พลังงานหมุนเวียนวิชั่นใหม่'บีจีซี' กลยุทธ์สร้างรายได้โตคู่ขวดแก้ว

พลังงานหมุนเวียนวิชั่นใหม่'บีจีซี' กลยุทธ์สร้างรายได้โตคู่ขวดแก้ว

ผู้นำตลาดบรรจุภัณฑ์แก้ว “บีจีซี”  ชูวิชั่น 'Bring Happiness to All' สร้างการเติบโตรอบใหม่เพื่อความยั่งยืน รับเทรนด์ตลาดพลังงานหมุนเวียนโตร้อนแรงไม่หยุด เดินหน้าลงทุนธุรกิจพลังงานหมุนเวียนสร้างรายได้ควบคู่การเติบโตธุรกิจหลักนำร่องโซลาร์ฟาร์มในเวียดนาม

พลังงานหมุนเวียนวิชั่นใหม่'บีจีซี' กลยุทธ์สร้างรายได้โตคู่ขวดแก้ว

นายศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน)  หรือ บีจีซี  กล่าวว่า  วิชั่นใหม่ของบีจีซีต่อจากนี้คือ  'Bring Happiness to All' ซึ่งจะเป็นบริษัทที่มอบความสุขให้ทุกคนไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ผู้ถือหุ้น และทุกคนในโลกจากเดิมตั้งเป้าจะเป็นบริษัทแพเกจจิ้งที่เป็นผู้นำในอาเซียน แต่ปัจจุบันบริษัทจะเติบโตในธุรกิจที่ ไม่ได้จำกัดแค่ บรรจุภัณฑ์ขวดแก้ว หรือบรรจุภัณฑ์อื่น แต่จะรวมไปถึงพลังงานทางเลือก ไม่ว่าจะเป็น ลม แสงแดด  น้ำ หรือพลังงานจากใต้พิภพ เพื่อเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน

ล่าสุดได้เข้าซื้อหุ้น 100% ของบริษัท โซล่าร์ พาวเวอร์ แมเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด มูลค่า 1,259 ล้านบาท ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในเวียดนาม 2 โครงการ คือ โครงการ XuanTho1 และโครงการ Xuan Tho2 ซึ่งเป็นโครงการที่เริ่มมีการจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แล้วทั้ง 2 โครงการ

"พลังงานทดแทนจะเป็นเป้าหมายใหม่ขององค์กร เพราะบริษัทมีประสบการณ์จากการทำโซลาร์เซลล์บนหลังคาโรงงาน คลังสินค้า(Solar Rooftop) มานานกว่า 10 ปี  จึงมีองค์ความรู้เรื่องโซลาร์เซลล์พอสมควร ไม่ใช่ว่าไม่เคยมีความรู้มาก่อน ประกอบกับว่า  พลังงานทดแทนเป็นธุรกิจที่ให้กำไรดี 10-20%  จึงตัดสินใจก้าวเข้าสู่ธุรกิจนี้อย่างจริงจังต่อไป ในรูปแบบการร่วมทุน หรือซื้อกิจการเป็นหลัก"

พลังงานหมุนเวียนวิชั่นใหม่'บีจีซี' กลยุทธ์สร้างรายได้โตคู่ขวดแก้ว

พลังงานหมุนเวียนวิชั่นใหม่'บีจีซี' กลยุทธ์สร้างรายได้โตคู่ขวดแก้ว

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า "บีจีซี" จะเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดบรรจุภัณฑ์แก้วในประเทศไทยในเครือบุญรอดบริวเวอรี่ ของตระกูล “ภิรมย์ภักดี”  แต่สถานการณ์การอยู่รอดในระยะยาวก็ไม่ง่าย เมื่อแนวโน้มสนามรบทวีความรุนแรงขึ้น ใน 2-3 ปีข้างหน้ากลายเป็น Red Oceanเนื่องจากมีดีมานด์จากประเทศยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลียเข้ามาเพิ่มขึ้น ซึ่งประเทศเหล่านี้มีความตื่นตัวในการใช้แก้วแทนพลาสติกมากขึ้น ทำให้ซัพพลายในประเทศเหล่านั้นไม่เพียงพอ แต่การลงทุนสร้างโรงงานผลิตใหม่ไม่เหมาะที่จะลงทุนในช่วงเวลานี้และดีมานด์ยังไม่ได้หวือหวา แถมต้นทุนราคาสูงขึ้น ขณะที่กำไรแค่ 5-6%

นายศิลปรัตน์  กล่าวว่า ในปีนี้ บีจีซีจึงให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์ขวดแก้ว ซึ่งเป็นธุรกิจหลัก ด้วยการ 1.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้น 2.จ้างผลิตจากโรงงานภายนอก (Outsource) ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานของบริษัททั้งในประเทศและต่างประเทศ และ3.ซื้อกิจการ (Mergers and Acquisitions : M&A) ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลัก อาทิ  ฉลากฟิล์ม กล่องกระดาษ ฝาอลูมิเนียม มาอยู่ในพอร์ตโฟลิโอ ในรูปแบบ 'โทเทิล แพคเกจจิ้ง โซลูชั่น' เพื่อให้เกิดการ 'ซินเนอร์จี'สร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ(หลัก)บรรจุภัณฑ์แก้ว ทำให้สามารถขายสินค้าได้มากกว่า 1 อย่าง เพื่อช่วยสร้างโอกาสในการขายเพิ่มขึ้นจากการขายแบบแพ็ครวม (Bundle) สินค้าที่สามารถใช้ร่วมกันได้เพื่อเพิ่มยอดขายต่อการขายในแต่ละครั้ง โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนกลางปี 1 ดีล และปลายปีอีก 1 ดีล

แนวทางดังกล่าวเป็นการต่อยอดธุรกิจจากบรรจุภัณฑ์แก้วไปสู่ธุรกิจอื่นๆ ที่หลากหลาย เพิ่มโอกาสในการเติบโต และสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับบริษัทในระยะยาว”

พลังงานหมุนเวียนวิชั่นใหม่'บีจีซี' กลยุทธ์สร้างรายได้โตคู่ขวดแก้ว

ขณะเดียวกันบริษัทได้ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 2  ยูนิต ยูนิตแรกจะเป็นฝั่งของซัพพลาย จะมีประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (COO) ที่มีหน้าที่ทำตั้งแต่วางแผน จัดหา จัดทำ จัดเก็บ จัดส่งซัพพลาย ส่วนยูนิตที่สองฝั่งของเทรดดิ้ง จะมีประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (COO) หน่วยงานดูแลงานขาย เป็นการจัดบิสสิเนสยูนิตใหม่ และมีแชร์เซอร์วิสส่วนกลาง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายทรัพยากรบุคคล และการเงิน

"วัตถุประสงค์การปรับโครงสร้างครั้งนี้เพื่อให้ทั้ง 2 ยูนิตโฟกัสสิ่งที่ตัวเองถนัดอย่างเฉพาะเจาะจงและเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและสามารถแข่งขันกับองค์กรภายนอกได้  เป็นการทดสอบโมเดลธุรกิจใหม่ หากประสบความสำเร็จอาจแยกเป็น 2 บริษัท ซึ่งได้ไอเดียจาก “เบอร์ลิน” บริษัทในสหรัฐอเมริกาที่มีรายได้ปีละ 5 หมื่นล้านบาท เฉพาะจำหน่ายแก้วมูลค่า 2 หมื่นล้านบาท โดยที่ไม่มีโรงงานผลิต"

พลังงานหมุนเวียนวิชั่นใหม่'บีจีซี' กลยุทธ์สร้างรายได้โตคู่ขวดแก้ว

พลังงานหมุนเวียนวิชั่นใหม่'บีจีซี' กลยุทธ์สร้างรายได้โตคู่ขวดแก้ว

นายศิลปรัตน์  ระบุว่า  ผลการดำเนินงานบริษัทในปีนี้ คาดว่าจะเติบโต 5-10% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 13,000 ล้านบาท มาจาก 3 ธุรกิจ ได้แก่  บรรจุภัณฑ์แก้ว  คิดเป็นสัดส่วน ประมาณ 80%  บรรจุภัณฑ์อื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 17% และธุรกิจพลังงานมีสัดส่วนประมาณ 2-3%  นอกจากนี้บริษัทได้ปรับตัวเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงด้วยการพัฒนาโรงงานอัจฉริยะ (smart factory) ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนากระบวนการผลิตให้ถูกต้องแม่นยำ เพื่อก้าวไปข้างหน้า ด้วยการถอยมาดูจุดบกพร่องและทำการแก้ไข

ทั้งนี้ การจะเป็นโรงงานอัจฉริยะต้องมีดาต้า จึงต้องมีเซนเซอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลเสมือนเป็นการติดตาในโรงานตามจุดต่างๆ เพื่อนำข้อมูลไปใช้กับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)  คาดว่า 5-10 ปีข้างหน้า เครื่องจักรภายในโรงงานจะสามารถสื่อสารกันและแก้ปัญหาเองได้  โดยไม่ต้องผ่านคน ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์จำนวนคนทำงานในโรงงานน้อยลง   นอกจากนี้บริษัทมีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนรายได้ตลาดส่งออกมากขึ้น คาดว่าปีนี้จะอยู่ที่ 12% จากเป้ารายได้รวม และจะเพิ่มเป็น 20% ในอีก 3 ปีข้างหน้า

เราพยายามสร้างการเติบโตจากตลาดส่งออกให้มากขึ้น เพราะปัจจุบันรายได้บริษัท 90% มาจากตลาดภายในประเทศ ซึ่งเรามองว่าตลาดส่งออกมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง มาจากกระแสความนิยมด้านการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเรามีแผนขยายกลุ่มลูกค้าไปยังผลิตภัณฑ์แก้ว High Value เช่น บรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารและเครื่องดื่มราคาแพง เนื่องจากยังมีจำนวนผู้ผลิตอยู่น้อยราย มีกระบวนการผลิตที่ยากและซับซ้อน จำเป็นต้องใช้ความชำนาญสูง”

พลังงานหมุนเวียนวิชั่นใหม่'บีจีซี' กลยุทธ์สร้างรายได้โตคู่ขวดแก้ว

BGC อยุธยา

พลังงานหมุนเวียนวิชั่นใหม่'บีจีซี' กลยุทธ์สร้างรายได้โตคู่ขวดแก้ว

BGC ราชบุรี