บทบาทประเทศไทยในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 52

บทบาทประเทศไทยในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 52

 

การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน  (ASEAN Foreign Ministers’ Meeting: AMM)  ครั้งที่ 52   จัดระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2562  ณ ประเทศไทย  ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในรวมตัวของกลุ่มอาเซี่ยน  และได้ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปีปัจุบันนี้  เลยทำให้ประเทศไทยความคืบหน้าในการดำเนินการของอาเซียนตามแนวคิด “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของไทย   ขณะที่ การประชุมยังได้พิจารณาร่างเนื้อหาการจัดทำ ประมวลการปฏิบัติในทะเลจีนใต้อันเป็นฉบับแรก ชึ่งมีความสำคัญทางด้านความมั่นคงต่อภูมิภาคเอเชีย  บทบาของประเทศไทยในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งนี้ มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ

บทบาทด้านเศรษฐกิจ

การประชุมประกอบด้วยประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจา 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และ สาธารณรัฐุเกาหลี ที่ประชุมได้ร่วมกันกำหนดทิศทางความสัมพันธ์และความร่วมมือในกรอบอาเซียนบวกสาม และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศที่เป็นข้อห่วงกังวลร่วมกัน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ ที่ประชุมเห็นพ้องว่ากรอบอาเซียนบวกสามเป็นกรอบความร่วมมือที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดกรอบหนึ่งของภูมิภาค และได้สนับสนุนการส่งเสริมความร่วมมือด้านความเชื่อมโยงในภูมิภาค การเติบโตและการรวมตัวทางเศรษฐกิจ ไทยได้ผลักดันการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก การเสริมสร้างความเชื่อมโยงที่ไร้รอยต่อในภูมิภาคเอเชียตะวันออก การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมใหม่ ๆ สนับสนุนให้ประเทศบวกสามเพิ่มปริมาณการค้าและการลงทุนในอาเซียน โดยใช้ประโยชน์จากการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวของประชาคมอาเซียน และการส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการเงิน และความมั่นคงทางอาหาร

นอกจากนี้ประเทศไทยยังได้ผลักดันการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership – RCEP) (ประกอบด้วย อาเซียน ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์)  ให้สำเร็จภายในปีนี้ โดยถ้าสามารถผลักดัน RCEP ได้สำเร็จจะแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการรวมตัวทางการค้าเสรีแบบพหุภาคีที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการค้าเสรีโลกที่กำลังถูกบั่นทอนจากสงครามการค้าในขณะนี้ เนื่องจากประชากรในกลุ่ม RCEP มีประชากรมากกว่า 3,560 ล้านคน หรือเกือบครึ่งหนึ่งของประชาการโลก รวมทั้งมีมูลค่าการค้ารวมกว่า 10.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 29% ของมูลค่าการค้าโลก สำหรับมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับ RCEP พบว่าในปี 2018 มีมูลค่าการค้ารวมประมาณ 2.9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 59.7% ของการค้าไทย และขยายตัวจากปี 2560 ถึง 12.6% โดยผลที่จะตามมาถ้าสามารถบรรลุข้อตกลง RCEP  คือในระยะเริ่มแรก ประเทศ Plus 6 ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ จะได้ประโยชน์ในการเข้าถึงตลาดของกันและกัน จากเดิมที่ไม่เคยมี FTA ร่วมกันมาก่อน แต่สำหรับประเทศไทยนั้น อาจได้ประโยชน์จากการลดกำแพงภาษีของ RCEP ค่อนข้างน้อย เนื่องจากไทยได้เปิดเสรีการค้า หรือ FTA กับ 16 ประเทศในกลุ่ม RCEP ไปแล้ว อย่างไรก็ตามประเทศไทยจะได้รับผลประโยชน์ทางอ้อมจากการที่ สินค้าไทยเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่การผลิตของประเทศต่างๆ ในกลุ่ม RCEP  กล่าวคือถ้าประเทศในกลุ่มมีการค้ากันมากขึ้น จะส่งผลให้มีการนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบจากไทยมากขึ้นตามไปด้วยจากการเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิต ซึ่งจะส่งผลให้การค้าของไทยกับประเทศในกลุ่ม RCEP เพิ่มมากขึ้น ส่วนในระยะต่อไป RCEP จะทำให้เกิดการจัดสรรการผลิตและการลงทุนในภูมิภาคครั้งใหม่ ซึ่งจะเป็นสิ่งท้าทายสำคัญของประเทศไทยที่ต้องเร่งหาวิธีสร้างแรงดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการต่อยอดจากการลงทุนในอุตสาหกรรมดั้งเดิมไปสู่เทคโนโลยีใหม่ รวมทั้งผลักดันการลงทุนระลอกใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีแห่งอนาคตให้เกิดขึ้นได้อย่างจริงจัง ก่อนที่ไทยจะสูญเสียโอกาสเหล่านี้ไป นอกจากประเด็นการผลักดัน RCEP ในสำเร็จภายในปีนี้  ยังจะมีประเด็นเกี่ยวกับการส่งเสริมความเชื่อมโยงและความยั่งยืนทางการเงิน การเสริมสร้างเศรษฐกิจอาเซียนสำหรับยุคดิจิทัล และเศรษฐกิจอาเซียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้ไทยสามารถการขยายโอกาสการค้าการลงทุนของไทยในอาเซียนและประเทศคู่เจรจา การอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าไทยไปต่างประเทศและการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ การอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจไทยได้ค้าขาย ในสกุลเงินท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

บทบาทด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

กลุ่มประเทศ EU กับการประชุม  ARF  จะเน้นการหารือประเด็นร้อนๆ ที่อยู่ในความสนใจของนานาประเทศ อาทิ สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี  ก่อการร้ายระหว่างประเทศ และความมั่นคงทางไซเบอร์ ที่อาจหมายรวมถึงเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก (Disruptive technologies) กำลังเป็นประเด็นให้ทุกประเทศได้ตั้งรับและปรับตัวต่อผลกระทบของเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป

การประชุมรัฐมนตรีข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Initiative - LMI) กับสหรัฐฯ ครั้งที่12 การประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง-คงคา กับอินเดีย ครั้งที่ 10 การประชุมระดับรัฐมนตรีประเทศลุ่มแม่น้ำโขงกับเกาหลีใต้ ครั้งที่ 9 และการประชุมรัฐมนตรีประเทศลุ่มแม่น้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 12 โดยทั้ง 4 เวที ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นหารือถึงแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นที่ให้เกิดการเชื่อมพื้นที่ใน อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง รวมไปถึงจะหารือสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ ที่นำไปสู่การรับมือต่อการแก้ไขปัญหาที่อาจมีผลต่อปริมาณน้ำและภัยแล้งในพื้นที่ของอนุภูมิภาค

บทบาทที่สำคัญในประเด็นนี้ไทยส่งเสริมแนวคิด “ความมั่นคงที่ยั่งยืน” ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการประเด็นข้ามชายแดน และการส่งเสริมความมั่นคงทางไซเบอร์ ผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ คือ ความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียน และกับประเทศคู่เจรจา และภาคีภายนอก ในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ อาทิ การค้ามนุษย์ การค้ายาเสพติด และ ภัยคุกคามทาง ไซเบอร์

ส่วนกรณีข้อพิพาททะเลจีนใต้อันเป็นความขัดแย้งระหว่างจีนกับประเทศในอาเซี่ยนที่สำคัญคือฟิลิปินส์ เวียดนาม อันเป็นคู่ขัดแย้งที่สำคัญรัฐบาลไทยได้เสนอให้ไทยเป็นเวทีกลางในการเจรจายุติความขัดแย้งนับว่าเป็นบทบาทที่โดดเด่นประกอปรไทยในฐานะประเทศมหามิตรของจีนจึงนับว่าเป็นย่างก้าวที่โดดเด่นอย่างยิ่ง

ซึ่งนาย หวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนก็เข้าร่วมการประชม ได้ระบุชัดแจ้งว่า การพิจารณาร่างเนื้อหาประมวลการปฏิบัติในทะเลจีนใต้นับเป็นรากฐานสำคัญในการบรรลุข้อกำหนดในภูมิภาคอาเซียน   ประเทศจีนให้ความสำคัญกับอาเซียน ซึ่งประเทศจีนกับอาเซี่ยนมี ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ในอนาคตก็จะทำงานร่วมมือแก้ปัญญากัน

นอกจากนี้ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมกันเปิดตัวคลังเก็บสิ่งของช่วยเหลือทางไกลของอาเซียน ภายใต้โครงการจัดตั้งระบบโลจิสติกส์ฉุกเฉินสำหรับใช้ในกรณีเกิดภัยพิบัติของอาเซียน ที่เรียกว่าศูนย์เดลซ่า (DELSA) และดำเนินการยกระดับศูนย์แพทย์ทหารอาเซียนเป็นองค์กรของอาเซียนอย่างเป็นทางการ รวมไปถึงร่วมรับรองปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน

บทบาทด้านสังคมและวัฒนธรรม

ประเทศไทยผลักดันประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการจัดการปัญหาขยะทะเล นอกจากนี้ ไทยยังกำหนดให้ปี พ.ศ.2562 เป็นปีแห่งวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Cultural Year) ภายใต้แนวคิด “หลากหลาย สร้างสรรค์ ยั่งยืน” หรือ “Diversity, Creativity, Sustainability” และส่งเสริมความร่วมมือในด้านแรงงาน สิทธิสตรีและเด็ก ตลอดจนสวัสดิการสังคมและการพัฒนา ผลประโยชน์ที่ไทยได้รับ คือ ความร่วมมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการลดขยะทะเลและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน การส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย สิทธิแรงงานสิทธิสตรี และสิทธิเด็กของไทยในประชาคมอาเซียน

ไทยในฐานะประธานอาเซียนมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความมั่นคงที่ยั่งยืน และรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียนในการขับเคลื่อนความร่วมมือกับประเทศนอกภูมิภาค รวมทั้งผลักดันบทบาทที่สร้างสรรค์ของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในภูมิภาค เช่น การรักษาสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ในทะเลจีนใต้ ที่ล้วนแต่เป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาคมโลก

ไทยควรจับมือกับประเทศอาเซี่ยนและประเทศจีน   เดินหน้าสนับสนุนการจัดตั้งเขตการค้าเสรี และผลักดันความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ให้บรรลุผลสำเร็จได้ภายในปี 2562  โดยมุ่งผลักดันความร่วมมือและการดำเนินงานบนพื้นฐาน ผลประโยชน์ของประชาชนอาเซียน 650 ล้านคน เกี่ยวกับปัญหาท้าทายจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 และความจำเป็นที่จะต้องขับเคลื่อนอาเซียนในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ซึ่งกระตุ้นให้อาเซียนต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เพิ่มพูนการบูรณาการด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ และเสริมสร้างความมั่นคงด้านไซเบอร์ การส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการค้า ด้านการเงิน และความมั่นคง ด้านทางอาหารเป็นต้น ฯลฯ

โดย.... 

ดร. ธารากร วุฒิสถิรกูล
รองผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไทย-จีน (CTC)