‘ผนังกั้นหัวใจรั่ว’ รักษาได้ไม่ต้องผ่าตัด

‘ผนังกั้นหัวใจรั่ว’ รักษาได้ไม่ต้องผ่าตัด

โรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว ถือเป็นภัยเงียบ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวทำให้ขาดการรักษาและปล่อยทิ้งไว้จนเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นอันตรายถึงชีวิต

โรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (Atrial Septal Defect หรือ ASD) เกิดจากความผิดปกติของการ พัฒนาการของหัวใจของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ทำให้การพัฒนาของผนังกั้นหัวใจไม่สมบูรณ์เกิดรูรั่ว ทำให้เลือดแดงไหลจากหัวใจห้องบนซ้ายไปห้องบนขวาและผ่านไปปอด

เพิ่มขึ้นส่งผลให้หัวใจโตผิดปกติและความดันหลอดเลือดแดงปอดสูงกว่าปกติ

จากสถิติของโรคหัวใจแต่กำเนิดพบว่าประมาณ 1 ใน1,000 ของเด็กเกิดใหม่เป็นโรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่วและมักพบในผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชาย 2 เท่า และในช่วงวัยเด็ก

อาจไม่แสดงอาการจนกระทั่งย่างเข้าสู่วัยรุ่นหรือจะมีอาการอีกช่วงตอนเป็นผู้ใหญ่จะมีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติในรายที่เป็นรุนแรงจะมีริมฝีปาก ปลายมือ ปลายเท้า เป็นสีม่วงเพราะมีเลือดดำจากหัวใจห้องขวาบนผ่านทางผนังหัวใจที่รั่วไปปนกับเลือดแดงในหัวใจห้องซ้ายบน ทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำ หัวใจโต จนถึงขั้นมีโอกาสหัวใจล้มเหลวเฉียบพลับและเสียชีวิตได้

นพ.เกรียงไกร  เฮงรัศมี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหัวกรุงเทพ อายุรแพทย์โรคหัวใจ ชำนาญด้านหัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด กล่าวว่า ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เมื่อเป็นผู้ใหญ่และมักมีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่นหรือบางรายมีโอกาสเป็นอัมพาตได้เนื่องมาจากมีลิ่มเลือดจากห้องหัวใจห้องขวาหลุดผ่านผนังที่รั่วไปยังหัวใจห้องบนซ้ายและขึ้นไปยังหลอดเลือดสมองได้ หรือบางรายที่รูรั่วมีขนาดใหญ่และความดันหลอดเลือดแดงปอดสูงมากจะมีอาการเหนื่อยมาก ริมฝีปาก มือและเท้าเขียวหรือม่วง อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หรือบางรายอาจตรวจพบได้จากการตรวจเช็คสุขภาพหัวใจโดยบังเอิญ

‘ผนังกั้นหัวใจรั่ว’ รักษาได้ไม่ต้องผ่าตัด

( ภาพที่ 1 )

"ในรายทีรูรั่วไม่ใหญ่อาจจะไม่มีอาการอะไร แต่ถ้ารูรั่วใหญ่จะมีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติและมีอาการตั้งแต่วัยเด็กเด็กที่เป็นโรคนี้จะป่วยเป็นปอดอักเสบได้บ่อยกว่าเด็กปกติ"

ในส่วนของการตรวจวินิจฉัยโรคนี้สามารถทำได้โดยการฟังเสียงหัวใจและการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจความถี่สูง (Echocardiogram) (ภาพที่ 1 ) เหมือนกับ การตรวจ Ultrasound แต่เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจหัวใจ(Cardiac Echo)ส่งคลื่นเสียงแล้วรับคลื่นเสียงที่สะท้อนออกมาไปแปลเป็นภาพให้เห็นบนจอภาพ ซึ่งจะแสตงถึงรูปร่างขนาดการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ผนังกั้นห้องหัวใจ และลิ้นหัวใจว่าปกติหรือไม่ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้จะเป็นการตรวจเพื่อดูขนาดของห้องหัวใจการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ ภาวะน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ ขนาดช่องหัวใจและเป็นการตรวจมาตรฐานที่ใช้ตรวจหาโรคหัวใจแต่กำเนิดที่อาจเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยง่าย หรือแน่นหน้าอกได้ช่วยให้อายุรแพทย์โรคหัวใจสามารถกำหนดแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง

‘ผนังกั้นหัวใจรั่ว’ รักษาได้ไม่ต้องผ่าตัด

( ภาพที่ 2 )

สำหรับแนวทางการรักษาไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเสมอไป ในรายที่มีลักษณะรูรั่วที่มีกายวิภาคที่เหมาะสมแพทย์สามารถทำการรักษาด้วยเทคนิคสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด(Transcatheter ASD Closure)โดยนำอุปกรณ์ที่เป็นโลหะ(นิกเกิลผสมไทเทเนียม)(ภาพที่2)เข้าไปปิดรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจผ่านทางสายสวนหัวใจ โดยนำเข้าทางหลอดเลือดดำที่บริเวณขาหนีบ เมื่อถึงบริเวณรูรั่วอุปกรณ์จะถูกปล่อยไปวางยังตำแหน่งรูรั่วเพื่อปิดรูที่รั่ว หลังจากนั้นร่างกายจะค่อยๆสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาคลุมภายใน 3 – 6 เดือน

นพ.เกรียงไกร กล่าวว่าข้อดีของการรักษาด้วยเทคนิค สายสวนคือ ผู้ป่วยไม่ด้องดมยาสลบ ให้ยาชาเฉพาะที่โดย การฉีดยาชาบริเวณขาหนีบบริเวณที่จะเจาะเส้นเลือดเพื่อใส่สายสนและอุปกรณ์ ใช้เวลาในการทำหัตถการครึ่งถึง 1ชั่วโมง หลังทำการรักษาผู้ป่วยต้องนอนในโรงพยาบาล 2 วัน ลดความเสี่ยงลดความเจ็บปวดและผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัด แผลบริเวณขาหนีบมีขนาดเล็ก ใช้เวลาพักพื้น 48 ชั่วโมง ทำให้ผู้ป่วยพื้นตัวได้เร็ว จากข้อมูลพบว่าผลสำเร็จการรักษาโดยเทคนิคสายสวนนี้สามารถปิดรูรั่วได้ 98% และ พบภาวะแหรกซ้อนได้น้อยกว่า 2%

หลังจากนั้นก่อนกลับบ้านแพทย์จะตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูงอีกครั้ง และหลังการรักษาแพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจติดตามอาการและตรวจ Echo เป็นระยะๆ เริ่มจาก 1 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี ข้อแนะนำหลังการใส่อุปกรณ์อุดรูรั่วคือผู้ป่วยห้ามยกของหนัก 1 เดือน งดออกกำลังกายหนักๆในช่วงระยะ3 เดือนแรก รับประทานยา ต้านเกล็ดเลือดตามที่แพทย์สั่งประมาณ 3-6 เดือน รวมถึงกินยาป้องกันการติดเชื้อในช่วง6 เดือนแรกและสำหรับ ผู้หญิงวัยเจริญพันธ์แนะนำให้คุมกำเนิดเป็นเวลา 1 ปีหลังการปิดรูรั่ว

อย่างไรก็ตามการรักษาโรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่วด้วยเทคนิคสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดไม่สามารถทำได้ทุกราย ขึ้นอยู่กับขนาดลักษณะกายวิภาคและพยาธิสภาพของรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจของผู้ป่วยแต่ละราย อาทิ หากรูที่รัวมีขนาดมากกว่า 36 มิลลิเมตรหรือมีรูรั่วหลายรู ในรายที่มีโรคหัวใจอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ลิ้นหัวใจรั่วต้องพิจารณาร่วมกับศัลยแพทย์ทรวงอกเพื่อผ่าตัดรักษาต่อไปสำหรับในรายที่มีความดันในหลอดเลือดแดงปอด สูงมากและมีภาวะเขียวหรือม่วงบริเวณริมฝีปากมือและเท้าเขียวต้องรักษาโดยการให้ยาประดับประคองเท่านั้น

การรักษาด้วยเทคนิคสายสวนปิดผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่วโดยไม่ต้องผ่าตัด ใช้ในผู้ป่วยที่มีรอยโรคที่เหมาะสม โดยทีมแพทย์หัวใจที่มีความชำนาญและประสบการณ์ รวมทั้งความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์และห้องปฏิบัติการตรวจสวนหัวใจทำให้มีอัตราความสำเร็จสูงและผลแทรกซ้อนน้อยล่าสุดมูลนิธิเวชดุสิต ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยการกำกับดูแลของบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการจำกัด (มหาชน) ร่วมกับโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ได้จัดทำโครงการรักษาให้ผู้ป่วยโรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่วที่มีอาการผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดตามดุลพินิจของแพทย์ จำนวน 14 รายฟรี ดำเนินการไปแล้ว 7 รายซึ่งหลักเกณฑ์การพิจารณาผู้เข้าโครงการคือผู้ป่วยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมถึงต้องรอคอยการรักษาที่โรงพยาบาลอื่นเป็นระยะเวลานาน สำหรับผู้ป่วยที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถสอบรายละเอียดได้ที่ สายด่วนรพ.หัวใจกรุงเทพโทร. 089-814-7064