้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ในปี 2021

นักศึกษากำลังแนะนำรถไฟความเร็วสูงของประเทศจีนที่ศูนย์ Luban Workshop วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา

จีนชูระบบ ‘พหุภาคีแบบจีน’ กระตุ้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ในปี 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-ไทยในมุมมองแนวคิด ‘ประชาคมโลกมีชะตาชีวิตร่วมกัน’ ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง

สาธารณรัฐประชาชนจีนกับราชอาณาจักไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดมาตั้งแต่โบราณกาล การไปมาหาสู่กันฉันมิตรมีมากว่า 2000 ปีแล้ว เวลากว่าสองพันปีได้สร้างความผูกพันธ์อันลึกซึ้งทางสายเลือดและความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรมให้กับสองประเทศเรา ดังคำกล่าวที่ว่า “จีนไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” นับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในปี ค.ศ. 1975 เป็นต้นมา ไม่ว่าสถานการณ์โลกจะเปลี่ยนผันอย่างใด ความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างจีน-ไทย ก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลง อันเป็นการสร้างคุณูปการใหญ่หลวงต่อเสถียรภาพและความรุ่งโรจน์

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกัน

ทุกวันนี้ ทั้งจีนและไทยต่างอยู่ในสังคมโลกที่มีการพัฒนา การปฏิรูป และการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง ต้องเผชิญกับปัจจัยที่ไม่แน่นอนและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ลัทธิยึดตนเป็นใหญ่ ลัทธิการต่อต้านการค้าเสรี กระแสการต่อต้านโลกาภิวัตน์ ปรากฏบ่อยครั้งและในรูปแบบใหม่ๆ แต่ในขณะเดียวกันกระแสโลกาภิวัตน์ทางด้านเศรษฐกิจ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมยังคงมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว สันติภาพกับการพัฒนา เสถียรภาพและความร่วมมือยังคงเป็นกระแสหลักของโลก เนื่องด้วยมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระแสโลกและยุคสมัยอย่างลึกซึ้งและถูกต้อง ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงจึงเสนอแนวคิดสำคัญว่าด้วย “ประชาคมโลกมีชะตาชีวิตร่วมกัน” ขึ้นสำหรับประชาชนชาวไทยทั่วไป อาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับคำกล่าวนี้ แต่ความจริงแล้ว ไม่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคนก็เกี่ยวข้องกับแนวคิดนี้อย่างลึกซึ้ง

เมื่อเดือนมีนาคมปี ค.ศ. 2013 ท่านสี จิ้นผิงได้เสนอแนวคิดนี้อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกเนื่องในโอกาสที่กล่าวสุนทรพจน์ ณ สถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมอสโกว่า “สังคมโลกในทุกวันนี้ การติดต่อสื่อสารและการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างประเทศ มีระดับสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ มนุษยชาติใช้ชีวิตร่วมกันในหมู่บ้านโลกเดียวกัน และดำรงชีวิตอยู่ในอุโมงค์เวลาเดียวกัน อันเป็นช่วงเวลาที่ประวัติศาสตร์และสภาพความเป็นจริงมาบรรจบกัน ทำให้ประชาคมโลกมีชะตาชีวิตหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” หลังจากนั้น ท่านได้กล่าวถึงแนวคิดนี้หลายต่อหลายครั้งในโอกาส

สำคัญๆ ต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 25 เดือนมกราคมที่ผ่านมา ท่านสี จิ้นผิงเข้าร่วมการประชุมดาวอสของฟอรั่มเศรษฐกิจโลกเป็นครั้งที่สอง และได้กล่าวสุนทรพจน์พิเศษที่มีหัวข้อว่า “คบเพลิงแห่งพหุภาคีส่องสว่างแก่หนทางความก้าวหน้าของมนุษยชาติ” ท่านเน้นถึงแนวคิด “สร้างสรรค์ประชาคมโลกที่มีชะตาชีวิตร่วมกัน บรรลุเป้าหมายเอื้อประโยชน์แก่กัน

และได้ชัยชนะร่วมกัน” อีกครั้ง ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่เป็นการสาธยายคำปราศรัยที่กล่าวไว้ในฟอรั่มเศรษฐกิจโลกเมื่อ 4 ปีก่อนของท่านเอง อีกทั้งยังได้เพิ่มเติมสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวคิดนี้อีกไม่น้อย

4 ปีก่อน ในวันที่ 18  เดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2017 ท่านสี จิ้นผิงได้กล่าวสุนทรพจน์พิเศษในหัวข้อ “ร่วมมือกันสร้างสรรค์ประชาคมโลกที่มีชะตาชีวิตร่วมกัน” ณ ที่ประชุมดาวอสฟอรั่มเศรษฐกิจโลกได้รับความชื่นชมจากประเทศต่างๆ สังคมโลกเห็นพ้องต้องกันว่า คำปราศรัยของท่านสอดคล้องกับกระแสหลักแห่งการพัฒนา แสดงให้เห็นถึงความต้องการของประชาชนชาวโลก ชี้ทางให้กับวิวัฒนาการโลกาภิวัตน์อย่างชัดเจนว่าควรจะเดินไปทิศทางใด 4 ปีให้หลัง ซึ่งก็คือปี ค.ศ. 2020 โควิด-19 อุบัติขึ้นอย่างกะทันหันและระบาดไปทั่วโลก เศรษฐกิจโลกตกอยู่ในภาวะถดถอยซบเซา ความท้าทายและวิกฤต

นานาประการเกิดขึ้นบ่อยครั้ง สังคมโลกปัจจุบันตกอยู่ในภาวะผันแปรอย่างรุนแรงซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบร้อยปี และเป็นช่วงเวลาที่มีการปรับปรุงและพัฒนาครั้งใหญ่ มวลมนุษย์และสังคมโลกมาถึงจุดที่ต้องเลือกอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น เมื่อวันที่ 25 มกราคม ที่ผ่านมา ท่านสี จิ้นผิง เข้าร่วมการประชุมดาวอสของฟอรั่มเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง จึงได้เสนอแนวคิด “พหุภาคีในศตวรรษที่ 21” อันเป็น “กุศโลบายจีน” ที่มุ่งแก้ไขปัญหาสังคมโลกในปัจจุบัน

ท่านได้เพิ่มสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวคิด “ประชาคมโลกมีชะตาชีวิตร่วมกัน” ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เมื่อ 4 ปีก่อน ท่านเน้น “การยืนหยัด 4 ประการ” เพื่อก้าวสู่ประชาคมโลกที่มีชะตาชีวิตร่วมกัน ซึ่งได้แก่ ยืนหยัดการเจรจาและสนทนากัน สร้างสรรค์สังคมโลกที่มีสันติภาพยั่งยืน ยืนหยัดการสร้างสรรค์และแบ่งปันร่วมกัน สร้างสรรค์สังคมโลกที่ปลอดภัย ยืนหยัดความร่วมมือและได้ชัยชนะร่วมกัน สร้างสรรค์สังคมโลกที่เจริญรุ่งโรจน์ร่วมกัน ยืนหยัดการแลกเปลี่ยน

และเรียนรู้จากกันและกัน สร้างสรรค์สังคมโลกที่เปิดกว้างและเปิดใจยอมรับกัน ยืนหยัดแนวทางคาร์บอนต่ำและสีเขียวเพื่อสร้างสรรค์สังคมโลกที่สะอาดงดงาม ปี ค.ศ. 2021 นี้ ท่านสี จิ้นผิงไม่เพียงแต่เน้นถึง “การยืนหยัด 4 ประการ” อีกครั้ง ยังเสนอแนวคิด “ความต่อเนื่อง 5 ประการ” ซึ่งได้แก่ เข้าร่วมการต่อต้านโควิด-19 กับประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ดำเนินนโยบายเปิดประเทศ เอื้อประโยชน์แก่กัน และได้ชัยชนะร่วมกันอย่างต่อเนื่องผลักดันการพัฒนาแบบยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมนวัตกรรมทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ผลักดันการสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในรูปแบบใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของจีนที่จะดำเนินแนวคิดพหุภาคีอย่างเป็นรูปธรรมและเร่งส่งเสริมการสร้างสรรค์ประชาคมโลกที่มีชะตาชีวิตร่วมกัน

เมื่อ 4 ปีก่อน ณ เมืองดาวอส ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวต่อประชาคมโลกว่า การพัฒนาของประเทศจีนเป็นโอกาสของสังคมโลก ปีนี้ ท่านกล่าวอีกว่า ถ้าจะแก้ไขปัญหาที่เผชิญหน้าอยู่ในปัจจุบัน จะขาดบทบาทของจีนมิได้เลย เมื่อ 4 ปีก่อน เรากังวลว่าโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจจะสามารถดำเนินต่อไปได้หรือไม่ มาปีนี้ ประเด็นสำคัญที่ผู้คนปรึกษา

กันอยู่คือ เราต้องการพหุภาคีแบบใด คำปราศรัยของท่านสี จิ้นผิง เป็นการให้คำตอบต่อประเด็นสำคัญที่ชาวโลกทุกคนสนใจ นั่นก็คือ เราจะพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไร จะสร้างสรรค์สังคมโลกในรูปแบบใด

ปีนี้เป็นปีที่ 46 ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีน-ไทย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระหว่างจีนไทยได้รับการพัฒนาทั่วทุกด้าน ทางด้านการเมืองมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ความสัมพันธ์ทางการค้ามีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมก็สนิทแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือทุกครั้งที่เผชิญกับความยากลำบาก ประชาชนของทั้งสองประเทศต่างร่วมแรงร่วมใจ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ในรอบปีที่ผ่านมา เมื่อเผชิญกับโควิด-19 แพร่ระบาด ประชาชนทั้งสองฝ่ายก็ช่วยเหลือกัน สมดังคำกล่าวที่ว่า “จีนไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน”               

นโยบายพื้นฐานเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านของจีน เน้นคติธรรมสี่ประการดังนี้ “ฉันท์ญาติ จริงใจ โอบเอื้อและเปิดใจรับ” ซึ่งมีความหมายตรงกับแนวคิด“ประชาคมโลกมีชะตาชีวิตร่วมกัน” การสร้างสรรค์ประชาคมโลกที่มีชะตาชีวิตร่วมกัน เป็นเป้าหมายที่ยาวไกลของเรา แต่ก็สามารถดำเนินอย่างเป็นรูปธรรม

ได้ ดังเช่น ข้อริเริ่มเกี่ยวกับ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ก็เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน ประเทศไทยเป็นประเทศสำคัญบนรายทาง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ความร่วมมือฉันมิตรระหว่างจีนไทยเป็นแบบฉบับแห่งความร่วมมือระหว่างประเทศ เนื่องด้วยทั้งสองฝ่ายยึดมั่นในหลักการเคารพซึ่งกันและกัน มีความเสมอภาคและเป็นธรรม มีการร่วมมือเพื่อชัยชนะร่วมกัน จึงได้ประสบผลสำเร็จในด้านต่างๆ อย่างสมบูรณ์ เราเชื่อมั่นว่า ในอนาคต ขอแต่ให้ทั้งสองฝ่ายยึดมั่นในหลักการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรูปแบบใหม่ ความร่วมมือระหว่างจีนกับไทยก็ย่อมผลิดอกออกผลอย่างงอกงาม

ดังคำอวยพรปีใหม่ 2021 ของสี จิ้นผิง ที่กล่าวไว้ว่า “ผู้มีคุณธรรมย่อมไม่เดียวดาย ใต้หล้าเป็นครอบครัวเดียวกัน หลังผ่านพายุฝนที่พัดกระหน่ำมาช่วงหนึ่งปี ทุกคนต่างตระหนักถึงความหมายของคำว่าประชาคมโลกมีชะตาชีวิตร่วมกันมากกว่ายามใด” การป้องกันและควบคุมการระบาดของโควิด-19 เป็นงานหนักที่ต้องดำเนินไปเป็นเวลาค่อนข้างยาวนานในช่วงเวลานี้ ทั้งจีนและไทยเสมือนอยู่ในเรือลำเดียวกัน ควรร่วมมือร่วมใจกันฝ่าวิกฤต เพื่อขจัดโควิด-19 โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ และพยายามสร้างสรรค์โลกให้ดีงามยิ่งขึ้น

เขียนโดย Dr. Chen Li รองศาสตราจารย์สถาบันเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศ ปักกิ่ง

จีนชูระบบ ‘พหุภาคีแบบจีน’ กระตุ้นการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ในปี 2021

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2563 บริษัทมะพร้าวแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี ประเทศไทย ได้ทำการแปรรูปมะพร้าวเพื่อส่งไปยังประเทศจีน