จากแดนเนรมิตสู่สวนเมล่อนและสตรอเบอร์รี่กลางกรุงเทพฯ

จากแดนเนรมิตสู่สวนเมล่อนและสตรอเบอร์รี่กลางกรุงเทพฯ

ดร.พลรชฎ เปียถนอม เจ้าของสวนเนรมิตเกษตร @แดนเนรมิต ผู้ชุบและพัฒนาแดนเนรมิตให้เป็นสวนใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานคร


ใครจะเชื่อว่าในใจกลางกรุงเทพฯ ย่านลาดพร้าว ก็มีการทำสวนเมล่อนและสตรอเบอร์รี่สายพันธุ์ญี่ปุ่น ที่ราคาสุดแสนจะแพงได้แล้วนะคะ และอากาศร้อนๆ ของกรุงเทพฯ ก็ไม่เป็นอุปสรรคเสียด้วย

ทำได้อย่างไรกัน เราก็เลยไปหาคำตอบนี้จากผู้คิดค้นและสร้างสรรค์สวนแห่งนี้ขึ้นมาแต่ที่เด่นกว่านั้น ที่นี่เดิมคือ “แดนเนรมิต” ใช่แล้วค่ะ แดนเนรมิตที่เคยอยู่ในความทรงจำของใครหลายๆคน มาบัดนี้คือสวนเกษตรแห่งใหม่ของกทม.ค่ะ ดร.พลรชฎ  เปียถนอม เจ้าของสวนเนรมิตเกษตร @แดนเนรมิต ผู้ชุบและพัฒนาแดนเนรมิตให้เป็นสวนใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานคร จากสวนสนุกแดนเนรมิตที่ว่างเว้นไป 22 ปี กลับมาฟื้นคืนชีพอีกครั้งแต่เป็นลักษณะเกษตรยั่งยืนสำหรับคนเมือง สร้างพื้นที่สีเขียวในเมืองปรับพื้นที่ 30 ไร่ในแดนเนรมิตสู่สวนเกษตรด้วยประสบการณ์ในการปลูกมะม่วงมายาวนาน

ที่ดร.พลรชฎใส่ทั้งจิตทั้งใจ ด้วยการเรียนรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความต้องการของตลาดญี่ปุ่นจนได้มาตรฐาน และสามารถส่งออกไปญี่ปุ่นมา 15-16 ปี จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการเนรมิตปรับพื้นที่ประมาณ 30 ไร่ในแดนเนรมิต มาทำโรงเรือนปลูกสตรอเบอร์รี่ สายพันธุ์เจ้าหญิง Akihime, เมล่อน สายพันธุ์ Earl’s Royce และ Orange Pearl และมะเขือเทศสายพันธุ์ Tomato Miki , Sweet Red & Tomato Cherry ตามมาตรฐาน ด้วยนวัตกรรมและเทคนิคส่วนตัว รวมทั้งการเกษตรแบบ Social Enterprise มีการตรวจสอบจากชาวญี่ปุ่นจนผ่านมาตรฐาน พร้อมที่จะทั้งส่งออกญี่ปุ่นและให้คนเมืองได้ทานผลผลิตเหล่านี้ รวมถึงพร้อมส่งออกในอนาคตด้วย
แนวทางการปลูกของดร.พลรชฎ นั่นคือ Precision Agriculture หรือ เกษตรแม่นยำ ปลูกให้ออกผลผลิตตามเทศกาลสร้างผลผลิตปีละ3 ครั้งตามเทศกาล

“ ถ้าพูดถึงการที่เรามาทำอุตสาหกรรมเกษตรแม่นยำต้นแบบ เพราะเราต้องการพัฒนาสินค้าไปจำหน่ายในต่างประเทศ เราจะได้ราคาดีกว่า เรียกว่าทำเกษตรตามเทศกาลไม่ใช่ตามฤดูกาล หากทำตามฤดูกาล ผลไม้อาจจะล้นตลาด ตัวอย่างเช่นเมล่อนที่เราปลูก เราจึงปลูกแบบให้ออกผลผลิต 3 ครั้งใน 1 ปี โดยเลือกไว้ให้ออกผลในช่วงวันสงกรานต์ วันแม่ และวันปีใหม่”ในโรงเรือนเมล่อนของเรามี 300 ต้น เมื่อออกได้ 3 รอบ เท่ากับว่า ปีหนึ่งจะเหมือนมีการปลูก 900 ต้น

ซึ่งเราจะเปิดให้เขามาชมและตัดผลผลิตจากต้นได้ เรามี 2 พันธุ์คือ Earl’s Royce ซึ่งเป็นเมล่อนที่สีเขียวเนื้อฉ่ำ ทานแบบเนื้อฉ่ำๆในสไตล์ญี่ปุ่น และอีกพันธุ์คือ Orange Pearl
หัวใจของโครงการนี้ เพื่อให้ประสบความสำเร็จ เราต้องทำโรงเรือนที่สะอาดป้องกันแมลง ใช้น้ำประปามากรองผ่านเครื่องอาร์โอ ผสมสารอาหารเข้าไป ปรับอุณหภูมิตามสภาพที่เหมาะสม
ความร้อนของกรุงเทพฯไม่กระทบโรงเรือนแม้ตอนนี้กรุงเทพฯจะเป็นหน้าร้อน อากาศข้างนอกอาจสูงถึง 50 องศา แต่ก็ไม่กระทบผลผลิต

เพราะมีการใช้หลังคานำเข้าจากอิสราเอลที่ช่วยลดยูวีลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ใช้มุ้งสีแดง ป้องกันเพลี้ยไฟ โรงเรือนก็ดีไซน์แบบน็อคดาวน์ให้ถอดได้ด้วย เผื่อหากจะโยกย้ายในอนาคต ก็สามารถถอดไปติดตั้งในสถานที่อื่นได้ทันที
“เมล่อนของเราไม่ได้เน้นเชิงพาณิชย์ ซึ่งหากเป็นแบบนั้น ส่วนใหญ่จะมีการให้ออกผลผลิตต้นละ 2-3 ลูก แต่ผมอยากทำไซส์เดียวคือขนาดใหญ่หรือไซส์เอ เราก็เลยมีแค่ต้นละลูก แต่ออกปีละ 3 ครั้ง”
เมล่อนที่ดีต้องมีลายที่สวยงาม

ดร.พลรชฎ เล่าเป็นความรู้ว่า สำหรับคนญี่ปุ่นเขาจะไม่ได้ดูที่เมล่อนว่าของดีต้องเป็นลูกใหญ่ที่สุด แต่จะดูจากลายที่ผิวของเมล่อน ซึ่งลูกที่คุณภาพดีลายจะเหมือนกัน มีความสวยงามของลวดลาย ไม่บิดเบี้ยวหรือลายเพี้ยน หรือเรียกว่าแข่งกันที่ลาย เวลาที่เราไปซื้อเมล่อน หากลายไม่สมบูรณ์ แสดงว่าไม่เอาใจใส่ คนญี่ปุ่นจึงจะดูว่าเมล่อนมีจุดมีด่างที่ลายไหม นั่นทำให้ผลผลิตของสวนเนรมิตเกษตร มีเมล่อนที่ลวดลายสวยงาม จากการดูแลเอาใจใส่ ประคบประหงมเสมือนเป็นดั่งลูกเลยทีเดียว แต่เมล่อนจะต่างกันที่รสหวานแหลมหรือหวานฉ่ำ

สำหรับคนชอบหวานฉ่ำ เมื่อตัดลูกเมล่อนจากต้นไปแล้ว ข้อแนะนำคือให้ทิ้งไว้ก่อน 3 วันจึงจะทานได้ หากเข้าตู้เย็น 2 วัน ก็จะยิ่งอร่อย ผ่าแล้วให้ทานพร้อมไส้ ไม่ใช่ทานเฉพาะเนื้อ ไส้คือตัวที่ให้ความหวานมากสุดของเมล่อน มีสารฟลุกโตส ทานพร้อมไส้จะได้ความอร่อยมากขึ้นที่สวนเนรมิตเกษตรจะเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้ แต่ต้องจองล่วงหน้า และสามารถตัดผลผลิตจากต้นได้ รวมถึงสามารถเขียนตัวหนังสือบนลูกเมล่อนตอนที่ลูกเมล่อนยังเล็กๆ เพื่อรอการเติบโตได้อีกด้วย เราเห็นตัวหนังสือคำว่า “พ่อให้ลูกรัก” แล้วรู้สึกประทับใจ เพราะมีคุณพ่อท่านหนึ่งมาจองผลผลิต เขียนไว้เพื่อรอให้ลูกมาตัดในอีก 4 เดือนข้างหน้า และเขียนตัวหนังสือไว้บนเมล่อนแบบนั้น เรียกได้ว่าพอลูกมาเห็นต้องซึ้งใจคุณพ่ออย่างมากมายแน่นอน

โปรโมชั่นเมล่อนด้วยราคา 599 บาทในช่วงที่เพิ่งเปิดตัวเพื่อแนะนำสวน ดร.พลรชฎ บอกว่ามีราคาเมล่อนในช่วงโปรโมทเพียงลูกละ 599 บาท ถ้าเข้ามาตัดจากต้นเสียเพิ่มอีก 500 บาท ทั้งนี้เพื่อนำรายได้ไปเปิดหลักสูตรอบรมต่อไป อย่างไรเสียเมล่อนที่สวนก็ราคาถูกกว่าญี่ปุ่น เพราะญี่ปุ่นจะขายราคาสูงถึงลูกละ 1,500 บาท เลยทีเดียวเมื่อตัดเสร็จ เจ้าหน้าที่เขาจะนำไปจัดใสแพคเกจจิ้งให้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว เรียกว่าป้องกันความเสียหายให้อย่างดีระหว่างนำเมล่อนกลับบ้านสตรอเบอร์รี่ที่ลูกใหญ่หวานฉ่ำถัดจากโรงเรือนเมล่อน เราเดินต่อไปยังโรงเรือนที่อยู่ติดกัน คือโรงเรือนสตรอเบอร์รี่


อันนี้ก็ว้าว..ไม่แพ้กัน ใครจะเชื่อว่าเมืองร้อนอย่างบ้านเรา จะปลูกสตรอเบอร์รี่ลูกใหญ่ หวานฉ่ำแบบญี่ปุ่นได้ นี่คือสายพันธุ์เจ้าหญิงอะกิฮิเมะ ได้มีโอกาสชิม เรียกว่าอร่อย ลูกโต หวานมากๆ แต่ละลูกมีน้ำหนัก 35-40 กรัม
เมื่อสักครู่เราว่าเมล่อนนี่ต้องใส่ใจดูแลมากแล้ว แต่ดูท่าทางสตรอเบอร์รี่จะยิ่งเป็นลูกรักมากขึ้นไปอีก เพราะพวกเธอจะนอนหลับตอนกลางวัน แล้วค่อยตื่นกลางคืน ต้องระวังการรบกวนต่างๆจึงต้องดูแลใส่ใจสุดขีด เพื่อให้พวกเธอออกมาสวยผิวบางหวานฉ่ำ เหมือนดูแลสาวๆ ยังไงยังงั้นเราข้ามไปดูโรงเรือนของมะเขือเทศ อันนี้ก็ว้าวเช่นกัน เพราะมีมะเขือเทศลูกโตๆ สีเหลือง สีแดง แถมยังมีแบบเป็นรูปหัวใจอีกด้วยภายในสวน ยังมีผลไม้ที่ใช้เวลาปลูกยาวนาน เช่น มะม่วงอีกด้วยเกษตรแม่นยำให้ผลผลิตออกตามเทศกาลคือหัวใจ

“ผมอยากให้คนกทม.ภูมิใจ ว่ากรุงเทพฯเราก็ปลูกผลไม้แบบเมล่อนและสตรอเบอร์รี่ได้ แถมยังใช้หลักการเกษตรแม่นยำ ทำให้ออกผลผลิตตามเทศกาลได้อีกด้วย และหากใครสนใจลงทุน ก็นับว่า High income farmer , High profit for invester , Green urban farm เกษตรกรมีรายได้สูง หรือหากสนใจลงทุนก็มีกำไร สร้างสังคมเมืองสีเขียวเราทำโครงการต้นแบบที่แดนเนรมิต เพราะคนมาได้ง่าย มาทางลาดพร้าวหรือพหลโยธิน พอทำต้นแบบเสร็จ จะถอดบทเรียน แล้วนำมาถ่ายทอดให้คนเมืองที่วางแผนทำด้านเกษตร หรือเกษียณแล้วอยากเพาะปลูกหรือนักลงทุนที่อยากใช้เงินไปพัฒนาที่ดินที่อยู่ในเมืองนักลงทุนที่สนใจต้องดูโลเคชั่นและสภาพแวดล้อม องค์ประกอบต่างๆ แต่เราต้องการให้คืนทุนภายใน 3 ปี หลังจากปีที่ 3 ขึ้นปีที่ 4 ท่านก็ได้กำไรแล้ว ค่าลงทุนอาจจะราว 1-4 ล้านต่อโรงเรือน หากท่านมีที่ดินในกทม. ก็สามารถติดต่อมาได้ หรือต้องการมาเที่ยวชมก็ติดต่อที่ 092-943-2456

วันที่เราไปชม ซึ่งเปิดให้ชมเป็นวันแรก หลังจากใช้เวลาปลูกมากว่า 1 ปี ก็มีคณะผู้ใหญ่หลายคนไปร่วมด้วย เช่น ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ,คุณสุทธิเดช จิราธิวัฒน์ เจ้าของธุรกิจร้านอาหารเซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป , คุณแววรัตน์ ชำนาญภักดี Vice President Human Resource & Public Relation Division ยิบอินซอย , คุณฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย , คุณพิมล-คุณลินดา บูรณะชน โดยมีคุณนุสรา วรางค์เดช กรรมการผู้จัดการ ร้านอาการครัวเจ๊ง้อ และเป็น PR MAKETING เกษตรเนรมิต ให้การต้อนรับ

ลองไปดูว่า กทม.เราก็มีสวนผลไม้จากญี่ปุ่นให้อะเมซิ่งกันได้ที่แดนเนรมิต รื้อฟื้นความสนุกจากอดีต มาเป็นความสนุกในแบบใหม่เชิงเกษตรกันนะคะ

สำหรับผู้ที่สนใจอยากเข้าชมและสัมผัประสบการณ์สุด exclusive