ฉันทามติ เป็นกุญแจสำคัญเพื่อคว้าชัยชนะร่วมกันระหว่างอาเซียนกับประเทศจีน

ฉันทามติ เป็นกุญแจสำคัญเพื่อคว้าชัยชนะร่วมกันระหว่างอาเซียนกับประเทศจีน

การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 35 และการประชุมเวทีความร่วมมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ถือเป็นกิจกรรมครั้งใหญ่ที่สำคัญและเป็นครั้งสุดท้ายสำหรับรอบการเป็นประธานอาเซียนในรอบนี้ของประเทศไทย กลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN) ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 1967 และพัฒนาจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยประเทศสมาชิกรวม 10 ประเทศ ครอบคลุมประชากรในภูมิภาคนี้ 642 ล้านคน ถือเป็นประชาคมแห่งแรกในประวัติศาสตร์ของเอเชีย ท่านหลี่เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้แถลงในบทความพิเศษที่นำมาตีพิมพ์ในสื่อหนังสือพิมพ์ไทยก่อนการเปิดประชุมว่า ประชาคมที่เปี่ยมด้วยพลังแห่งชีวิตนี้ ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ สิ่งมหัศจรรย์แห่งอาเซียน” ที่ได้รับการชื่นชมจากทุกฝ่าย ซึ่ง สิ่งมหัศจรรย์แห่งอาเซียนนี้” ถือเป็นการสรุปและยกย่องในผลงานตลอด 52 ปีในการพัฒนาของอาเซียน สิ่งมหัศจรรย์” หมายถึงภูมิภาคอาเซียนที่ประกอบด้วยประเทศต่างๆ ที่เคยประสบปัญหาความวุ่นวายและสงครามภายใน พร้อมด้วยความยากจนและสังคมที่ล้าหลังอย่างหนัก แต่เมื่อมีการจับมือกัน ก็ทำให้อาเซียนสามารถก้าวไปสู่สันติภาพอย่างมั่นคง และกำลังเกิดความเจริญพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้กลายเป็นภูมิภาคที่เปี่ยมด้วยความหวังใหม่ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่ประเทศในเอเชียและทั่วโลกต่างฝากความคาดหวังสูงไว้

ความมหัศจรรย์ของการพัฒนาอาเซียน ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญหรือพลังลี้ลับ หากแต่เกิดขึ้นจากความร่วมแรงร่วมใจซึ่งกันและกันของประชาชนในทุกๆ ประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งสามารถสร้างสรรค์ประชาคมร่วมในระดับอนุภูมิภาคที่มีกลไกความร่วมมืออันสามารถก้าวข้ามความแตกต่างด้านระบอบการเมืองการปกครอง ความเชื่อทางศาสนาและความแตกต่างด้านวัฒนธรรมชาติพันธุ์ที่หลากหลาย โดยมีเสาหลักที่ค้ำจุนการพัฒนาของภูมิภาคนี้ นั่นก็คือ ฉันทามติ” สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า สิ่งมหัศจรรย์นี้เกิดขึ้นด้วยการรวบรวมฉันทามติมากมายหลายๆ ด้าน
อันมีจำนวนมากจนนับไม่ถ้วน โดยฉันทามติเหล่านี้ เกิดขึ้นจากการเจรจาหารือตกลงกันและการร่วมมือกันในระดับชาติและระดับประชาชน อันก่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ถ้าหากเปลี่ยนมามองอีกมุมมองหนึ่ง ขณะที่เริ่มต้นก่อตั้งประชาคมอาเซียน ถึงแม้ว่าได้ศึกษาประสบการณ์ของสหภาพยุโรป แต่ในภาคปฏิบัติได้ก่อเกิดรูปแบบการพัฒนาประชาคมร่วมกันอย่างค่อยเป็นค่อยไป อันที่เป็นรูปแบบเฉพาะของชาติตะวันออก ทำให้อาเซียนไม่ได้มีรูปแบบโครงสร้างเหมือนรัฐสภาพที่เต็มไปด้วยการอภิปรายโต้แย้งและจิตวิญญาณของนักสู้ หากแต่มีรูปแบบคล้ายกับร้านน้ำชา
ของประเทศจีนหรือร้านกาแฟริมถนนในกรุงเทพ ชาติสมาชิกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเพื่อนๆ ที่เป็นประเทศภาคีความร่วมมือต่างๆ สามารถเข้ามานั่งพูดคุยหารือกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ

อาเซียนแต่เดิมคือ สหภาพเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961 เป็นผลลัพธ์หนึ่งที่เกิดขึ้นจากสงครามเย็น เมื่อก่อตั้งขึ้นไม่นาน ประเทศสมาชิกที่สำคัญต่างๆ เริ่มมีปัญหาความขัดแย้งด้านพรมแดนและอำนาจอธิปไตย ทำให้องค์กรนี้แทบจะเป็นอัมพาต ในที่สุดก็เลือนหายไปพร้อมๆ กับกาลเวลา หลังจากนั้น รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของ 5 ชาติ ประกอบด้วยประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียน รวม 5 ประเทศได้ร่วมกันบรรลุฉันทามติใหม่ในปี ค.ศ. 1967 พร้อมทั้งได้ลงนามข้อตกลง ปฏิญญากรุงเทพ” สถาปนาก่อเกิดสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน) และพัฒนาจนมาถึงปัจจุบัน ศิลารากฐานสำคัญในการก่อตั้งอาเซียนหรือฉันทามติแห่งอาเซียนคือ “เคารพในอำนาจอธิปไตยซึ่งกันและกัน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ไม่แทรกแซงกิจการภายใน ไม่ใช้กำลังการทหารในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากันในระดับภูมิภาคอันเนื่อง
มาจากปัญหาความสัมพันธ์ทวิภาคี มุ่งใช้กลไกการร่วมกันเจรจาหารือเพื่อข้อยุติที่ทุกฝ่ายสามารถยอมรับได้ แก้ไขปัญหาที่มีความละเอียดอ่อนด้วยความระมัดระวัง” ซึ่งฉันทามตินี้ได้ขับดันให้อาเซียนกลายเป็นเวทีที่มีกลไกอย่างมีประสิทธิภาพในการประสานงานแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในระหว่างประเทศภาคีสมาชิก ขณะเดียวกัน ยังได้ผลักดันให้อาเซียนสามารถมีปากมีเสียงเพิ่มขึ้น อันเป็นการแสดงบทบาทต่อรองที่สำคัญและไม่อาจมองข้ามได้ในเวทีแห่งกิจกรรมระหว่างประเทศ

ถ้าหากมองในมุมมองของหลักการยุทธศาสตร์บริหารประเทศของท่านสีจิ้นผิง ซึ่งเป็นผู้นำประเทศสูงสุดของประเทศจีน ประวัติศาสตร์การพัฒนาของอาเซียนที่จริงก็คือกระบวนการหนึ่งที่ใช้สร้างสรรค์ประชาคมร่วมผลประโยชน์ ประชาคมร่วมหน้าที่ความรับผิดชอบและประชาคมร่วมโชคชะตากรรมแห่งมวลมนุษยชาติ ซึ่งหลักคิดนี้สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือเรื่อง “สีจิ้นผิง - ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ” หนังสือเล่มนี้ได้บันทึกหลักคิดสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ รวมถึงการพินิจวิเคราะห์ต่ออาเซียนและประชาคมร่วมโชคชะตากรรมระหว่างจีน-อาเซียนในมุมมองของท่านสีจิ้นผิง ท่านจึงเสนอว่า “ความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นในรูปแบบประชาคมร่วมโชคชะตากรรมระหว่างจีนกับอาเซียน สอดคล้องกับกระแสแห่งยุคสมัยที่มุ่งเน้นการสร้างสันติภาพ แสวงหาการพัฒนา กระตุ้นให้เกิดการ่วมมือกันเพื่อคว้าชัยชนะร่วมกัน รวมถึงสอดคล้องกับหลักผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชนในทวีปเอเชียและทั่วโลก เป็นความสัมพันธ์ที่เปี่ยมด้วยโอกาสอันกว้างใหญ่และศักยภาพในการพัฒนา” หลักคิดการสร้างสรรค์ประชาคมร่วมของท่านสีจิ้นผิง ได้นำเอาฉันทามติของประชาคมอาเซียนมาทำการวิเคราะห์แบบแยกย่อย และในความเป็นจริงก็ได้สรุปเป็น 3 ระดับชั้นของประชาคมร่วมหลักๆ ที่มีความสำคัญ

ก่อนอื่นคือ ประชาคมร่วมผลประโยชน์” ซึ่งรวมถึงกลไกเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ข้อตกลงเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนฉบับยกระดับซึ่งเป็นฉบับล่าสุด และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)ที่อยู่ในระหว่างการขับเคลื่อน ซึ่งข้อตกลงเชิงฉันทามติเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะช่วยกระตุ้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการค้าการลงทุนภายในกลุ่มประเทศอาเซียนเท่านั้น ยังช่วยผลักดันให้เกิดกิจกรรมความร่วมมือภาคเศรษฐกิจการค้าระหว่างอาเซียนกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ การสร้างสรรค์ประชาคมที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน สอดคล้องกับสภาพภูมิหลังของอาเซียนที่ประเทศต่างๆ มีความหลากหลาย ขณะเดียวกันก็เป็นกระแสแนวโน้มที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนภายใต้ลักษณะการค้าเสรีและกระแสโลกาภิวัฒน์ อันทำให้เกิดการเกลื้อหนุนเสริมเติมจุดแข็งทางเศรษฐกิจซึ่งกันและกันในบรรดาประเทศอาเซียนที่มีพื้นฐานทางทรัพยากรที่แตกต่างกัน และขณะเดียวกัน เนื่องด้วยสภาพการพัฒนาที่ยังคงล้าหลัง ด้วยสถานการณ์โลกที่มีความสลับซับซ้อน และด้วยโครงสร้างเศรษฐกิจของบรรดาประเทศอาเซียนที่เน้นพึ่งพาการส่งออกอย่างหนัก ทำให้ประเทศอาเซียนมีความต้องการอำนาจต่อรองในเวทีโลกมากกว่าประเทศอื่นๆ
ในภูมิภาคใดๆ ในโลก ดังนั้น การก่อเกิดประชาคมร่วมผลประโยชน์ที่มีฉันทามติร่วมกันได้กลายเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างสรรค์ประชาคมร่วมในระดับภูมิภาคของอาเซียน พร้อมทั้งได้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดฉันทามติใหม่ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อประเทศอาเซียน อันจะขับเคลื่อนการพัฒนาของภูมิภาคนี้ต่อไป

ประการที่ 2 คือ ประชาคมร่วมแห่งหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกัน” การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 35 และการประชุมเวทีความร่วมมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็คือกลไกที่นำไปสู่การบรรลุฉันทามติ พร้อมทั้งใช้ฉันทามติเหล่านี้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศในกลุ่มอาเซียนและประเทศอื่นๆ ที่เป็นภาคีความร่วมมือกับอาเซียน ทำให้เกิดการพัฒนาร่วมกันในภูมิภาคนี้ ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน-จีนครั้งที่ 22 หรือ ASEAN+1 (The 22nd ASEAN-China Summit) ท่านหลี่เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีของประเทศจีนได้กล่าวย้ำว่า ประเทศจีนสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตาม “ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้” (Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea: DOC) ภายในปี ค.ศ. 2021 ซึ่งจะเป็นหนึ่งฉันทามติที่ผลักดันให้มีการพัฒนาอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว อันเกิดขึ้นจากเวทีความร่วมมือระหว่างจีนกับอาเซียน ซึ่งเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้

และประการสุดท้ายคือ ประชาคมร่วมโชคชะตากรรม” โดยในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน+3 ครั้งที่ 22 (22nd Asean plus Three Summit) ท่านหลี่เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีของประเทศจีนได้ย้อนมองไปในอดีต การก่อเกิดกลไกเวทีความร่วมมืออาเซียน+3 นั้น เกิดขึ้นเนื่อจากเกิดวิกฤตการณ์การเงิน พร้อมทั้งเป็นที่ยืนยันแล้วว่า เศรษฐกิจโลกได้อยู่ในช่วงการเจริญเติบโตอย่างเชื่องช้า ปัญหาลัทธิปกป้องทางการค้าถูกนำมาใช้เพิ่มขึ้น อันเป็นสถานการณ์ภูมิหลังในปัจจุบัน ดังนั้น การเน้นย้ำความร่วมมือภายใต้เวที 10+3 จะเกิดเป็นสมการใหม่ที่ช่วยให้ประเทศต่างๆ ในกลไก 10+3 เกิดภูมิคุ้มกันในการต่อต้านภัยคุกคามที่ท้าทายต่างๆ พร้อมทั้งขยายขอบข่ายแห่งการพัฒนา เห็นได้จากถ้อยแถลงผลสำเร็จของการประชุมอาเซียน10+3 ระบุว่าการประชุมอาเซียน 10+3 ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง เพราะ 15 ประเทศภาคีสมาชิกของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ได้ดำเนินการเจรจาในชั้นเอกสารสำเร็จลงทั้งหมดแล้ว รวมถึงขั้นตอนการเจรจาเพื่อเปิดตลาดซึ่งกันและกัน ซึ่งจะมีการอนุญาตให้นำสินค้าเข้าไปค้าขายอย่างแท้จริงในตลาดระหว่างประเทศภาคีสมาชิก ก็ได้เจรจาเสร็จสิ้นทั้งหมด ประเทศจีนสนับสนุนการแถลง “ถ้อยแถลงความริเริ่มเสริมสร้างความเชื่อมโยงใหม่” ซึ่งจะต้องมีการร่วมกันสร้างระเบียงพัฒนาเศรษฐกิจ นิคมอุตสาหกรรมใหม่เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจการค้า และเร่งมือร่วมกันกำหนดกติกาใหม่ด้านการพัฒนาตลาด พร้อมทั้งการกำหนดมาตรฐาน “Soft Link” ซึ่งต้องเสริมสร้างการร่วมมือซึ่งกันและกันต่อไป ประเทศจีนยินดีที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี 2030 ที่กำหนดโดยสหประชาชาติ ร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์แห่งการพัฒนากับประเทศต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือ “ความริเริ่มความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจนในภูมิภาคเอเชียตะวันออก”

ถ้าหากย้อนมองประวัติศาสตร์จะเห็นว่า การพัฒนาอย่างรวดเร็วของบรรดาประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นระหว่างประเทศจีนกับภูมิภาคอาเซียนนั้น ทำให้อาเซียนมีบทบาทที่สำคัญในเวทีระดับภูมิภาค อันเป็นบทบาทที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การแทรกแซงของประเทศมหาอำนาจจากภายนอกส่งผลกระทบที่ลดน้อยลงต่อการพัฒนาของประเทศต่างๆ ในอาเซียน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ควรกลายเป็นกระดานหมากรุกที่ชาติมหาอำนาจใช้ในการต่อกรอำนาจกัน การขับเคลื่อนความร่วมมือและการพัฒนาร่วมกัน ต่อต้าน
เกมส์ผลรวมเป็นศูนย์ ทุกฝ่ายควรเร่งขับเคลื่อนกระบวนการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ให้เสร็จสิ้นเรียบร้อยโดยเร็ว เพื่อยกระดับความเป็นหนึ่งเดียวของตลาดเศรษฐกิจภูมิภาค ปัจจุบันอาเซียนได้กลายเป็นจุดศูนย์กลางในการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ทุกประเทศเฝ้าจับตามอง ประเทศจีนกับอาเซียนจะยังคงรักษาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าต่อไปอย่างแน่นแฟ้นและยาวนาน ในลักษณะเกลื้อกูลผลประโยชน์ซึ่งกันและกันสู่การคว้าชัยชนะร่วมกัน ประเทศอาเซียนควรที่จะหยิบฉวยโอกาสที่มีความสำคัญในการสร้างการพัฒนานี้ ด้วยการสร้างสรรค์ฉันทามติร่วมกันระหว่างอาเซียนกับประเทศจีน ร่วมกันผลักดันให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดการพัฒนาในทุกๆ มิติอย่างรอบด้าน

 

ดร. ธารากร วุฒิสถิรกูล 

รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย – จีน