เปิดไอเดียการออมของคน 3 ช่วงวัย “วัยเริ่มทำงาน-วัยกลางคน-วัยเกษียณ”

 เปิดไอเดียการออมของคน 3 ช่วงวัย “วัยเริ่มทำงาน-วัยกลางคน-วัยเกษียณ”

พร้อมข้อมูลการให้ความคุ้มครองเงินฝาก ที่คุณต้องรู้! พร้อมข้อมูลการให้ความคุ้มครองเงินฝาก ที่คุณต้องรู้!

 

เราทุกคนล้วนมีเป้าหมายในการออมเงินที่แตกต่างกันไป ซึ่งเป้าหมายการเก็บเงินของแต่ละคนก็จะมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงชีวิตและการเติบโตของตนเอง คนวัยเริ่มทำงานอาจมีเป้าหมายเพื่อซื้อรถคันแรก การท่องเที่ยว แต่เมื่อก้าวเข้าสู่วัยทำงานอย่างเต็มตัว เป้าหมายอาจเป็นการมีบ้านหลังแรก หรือการสร้างฐานะเพื่อการศึกษาของลูก และเมื่อเข้าวัยเกษียณ การออมก็จะเพื่อค่าใช้จ่ายและเพื่อรักษาสุขภาพ โดยเป้าหมายต่าง ๆ ล้วนมีปัจจัยเรื่องการเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น การที่เราจะมีเงินเพียงพอให้ประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายก็ต้องมีการวางแผนจัดการบริหารเงินในรูปแบบที่เหมาะสม แล้วเราควรมีแนวทางการบริหารเงินอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับตนเอง และเหมาะกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ผันผวนเฉกเช่นปัจจุบัน!? มาดุตัวอย่างไอเดียการออมของคน 3 ช่วงวัยกันครับ/ค่ะ

 “80/20 ไอเดียการออมสไตล์วัยรุ่นเพิ่งเริ่มทำงาน”  

นางสาวชนัฏดาภา สุนทรพฤกษ์ อายุ 23 ปี พนักงานบริษัทเอกชน กล่าวว่า ตนเองเพิ่งจะจบการศึกษาและได้ทำงานเป็นครั้งแรก ช่วงเริ่มทำงานจึงต้องจัดสรรการใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง เพราะค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนค่อนข้างสูง ดังนั้น สิ่งที่สำคัญคือ การสร้างวินัยในการใช้จ่ายของตนเองให้ได้ โดยปกติตนจะแบ่งเงินเดือนที่ได้ออกเป็น 2 ส่วน คือ 80% จะฝากไว้ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ในธนาคาร 2 แห่ง สำหรับเบิกใช้จ่ายทั่วไป โดยจะจัดสัดส่วนการฝากเพื่อให้ได้ดอกเบี้ยสูงสุด และในระหว่างเดือนเมื่อใช้จ่ายแล้วได้รับเงินทอนเป็นธนบัตรเงินสด 20 หรือ 50 บาท จะหยอดกระปุกออมสินไว้เพื่อนำฝากเพิ่มเติม ส่วนเงินอีก 20% จะเก็บสะสมเข้าบัญชีเงินฝากประจำ เพื่อความมั่นคงและเพื่อ เป้าหมายการเก็บออมเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ส่วนตัว อาทิ ดูคอนเสิร์ต ท่องเที่ยว นอกจากนี้ ในอนาคตอันใกล้ ยังมีแผนการนำเงินไปลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นการต่อยอดเงินเก็บในอนาคต

ฝากเงินหลายแห่ง จัดสรรการลงทุนหลายประเภท เสริมวินัยการเก็บเงิน

นายสุชัย กิตติวัชราพงษ์ พนักงานอาวุโสของบริษัทเอกชน อายุ 50 ปี เผยว่า ด้วยอายุที่มากขึ้น ประกอบกับมีความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของครอบครัวที่มากขึ้น ดังนั้น เป้าหมายของการบริหารเงินของตนเอง จึงต้องคิดมากกว่าในอดีต โดยปัจจุบัน มุ่งเน้นการเก็บเงินไว้ใช้ในยามจำเป็น และบริหารเงินเพื่อให้ได้ผลตอบแทนมากที่สุด ด้วยการออมเงินผ่านการฝากเงินกับธนาคาร ประเภทบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ โดยเปิดไว้ 2 บัญชี ทุก ๆ สิ้นเดือน หลังจากหักค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แล้ว โดยจะโอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ ที่อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า นอกจากนี้ ยังเปิดบัญชีที่เป็นบัญชีเงินฝากประจำแบบปลอดภาษี เพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และเมื่อฝากครบตามกำหนด ตนจะถอนเงินฝากไปลงทุน ในรูปแบบการซื้อกองทุนรวม พันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้ที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะช่วยเสริมวินัยการเก็บเงินของตนได้เป็นอย่างดี   

การบริหารเงินมั่นคงแบบวัยเกษียณ 

นางสาวรวีวรรณ ชาติอาชาไนย อายุ 62 ปี ข้าราชการบำนาญ กล่าวว่า เมื่อก้าวเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว เป้าหมายการออมเงินของตนเอง เพียงเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและยังชีพโดยไม่กระทบต่อบุคคลอื่น หรือให้ได้ผลตอบแทนที่มีความมั่นคงความเสี่ยงต่ำ ทำให้แนวทางในการบริหารจัดการเงินของตนเองเป็นไปอย่างเรียบง่าย ไม่มีความซับซ้อน ตนจึงเปิดบัญชีเงินฝากเพียง 2 ประเภทคือ 1. บัญชีออมทรัพย์ เพื่อเป็นช่องทางการรับเงินบำนาญ และสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ส่วนอีกบัญชีคือ บัญชีฝากประจำเพื่อสะสมเงินเก็บไว้ใช้ในระยะยาว นอกจากนี้ เงินที่เหลือจากการใช้จ่าย ตนได้นำมาลงทุนที่ปลอดภัยสูง เช่น พันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวมตราสารหนี้ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ผลตอบแทนค่อนข้างสูงในระยะเวลาอันสั้น มีความเสี่ยงต่ำ อีกทั้งยังได้ผลตอบแทนที่ชัดเจน

จากแนวทางการบริหารเงินข้างต้น จะเห็นว่าการฝากเงินประเภทต่าง ๆ เป็นการออมพื้นฐานของทุกวัย ซึ่งเป็นการออมเงินที่มีความมั่นคงสูง โดยมี สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ทำหน้าที่ในการคุ้มครองเงินฝากทันทีเมื่อฝากเงินในสถาบันการเงินภายใต้การคุ้มครองทั้ง 35 แห่ง ทั้งประเภทบัญชีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยให้ความคุ้มครอง  1 รายชื่อผู้ฝากต่อ 1 สถาบันการเงิน ครอบคลุมบัญชีเงินฝาก 5 ประเภท ได้แก่ 1. เงินฝากกระแสรายวัน 2. เงินฝากออมทรัพย์ 3. เงินฝากประจำ 4. บัตรเงินฝาก และ 5. ใบรับฝากเงิน โดยปัจจุบันวงเงินคุ้มครองเงินฝากอยู่ที่ 5 ล้านบาท นอกจากนี้  หากธนาคารในความคุ้มครองถูกปิดกิจการลงสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะทำหน้าที่จ่ายคืนเงินฝากให้กับผู้ฝากตามวงเงินที่กฎหมายกำหนด ภายใน 30 วัน ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าเงินฝากจะได้รับความคุ้มครองไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยไหน หรือมีเป้าหมายการเก็บออมอย่างไร ภายใต้แนวคิด “สถาบันคุ้มครองเงินฝาก คุ้มครองทุกจังหวะชีวิต”  

ประชาชนและผู้สนใจสามารถตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินฝากได้ที่ www.dpa.or.th
ศูนย์บริการให้ความรู้การคุ้มครองเงินฝาก โทร. 1158 และเฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/dpathailand