เครื่องมือ-อุปกรณ์การแพทย์ ติดตาม-ช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด-19

เครื่องมือ-อุปกรณ์การแพทย์ ติดตาม-ช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด-19

แม้ว่าการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 ในประเทศไทยจะมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง แต่สถานการณ์ทั่วโลกหลายประเทศยังน่าวิตก ดังนั้น เราไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ ยังต้องเตรียมพร้อมรับมือตลอดเวลา โดยอุปกรณ์ทางการแพทย์มีความสำคัญมากสำหรับแพทย์ที่ทำหน้าที่รักษา และผู้ป่วยที่มาใช้บริการ

โดยเฉพาะเครื่องติดตามสัญญาณชีพ ถือว่ามีส่วนสำคัญในการติดตามอุณหภูมิ แรงดันเลือด และชีพจรของผู้ป่วย ซึ่งนอกจากผู้ป่วยจะปลอดภัยแล้ว พยาบาลก็สามารถติดตามได้ทุกระยะของการกำเนิดโรค ขณะเดียวกันช่วยลดการติดต่อสัมผัสระหว่างบุคลาการทางการแพทย์กับผู้ป่วย ส่วนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยหายใจมีความจำเป็นอย่างมาก สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก มีอาการทางปอดในระหว่างการรักษาตัวจากโรคโควิด-19

ล่าสุดมูลนิธิ สุทธิรัตน์ อยู่วิทยา ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดหาและส่งมอบเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นมูลค่ารวมกว่า 15 ล้านบาท ให้แก่โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางในการรับผู้ป่วยโควิด-19 โดยมีตัวแทนมูลนิธิฯ สมคิด รุจีปกรณ์ กรรมการและเลขาธิการ เป็นผู้ส่งมอบและติดตามการใช้งาน

เครื่องมือ-อุปกรณ์การแพทย์ ติดตาม-ช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด-19

ประกอบด้วย ท่อเครื่องช่วยหายใจชนิดอัตราไหลสูง (High Flow Oxygen Therapy Device) รุ่น Airvo 2 จำนวน 300 ชุด, ท่อเครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกสองระดับ (BiPAP) รุ่น BiPAP A40 จำนวน 300 ชุด, เครื่องช่วยหายใจชนิดเคลื่อนย้าย (Transport VenKlator) รุ่น Trilogy EVO จำนวน 3 เครื่อง  ท่อเครื่องช่วยหายใจชนิดเคลื่อนย้าย Tran(Transport VenKlator) รุ่น Trilogy EVO จำนวน 300 ชุด, เครื่องเฝ้าระวังและติดตามสัญญาณชีพผู้ป่วย (Bedside Monitor หรือ PaKent Monitor) รุ่น SVM-7600 จำนวน 5 เครื่อง, เครื่องพ่นยา รุ่น Aerogen Pro จำนวน 6 เครื่อง, ชุดสายอุปกรณ์เครื่องพ่นยา รุ่น Aerogen Pro จำนวน 300 ชุด เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยหนัก (ICU VenKlator) รุ่น G5 จำนวน 5 เครื่อง, ท่อเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยหนัก (ICU VenKlator) รุ่น G5 จำนวน 2,500 ชุด และ ตัวกรองเชื้อโรค (Humid-Vent filter Compact Straight) (HME Filter) จำนวน 3,000 ชิ้น**

เครื่องมือ-อุปกรณ์การแพทย์ ติดตาม-ช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด-19

นพ.สุกรม ชีเจริญ รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีประโยชน์อย่างมากในการใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยเครื่องติดตามสัญญาณชีพ ช่วยให้รู้สัญญาณชีพจรของผู้ป่วย ติดตามได้ทุกระยะของการกำเนิดโรค อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยหายใจจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก

แม้ว่าโดยในสถานการณ์ปัจจุบัน หลังสามารถควบคุมการระบาดได้ในระยะแรก ทำให้จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ประชาชนต้องดูแลตัวเอง ด้วยการใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้านหรือทำกิจการต่างๆ ในสังคม ดูแลรักษาสุขภาพ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ กินร้อน ใช้ช้อนกลางส่วนตัว และล้างมือบ่อยๆ รวมทั้ง หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น

นอกจากนี้ ต้องเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อลดการติดโรคโควิด-19 จากเราไปสู่คนอื่น และจากคนอื่นมาสู่เรา และช่วยกันปกป้องระบบสาธารณสุข อย่าปิดบังประวัติ อย่าปิดบังอาการ ในกรณีที่สงสัยว่าจะเป็นโรคโควิด-19 ต้องแจ้งข้อมูลกับแพทย์อย่างครบถ้วน.