ประเทศไทยเตรียมพร้อมสู่สังคมสูงอายุและมหานครสมาร์ทซิตี้

ประเทศไทยเตรียมพร้อมสู่สังคมสูงอายุและมหานครสมาร์ทซิตี้

หลังประเทศไทยผ่านพ้นจากวิกฤตไวรัสโควิด-19 ถึงเวลาแล้วที่จะหาหนทางใหม่ๆเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและวางแผนจัดการผังเมืองตามความต้องการที่อยู่อาศัยดีดตัวขึ้นและการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ นอกจากนี้ประเทศไทยต้องหาวิธีพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรไปด้วย

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ คาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะมีอัตราการเป็นภาระในวัยสูงอายุสูงขึ้นกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ภายในปี พ.ศ. 2593 ในขณะสัดส่วนประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปีนั้นคาดว่าจะถึง 22.8 เปอร์เซ็นต์ภายในปี พ.ศ. 2578 นอกจากนี้ประเทศยังต้องเผชิญปัญหาสืบเนื่องจากปัญหาผังเมืองอันได้แก่ ปัญหารถติดและมลพิษ

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่ได้เผชิญปัญหานี้เพียงประเทศเดียว หลายเมืองทั่วโลกที่พบปัญหาจากผังเมืองและภูมิประชากรคล้ายกัน ซึ่งเมืองเหล่านั้นกำลังแก้ไขด้วยการเปลี่ยนผ่านไปสู่เมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้และใช้เทคโนโลยีต่างๆเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว

ประเทศไทยที่เป็นหนึ่งในประเทศที่ขนาดเศรษฐกิจใหญ่และล้ำหน้าที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอนนี้กลายเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำที่จะพัฒนาเมืองของตนไปสู่เมืองอัจฉริยะ จากการจัดอันดับของโครงการมาสเตอร์การ์ด ซีตี้ โพสสิเบิ้ล (City Possible) ประเทศไทยมี 27 จังหวัดที่อาจเข้าร่วมในการจัดอันดับดังกล่าว

แนวคิดเรื่องสมาร์ทซิตี้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงไวรัสเริ่มแพร่กระจายไวรัสตอนต้นปี รองนายกรัฐมนตรี ประวิทย์ วงษ์สุวรรณเคยแถลงไว้เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พศ.2563 ว่ารัฐบาลจะผลักดันโครงการสมาร์ทซิตี้ซึ่งโครงการดังกล่าวตั้งเป้าจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

หนึ่งในเมืองที่ได้รับเลือกให้เข้าเริ่มทดลองโครงการสมาร์ท ซิตี้ คือจังหวัดที่ตั้งในบริเวณโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จึงนับว่าโครงการอีอีซีเป็นจุดเริ่มต้นของต้นแบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เรียกว่า ประเทศไทย 4.0 อันเป็นโครงการระยะยาวที่มุ่งเน้นในการพัฒนาเศรษฐกิจผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

ภายใต้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย 4.0 เมืองทั้งหมด 100 เมืองได้รับเลือกให้เข้าร่วมโครงการเมืองอัจฉริยะหรือสมาร์ทซิตี้ ตั้งเป้าในสำเร็จภายในปี พศ. 2565 โครงการอีอีซีจึงเป็นก้าวแรกอันยิ่งใหญ่ของประเทศไทยที่จะนำเทคโนยีเข้ามาพัฒนาเมืองต่างๆในประเทศ ความก้าวหน้านี้จะนำพาโอกาศต่างๆทางเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยด้วย

สาธารณูปโภคและผังเมืองสู่เมืองไร้สาย

ด้วยประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติงานกว่า 110 ปีและความเชี่ยวชาญในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศนาน 60 ปี ฮิตาชิได้พัฒนาเครือข่ายทางธุรกิจทั่วโลกซึ่งมุ่งเน้นในการร่วมกันแก้ปัญหาทางเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ความตัองการเศรษฐกิจและสังคม ความร่วมมือนี้จะเป็นแรงผลักดันประเทศไทยไปยังเป้าหมายการสร้างสมาร์ทซิตี้

หนึ่งในแนวทางสำคัญที่ฮิตาชิได้ดำเนินการไปแล้วคือการก่อตั้งศูนย์ลูมาดะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Lumada Center Southeast Asia) ซึ่งเป็นศูนย์รวบรวมการแก้ปัญหา หรือ โซลูชั่น เพื่อการเข้าถึงระบบโครงข่ายที่รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หลากหมาย (Internet of Things - IoT) ที่จะมอบโซลูชั่นทางดิจิทัลให้แก่ลูกค้า ศูนย์ดังกล่าวตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี หนึ่งในจังหวัดที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจพิเศษ อีอีซี ศูนย์ลูมาดะได้แสดงบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาสมาร์ทซิตี้ในประเทศไทยด้วยการให้โซลูชั่นทางด้านดิจิทัลแก่บริษัทและธุรกิจสตาร์ทอัพตามความต้องการทางธุรกิจ และหลังศูนย์ลูมาดะกรุงเทพ แอนเน็กซ์เปิดตัวเมื่อตุลาคมปี 2563 ฮิตาชิยิ่งมีความพร้อมที่จะมอบโซลูชั่นที่เหมาะสมแก่คู่ค้าทางธุรกิจทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากก่อตั้งศูนย์ลูมาดะแล้ว ฮิตาชิยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาการบริการในส่วนสมาร์ท ซิตี้ ของกรุงเทพ โดยใช้ความชำนาญด้านการวางผังสมาร์ทซิตี้และสาธารนูปโภคร่วมออกแบบและกำหนดกฏเกณท์ทางเทคนิคของระบบสมาร์ท เซนเซอร์กริด (Smart Sensor Grid) และ ระบบพื้นฐานหรือแพลตฟอร์ม (Platform)ในสมาร์ทซิตี้ แพลตฟอร์มของสมาร์ท ซิตี้เปรียบเสมือน’สมอง’ของเมือง ส่วนเซนเซอร์กริดก็เปรียบได้กับ’ตา’และ’หู’ของเมือง

ยิ่งไปกว่านั้น ฮิตาชิยังมีส่วนร่วมในการศึกษาโครงการสมาร์ทซิตี้ของกรุงเทพเพื่อทำความเข้าใจความแตกต่างของที่มาข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวางแผนล่วงหน้าเพื่อจัดการปัญหาใหญ่ในเมืองเช่นปัญหาโลกร้อนหรือปัญหารถติด เมื่อมีการพัฒนาแพลตฟอร์มด้านข้อมูล หน่วยงานจะสามารถดึงข้อมูลเปรียบเทียบ แสดงผล และ วิเคราะห์ได้ตั้งแต่ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไปจนถึงข้อมูลปัจจุบันจากหลายแหล่งที่มา รวมถึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดในอนาคตได้ทั้งเหตุไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นและปัญหาระยะยาว

เทคโนโลยีเปรียบเสมือนเส้นเลือดหลักที่หล่อเลี้ยงสมาร์ทซิตี้ ดังนั้นเพื่อทำให้แน่ใจว่าโครงการสมาร์ทซิตี้ในประเทศจะประสบความสำเร็จ นวัตกรรมต่างๆจากบริษัทชั้นนำทางเทคโนโลยีอย่างฮิตาชิจึงถูกนำมาใช้ในการนี้

บริษัทฮิตาชิแสวงหาโซลูชั่นและความเป็นไปได้ต่างๆที่จะช่วยส่งเสริมการใช้ชีวิตและบริการในสมาร์ทซิตี้ ในที่นี้รวมถึงค้นคว้าชุดสูทช่วยทุ่นแรง (powered exoskeletons) ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของชาวสวนในเขตเมือง เครื่องพิมพ์สามมิติที่ตอบสนองความต้องการของหน่วยผลิตขนาดย่อม หรือ การบริการ IoT ที่ติดตั้งบนระบบคลาวน์ และบริการอื่นๆอีกมากมาย

เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้ขยายขีดจำกัดในการใช้ชีวิตและนวัตกรรมในสมาร์ทซิตี้ให้เหนือกว่าโซลูชั่นของสมาร์ทซิตี้ที่เคยมีมาและยกระดับชีวิตของประชาชนที่อาศัยและทำงานในเมืองนี้ให้ดียิ่งขึ้น

ประเทศไทยเตรียมพร้อมสู่สังคมสูงอายุและมหานครสมาร์ทซิตี้

เติมพลังสิ่งดีผ่านสมาร์ทซิตี้

สมาร์ทซิตี้ที่ประสบความสำเร็จนั้นต้องทำให้ประชาชนมีความสุขและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น รวมทั้งมอบโอกาสให้ตัวบุคคลและชุมชนเติบโตเพื่อพัฒนามูลค่าทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

ในฐานะผู้ถ่ายทอดโซลูชั่นทางดิจิทัลที่มุ่งเน้นเติมพลังสิ่งดี (POWERING GOOD) ฮิตาชิตั้งมั่นในการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ในประเทศไทยที่เน้นการพัฒนาและเดินหน้าอย่างยั่งยืนเพื่อประชาชน

ประเทศไทยเตรียมพร้อมสู่สังคมสูงอายุและมหานครสมาร์ทซิตี้

สมาร์ทซิตี้ทุกแห่งอยู่บนแนวทางสำคัญที่จะทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นและเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆให้ถูกค้นพบ บริการทางดิจิทัลและเทคโนโลยียังจะช่วยสมาร์ทซิตี้ให้รับมือต่อปัญหาและวิกฤตในอนาคตโดยตอบสนองต่ออุปสรรคทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เกิดโดยไม่คาดไว้

เมื่อเมืองถูกสร้างอย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาอย่างยั่งยืนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลและสาธารณูปโภคที่รองรับระบบ IoT สมาร์ทซิตี้ของประเทศไทยจะเพิ่มโอกาสในการพัฒนาความปลอดภัยของประชาชน ปรับปรุงระบบสุขภาพ และ ลดปัญหาทางจราจร ยิ่งไปกว่านั้นสมาร์ทซิตี้ยังช่วยให้ประเทศไทยรุกคืบเข้าไปในเศรษฐกิจดิจิทัลใหม่ที่ทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ

ในฐานะผู้นำทางด้านนวัตกรรมทางสังคมและโซโลชั่นสำหรับผังเมือง ฮิตาชิหวังจะเดินหน้าในบทบาทผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่ดี ด้วยการรวบรวมจุดแข็งในระบบสาธารณูปโภคและเทคโนโลสารสนเทศ ฮิตาชิตั้งเป้าที่จะพัฒนาโซลูชั่นร่วมเพื่อการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ซึ่งครอบคลุมทั้งทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และ สังคม

การถือกำเนิดของเศรษฐกิจดิจิทัลใหม่จะก่อให้เกิดการแพร่กระจายของสมาร์ทซิตี้ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอื่น ๆ ด้วยการใช้นวัตกรรมทางสังคมและแนวทางที่เน้นผู้คนเป็นศูนย์กลาง สมาร์ทซิตี้ของประเทศไทยจะโดดเด่นกว่าคู่แข่งอย่างแท้จริง เพื่อสิ่งนี้จะต้องใช้แนวทางนวัตกรรมทางสังคมที่มุ่งเน้นไปที่การขับเคลื่อนสิ่งที่ดีเหนือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหรือการพัฒนาเมืองเพียงอย่างเดียว

 

ประเทศไทยเตรียมพร้อมสู่สังคมสูงอายุและมหานครสมาร์ทซิตี้

Dr Woo Jun Jie, Policy Researcher