โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี จุดสมดุลตัวอย่างของธุรกิจและความยั่งยืนบนน้ำโขง

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี จุดสมดุลตัวอย่างของธุรกิจและความยั่งยืนบนน้ำโขง

 

หากพูดถึงแม่น้ำโขงแล้วไม่พูดถึงเรื่องปลา คงไม่ได้ เพราะปลาเป็นเรื่องปากท้อง เรื่องอาชีพของ คนริมฝั่งโขง นอกจากนี้ การเกษตร การเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืช ยังถือเป็นกิจกรรมหลักทางเศรษฐกิจของผู้คน ในลุ่มน้ำ รวมทั้งเป็นเส้นทางขนส่งและเดินทาง ผู้คนต่างต้องหาเลี้ยงตัวเองจากงานที่เกี่ยวข้องกับ ทรัพยากรของแม่น้ำโขงเป็นหลัก ดังนั้น บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP บริษัท ด้านพลังงานรายใหญ่ของไทย ผู้ได้รับสัมปทานจาก สปป.ลาว สร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ที่มีกำลังการผลิต ติดตั้งถึง 1,285 เมกะวัตต์ ข้ามลำน้ำโขง ในรูปแบบใหม่ ที่มีระบบทางปลาผ่าน และระบบรักษาสิ่งแวดล้อม ที่ทันสมัย รวบรวมเอาเทคโนโลยีจากทั่วโลกมาใช้ ออกแบบโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ดูจะเข้าใจปลาและเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในลำน้ำโขงตอนล่างแห่งนี้ โดยใช้เงินลงทุนถึง 1.9 หมื่นล้านบาท ในการก่อสร้าง ระบบทางปลาผ่าน และระบบรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งหมด

นายอานุภาพ วงศ์ละคร รองกรรมการผู้จัดการ งานเดินเครื่องและบำรุงรักษา บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด เปิดเผยว่า CKPower พร้อมด้วยทีมวิศวกร สิ่งแวดล้อม ผู้ชำนาญการด้านประมง รวมทั้งชาว ประมงท้องถิ่น และทีมที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้าน พฤติกรรมปลาในสาขาต่างๆ ดำเนินการศึกษาเก็บข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบในขั้นรายละเอียดของ ระบบทางปลาผ่าน โดยเป็นระบบทางปลาผ่านแบบผสม ซึ่งประกอบด้วยช่องทางปลาเข้าที่มีหลายช่องทาง ทางปลาผ่าน และ ช่องยกระดับปลา ซึ่งเป็นระบบทาง ปลาผ่านที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพฤติกรรมปลา ในลำน้ำโขง ขณะนี้การก่อสร้างระบบทางปลาผ่าน อยู่ในขั้นตอนทดลองใช้ระบบ ซึ่งให้ผลออกมา เป็นที่น่าพึ่งพอใจ

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี จุดสมดุลตัวอย่างของธุรกิจและความยั่งยืนบนน้ำโขง

โดย นักวิชาการประมงศึกษาวงจรชีวิตของปลา พบว่า ปลามีการอพยพทั้งตามน้ำและทวนน้ำขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในวงจรชีวิต ปลาที่ตัวโตเต็มวัย ในลำน้ำโขงเมื่อถึงฤดูวางไข่ ปลาจะมีพฤติกรรม ว่ายทวนน้ำย้ายจากแหล่ง ที่อยู่เดิมเพื่อไปยังแม่น้ำ สาขาต่างๆในลำน้ำโขงหากระแสน้ำที่สงบนิ่ง ในการวางไข่ ก่อนที่จะกลายเป็นลูกปลาที่มีความแข็งแรง จึงเริ่มการว่ายเข้าสู่ลำน้ำสายหลัก นั่นคือแม่น้ำโขง ที่มีกระแสน้ำที่ไหลแรง และเต็มไปด้วยแหล่งอาหาร ของปลาโตเต็มวัย

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี จุดสมดุลตัวอย่างของธุรกิจและความยั่งยืนบนน้ำโขง

กล่าวคือ ปลาอพยพทวนน้ำ จะมีปฏิบัติการ น้ำล่อปลา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบการ ดึงดูดให้ปลา เข้ามายังระบบทางปลาผ่านช่องทางต่างๆ ของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี จากทางท้ายน้ำโดยมี การเชื่อมต่อไปยังช่องยกระดับปลา Fish Lock โดยที่ ปลาแทบจะไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยงแปลงในระหว่าง กระบวนการยกระดับน้ำเพื่อเข้าสู่ช่องทางออกสู่คลอง ส่งปลาด้านบน ที่ตกแต่งด้วยหินถมให้ใกล้เคียง กับธรรมชาติ ทำให้ฝูงปลาว่ายสู่ลำน้ำโขงด้านเหนือน้ำไปได้ สำหรับปลาที่ว่ายตามกระแสน้ำมาพร้อมกับ แนวคิด The Transparent Power Plant ออกแบบให้ ฝูงปลาตัวโตเต็มวัย รวมทั้งลูกปลา ไข่ปลา สามารถ ผ่านโครงสร้างของโรงไฟฟ้าไปตามกระแสน้ำได้ตลอด ทั้งแนวโครงสร้าง เสมือนว่าโครงสร้างโรงไฟฟ้า ไม่ได้ เป็นสิ่งกีดขวางในช่องทางการว่ายตามกระแสน้ำเลย ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ ของคณะกรรมาธิการ แม่น้ำโขง (MRC) ให้มีลักษณะเป็นฝายทดน้ำขนาดใหญ่ ที่ไม่มีการกักเก็บน้ำไว้เลย มวลทั้งหมดของน้ำรวมทั้ง ตะกอนขนาดต่างๆ สามารถไหลผ่านโครงสร้าง โรงไฟฟ้าไปได้ทั้งหมดและแน่นอนว่า นั่นหมายถึง การเดินทางของฝูงปลาด้วย

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี จุดสมดุลตัวอย่างของธุรกิจและความยั่งยืนบนน้ำโขง

นอกจากนี้ ยังใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้ารอบต่ำซึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารอบต่ำแบบนี้จะใช้งบลงทุนสูง กว่าแบบปกติอยู่มาก แต่ก็เป็นระบบที่ดีที่สุดสำหรับ ปลา เพระนอกจากจะมีความเร็วรอบต่ำแล้ว ยังมีช่องว่าง ระหว่างใบพัดกังหันน้ำขนาดใหญ่ ที่ปลาสามารถ ว่ายผ่านไปได้

ในส่วนของการอำนวยความสะดวกในการสัญจร ทางน้ำนั้น ในปัจจุบันแม่น้ำโขงเป็นเสมือนเส้นเลือด หลักหล่อเลี้ยงผู้คนริมฝั่งโขง เป็นทั้งแหล่งอาหาร เป็นเส้นทางขนส่งและการเดินทางมาเป็นเวลานาน มีทั้งเรือเล็กของชาวบ้าน เรือใหญ่ขนส่งสินค้ามาจาก จีน รวมไปถึงเรือท่องเที่ยวที่กลายมาเป็นเส้นทางเดิน เรือยอดนิยมในปัจจุบัน ในช่วงฤดูแล้งระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดต่ำลง แก่งหินในลำน้ำโขง เป็นอุปสรรค ต่อการเดินเรือและการสัญจรทางน้ำโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง แถวๆบริเวณโครงการที่เต็มไปด้วยแก่งหิน ธรรมชาติมากมาย ดังนั้น ในขั้นตอนของการออกแบบ โรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี จึงให้ความสำคัญกับเส้นทาง เดินเรือ ตั้งแต่การศึกษาระดับน้ำที่เหมาะสมตามขนาด ของเรือขนส่งที่ใช้บนเส้นทางแม่น้ำโขง โครงสร้าง ของโรงไฟฟ้า ช่วยให้เกิดการปรับระดับน้ำที่เหมาะ สมในทุกช่วงฤดูกาล ให้มีระดับน้ำสูงพอที่จะเดินเรือ ได้ตลอดทั้งปีในเส้นทางหลวงพระบางถึงไซยะบุรี นอกจากนี้ยังได้สร้าง เนวิเกชั่นล็อค หรือทางสัญจร เรือ มีเพื่อให้เรือสัญจรข้ามผ่านโครงสร้างโรงไฟฟ้า ไปได้โดยอาศัยหลักการปรับระดับน้ำด้วยประตูน้ำแบ่งการปรับระดับด้วยประตูทั้งหมด 3 ชุด และ

ปรับ ระดับน้ำ 2 ระดับ อำนวยความสะดวกให้ทั้งเรือที่ล่อง ขึ้นและลงในแม่น้ำโขง รองรับเรือพ่วงขนสินค้าขนาด พ่วงตอนละ 500 ตัน ได้พร้อมกัน 2 ตอนในเวลาเดียวกัน โดยมีความยาวไม่เกิน 120 เมตร และกว้าง 10 เมตร

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี จุดสมดุลตัวอย่างของธุรกิจและความยั่งยืนบนน้ำโขง

โดย เนวิเกชั่นล็อค ไม่ได้มีประโยชน์เพียงเพื่อเป็น ทางสัญจรเรือเท่านั้น ยังมีโครงสร้างและกลไกที่ซ้อน อยู่ภายในช่องประตูระบายน้ำที่มี Gravity Flow สร้างกระแสน้ำเพื่อล่อให้ปลาเข้ามา เนวิเกชั่นล็อค จึงเป็นทางปลาผ่านอีกช่องทางหนึ่ง จากเทคโนโลยีที่ทันสมัยของระบบทางปลาผ่าน ทางสัญจรเรือและมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ได้กล่าวมานี้ นับเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ ให้กับ โรงไฟฟ้าพลังน้ำข้ามลำน้ำโขงอื่นๆ อีกหลายโครงการ เพราะหากออกแบบและก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน ตามหลักการนี้ ก็อาจส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดลำน้ำโขงในระยะยาว

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี จุดสมดุลตัวอย่างของธุรกิจและความยั่งยืนบนน้ำโขง

ปัจจุบันโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี มีความคืบหน้า ในการก่อสร้างแล้วกว่า 99% โดยได้เริ่มเดินเครื่องผลิต และจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) เป็นที่เรียบร้อย และมีกำหนด เสร็จสมบูรณ์ 100% ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2562 นี้

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/bangkokbiznews/posts/10159611431554815/