TIJ จับมือพันธมิตรทางสังคม ขับเคลื่อน “ข้อกำหนดกรุงเทพ” คืนชีวิตผู้ต้องขัง

TIJ จับมือพันธมิตรทางสังคม ขับเคลื่อน “ข้อกำหนดกรุงเทพ” คืนชีวิตผู้ต้องขัง

“เรือนจำไม่ใช่สถานที่ของการลงโทษ แต่เป็นสถานที่ของการให้โอกาส”

เป็นข้อความสำคัญ หรือ คีย์เวิร์ดจากศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ: Thailand Institute of Justice) ที่พูดถึง วิสัยทัศน์ใหม่ของเรือนจำที่ไม่ควรมีไว้แค่ ขังคนผิดตามแนวคิดการลงโทษแบบ แก้แค้นทดแทนเท่านั้น

TIJ จับมือพันธมิตรทางสังคม ขับเคลื่อน “ข้อกำหนดกรุงเทพ” คืนชีวิตผู้ต้องขัง

ผู้อำนวยการ TIJ กล่าวเรื่องนี้ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ข้อกำหนดกรุงเทพในหัวข้อ ร่วมจุดประกายพลังแห่งความร่วมมือทางสังคมบอกเล่าถึงคุณูปการของข้อกำหนดที่ใช้ชื่อเมืองหลวงของประเทศไทย ข้อกำหนดกรุงเทพหรือ Bangkok Rules หมายถึงข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ และมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิงได้รับการลงมติรับรองในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติเมื่อวันที่ 21 ..2553 ถือเป็นการประกาศชัยชนะด้านสิทธิของผู้หญิงทั้งโลก เพราะแต่เดิมเรือนจำถูกออกแบบไว้รองรับผู้ชายเท่านั้น

จุดเริ่มต้นของ “ข้อกำหนดกรุงเทพเกิดขึ้นที่ประเทศไทยจากโครงการกำลังใจในพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา นับจากวันนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันทำงานตามวิสัยทัศน์ใหม่มาเรื่อยๆ โดยมี TIJ เป็นองค์กรสำคัญในการขับเคลื่อนสู่ภาคปฏิบัติ กระทั่งปัจจุบันมีเรือนจำต้นแบบแล้ว 15 แห่ง และไทยกลายเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคสำหรับ
การนำบุคลากรด้านราชทัณฑ์จากต่างประเทศมาศึกษาเรียนรู้แนวทาง

การเปลี่ยนเรือนจำจาก “สถานที่คุมขังเป็นโรงเรียนสร้างโอกาสต้องสร้างพันธมิตรทางสังคมที่เรียกว่า Social Partnership โดยมีองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคมกว่า 30 องค์กรผสานมือกัน

หนึ่งในองค์กรพันธมิตร คือ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่มี หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

TIJ จับมือพันธมิตรทางสังคม ขับเคลื่อน “ข้อกำหนดกรุงเทพ” คืนชีวิตผู้ต้องขัง

หม่อมหลวงดิศปนัดดา บอกว่า โอกาสที่จะมอบให้กับผู้ก้าวพลาด คือ คำที่ได้ยินมาตลอดแต่เราจะให้โอกาสผู้พ้นโทษได้อย่างไรบ้าง ในเมื่อการสมัครงานภาครัฐมีกฎระเบียบชัดเจนว่าต้องไม่เคยถูกตัดสินจำคุก จะสมัครงานภาคเอกชนก็ต้องไม่มีประวัติต้องโทษ ไม่มีคดียาเสพติด ฉะนั้น ช่องทางเดียวที่ทำได้ คือ การเป็นเจ้าของธุรกิจ แต่หากไร้ซึ่งทุนทรัพย์ ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ยากและผู้พ้นโทษก็มีโอกาสกลับไปกระทำผิดซ้ำ ฉะนั้น การส่งเสริมทักษะอาชีพให้ผู้พ้นโทษไม่ให้กลับไปกระทำผิดซ้ำ ต้องแก้ปัญหาจากคำว่า “ชีวิตไม่มีอะไรต้องเสียเป็นชีวิตที่มีอะไรต้องเสียสร้างทักษะ สภาพแวดล้อมให้ผู้ก้าวพลาดไปต่อได้ มองสิ่งที่เขาทำได้ มากกว่าสิ่งที่เขาเคยทำ ต้องเปลี่ยนระบบ โดยการสร้างโอกาส สร้างงาน สร้างสังคมที่ปลอดภัย และที่สำคัญกว่านั้น คือ เกียรติและศักดิ์ศรีแก่ผู้ที่ก้าวพลาด

แนวทางนี้สอดคล้องกับมุมมองของศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ที่บอกว่า “การดูแลแก้ปัญหาผู้ต้องขัง ไม่อาจกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าทำโดยรัฐเพียงฝ่ายเดียว สังคมต้องเป็นกุญแจเปิดประตูเริ่มชีวิตใหม่แก่ผู้พ้นโทษ

TIJ จับมือพันธมิตรทางสังคม ขับเคลื่อน “ข้อกำหนดกรุงเทพ” คืนชีวิตผู้ต้องขัง

เหตุนี้เอง กระทรวงยุติธรรมโดยกรมราชทัณฑ์จึงได้จัดตั้ง “ศูนย์ CARE” ซึ่งหมายถึงศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำ” (Center for Assistance to Reintegration and Employment; CARE) โดยให้ผู้ต้องขัง ได้มีโอกาสฝึกอาชีพกับสถานประกอบการภายนอกเรือนจำและประสานงานด้านการหางานทำให้แก่ผู้พ้นโทษ รวมถึงให้ความช่วยเหลือด้านทุนในการประกอบอาชีพอิสระ และการสงเคราะห์เบื้องต้นหลังพ้นโทษ

ตลอดปีที่ผ่านมา “ศูนย์ CARE” ได้ให้ความช่วยเหลือผู้พ้นโทษไปแล้ว 20,000 ราย และยังได้เสนอกระทรวงการคลังให้ออกกฎหมายรองรับ เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่เจ้าของธุรกิจที่รับอดีตผู้ต้องขังเข้าทำงาน

ปลัดกระทรวงยุติธรรม บอกว่า โครงการทั้งหมดนี้ถือเป็น “ปัจจัยบวกสำหรับตัวผู้ต้องขังแต่ละคน และยังส่งผลในภาพรวมในการช่วยลดการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังด้วย

จะเห็นได้ว่าการลดการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขัง เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญของกระบวนการยุติธรรมไทยที่ทุกฝ่ายกังวล เนื่องจากประเทศไทยมีปริมาณผู้ต้องขังในเรือนจำสูงเป็นอันดับ 6 ของโลก และอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อมูล ณ เดือน ต..2563 มีผู้ต้องขังจาก ทุกเรือนจำทั่วประเทศถึง 348,809 คน ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลมาตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี ขณะที่อัตราความจุที่เรือนจำรับได้อยู่ที่ราวๆ 200,000 คนเท่านั้น

ในจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด แยกเป็นผู้ต้องขังหญิง ร้อยละ 17 จากเดิมที่เคยอยู่ที่ร้อยละ 10-15 และยังพบว่าผู้ต้องขังทั้งชายและหญิงที่ได้รับการปล่อยตัว มีถึงร้อยละ 33 ที่กระทำผิดซ้ำภายใน 3 ปี เมื่อกระทำผิดซ้ำ ก็ต้องกลับเข้าเรือนจำอีก ทำให้เรือนจำแออัด เป็นปัญหางูกินหางไม่รู้จบ

ฉะนั้นหากตัดวงจรด้วยการลดอัตราส่วนการกระทำผิดซ้ำลง ก็จะช่วยลดจำนวนผู้ต้องขังลงได้ส่วนหนึ่ง ขณะที่มาตรการตาม “ข้อกำหนดกรุงเทพก็มีมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิงรวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นประเด็นที่ TIJ ขับเคลื่อนมาตลอดเช่นกัน เพื่อให้คุกหรือเรือนจำเป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับลงโทษผู้กระทำผิด

TIJ จับมือพันธมิตรทางสังคม ขับเคลื่อน “ข้อกำหนดกรุงเทพ” คืนชีวิตผู้ต้องขัง

แนวคิดนี้สอดรับกับทิศทางที่สหประชาชาติดำเนินการมาโดยตลอด นายเจเรมี ดักลาส ผู้แทนประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNODC บอกว่า ทั้ง UNODC TIJ และองค์กรการปฏิรูปการลงโทษสากล รวมถึงทุกฝ่ายในสังคม จำเป็นต้องร่วมมือกันอย่างแข็งขันเพื่อสนับสนุนการนำ ข้อกำหนดกรุงเทพไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้ต้องขังหญิงและอดีตผู้ต้องขังจะได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อเพศภาวะ ใช้บทลงโทษคุมขังเป็นทางออกสุดท้ายในการตัดสินโทษ และได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยตัว