ทางรอด ‘เงินบาท’ ผันผวน เปิดบัญชี CIMB Biz US Dollar ลดต้นทุน-ความเสี่ยงค่าเงิน

ทางรอด ‘เงินบาท’ ผันผวน เปิดบัญชี CIMB Biz US Dollar  ลดต้นทุน-ความเสี่ยงค่าเงิน

เปิดศักราชใหม่ปี 2563 เป็นต้นมา “เงินบาท” นับเป็นสกุลเงินที่ “อ่อนค่า” มากสุดในภูมิภาค โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2563 เงินบาททำสถิติอ่อนค่าสุดที่ระดับ 31.92 บาทต่อดอลลาร์(ณ วันที่ 26 ก.พ.) ถือเป็นระดับการอ่อนค่าสุดในรอบ 9 เดือน หรือคิดเป็นการอ่อนค่าลงราว 6.3% เมื่อเทียบกับปลายปีที่ผ่านมา

ภาพของเงินบาทปีนี้จึง “แตกต่าง” จากปีที่ผ่านมาโดยสิ้นเชิง เพราะในปีที่แล้ว "เงินบาท" จัดเป็นสกุลเงินที่ “แข็งค่า” สุดในภูมิภาค โดยแข็งค่าขึ้นราว 8.8% เมื่อเทียบกับปลายปี 2561

การเคลื่อนไหวของเงินบาท สะท้อนภาพ “ความผันผวน” ที่สูงขึ้นแบบชัดเจน  โดย “ค่าความผันผวน” ของเงินบาท ช่วง 6 เดือนย้อนหลัง ปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 5.3% นับเป็นตัวเลขที่สูงสุดในรอบ 5 เดือน จากปกติที่เงินบาท มักมีค่าความผันผวนเฉลี่ยไม่เกิน 4%

มองไปข้างหน้าเงินบาทมีแนวโน้ม "ผันผวนมากขึ้น” โดยหลายสำนักวิจัยทางเศรษฐกิจ เริ่มปรับ “มุมมอง” ต่อค่าเงินบาทใหม่ ส่วนใหญ่ประเมินว่า “ระยะสั้น” เงินบาทมีโอกาส “อ่อนค่าลง” ต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ “โควิด-19” เพราะทำให้ การท่องเที่ยวไทย ได้รับผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง ส่งผลต่อรายได้ในรูปเงินดอลลาร์ที่หายไป ทำให้ยอดการ “เกินดุล” บัญชีเดินสะพัด “ลดลง” ส่งผลต่อค่าเงินที่อ่อนลง

ทางรอด ‘เงินบาท’ ผันผวน เปิดบัญชี CIMB Biz US Dollar  ลดต้นทุน-ความเสี่ยงค่าเงิน

อย่างไรก็ตามใน “ระยะยาว” หากสถานการณ์ต่างๆ เริ่มคลี่คลาย “เงินบาท” มีแนวโน้มกลับมา “แข็งค่าอีกครั้ง” เนื่องจาก ไทย ยังมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงต่อเนื่อง สะท้อนจากตัวเลขคาดการณ์ของ สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ที่แม้จะ “ปรับลด” ตัวเลขคาดการณ์การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยในปีนี้ลงเหลือ 2.95 หมื่นล้านดอลลาร์ จากเดิม 3.18 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่ตัวเลขการเกินดุลดังกล่าวยังคงทรงตัวในระดับสูง สร้างแรงกดดันต่อค่าเงินบาทที่กลับมาแข็งค่าได้

นอกจากนี้ในรายงานการประชุมของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ระบุว่า เงินบาทระยะหลังแม้เริ่มอ่อนค่าลง แต่ยัง “ไม่สอดคล้อง” กับพื้นฐานเศรษฐกิจไทย และแนวโน้มระยะข้างหน้ายังมีความผันผวนสูง ซึ่ง กนง. ได้สนับสนุนให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ดำเนินมาตรการเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแลค่าเงินบาทให้เคลื่อนไหวสอดคล้องกับพื้นฐานเศรษฐกิจ

ล่าสุด ธปท. ได้ออกประกาศ “ผ่อนคลาย” หลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพิ่มเติม โดย “ขยายวงเงิน" รายได้ต่างประเทศที่ไม่ต้องนำกลับเข้าประเทศ ด้วยการฝากไว้ในต่างประเทศ หรือ ในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ(FCD) โดยไม่จำกัดระยะเวลา จากเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน “2 แสนดอลลาร์” ต่อใบขนสินค้า เพิ่มเป็น “1 ล้านดอลลาร์” ต่อใบขนสินค้า

วัตถุประสงค์ การขยายเพดานการนำเงินกลับเข้าประเทศในครั้งนี้ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับผู้ประกอบการในการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ ช่วยลดภาระต้นทุนการดำเนินธุรกิจ และยังช่วยสร้างสมดุลเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้ายด้วย

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนแนวทางของ ธปท. ในการผลักดันให้ผู้ประกอบการเปิดบัญชี FCD มากขึ้น “ธนาคาร ซีไอเอ็มบี  ไทย” จึงได้เปิดให้บริการบัญชีเงินฝากต่างประเทศ CIMB Biz US Dollar ซึ่งจะช่วยภาคธุรกิจทั้งนำเข้าและส่งออกไทยลดต้นทุนจากความผันผวนของค่าเงิน และค่าธรรมเนียมการโอนเงินรับเงินต่างประเทศที่สูง

โดยบัญชี CIMB Biz US Dollar เป็นบัญชีที่เหมาะกับคนทำธุรกิจ ลูกค้าจะได้รับ “ฟรี” ค่าธรรมเนียมการโอนเงินและการรับเงินต่างประเทศ พร้อม “รับดอกเบี้ย” สูงถึง 1.1% โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่ทำการค้าขายเป็นเงิน US Dollar สะดวกยิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องแลกเงินกลับไปกลับมา ไม่ต้องเสี่ยงต่อความผันผวนเรื่องค่าเงิน และหากต้องการแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อหมุนเวียนทำธุรกิจในส่วนอื่นๆ บัญชี CIMB Biz US Dollar ยังเสนออัตราแลกเปลี่ยน “สุดพิเศษ” ให้ลูกค้าอีกด้วย

นอกจากนี้ กรณีที่รับเงินมาเป็นสกุลดอลลาร์ และต้องการแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท เพื่อหมุนเวียนทำธุรกิจในประเทศ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ยังมีบัญชีเงินบาท CIMB Biz Account ที่เป็นบัญชีกระแสรายวันแบบมีดอกเบี้ยสูง และยังสามารถโอนฟรีทุกธุรกรรมผ่านออนไลน์แบงก์กิ้ง ทั้งในประเทศ ต่างประเทศ และอื่นๆ อีกมากมาย

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย โทร 02-6267771 https://www.cimbthai.com/th/business/products/deposit-corporate/Biz-Account-USD.html

ข้อมูลอ้างอิง

https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=9895&filename=QGDP_report

https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2020/Pages/n0563.aspx

https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2020/Pages/n1163.aspx