Climate Festival  @North

Climate Festival  @North

การผนึกกำลังจาก 4 ภาคส่วน ได้แก่ ชนเผ่า ชุมชน ประเทศ และ โลก เพื่อการนำพาไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ หรือ Low Carbon Lifestyle ร่วมกันปลูกต้นไม้

 

ภาครัฐและเอกชนผนึกกำลังส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติและแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนในงานเทศกาลสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Festival ตอน พลัง เหนือ ธรรมชาติซึ่งเป็นการผนึกกำลังจาก 4 ภาคส่วน ได้แก่ ชนเผ่า ชุมชน ประเทศ และ โลก เพื่อการนำพาไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ หรือ Low Carbon Lifestyle และ ร่วมกันปลูกต้นไม้ในทุก ๆ ที่ที่มีโอกาสเพื่อดูดซับคาร์บอนที่แต่ละคนใช้ในแต่ละปีให้หมดสิ้นไป และเป็นการรณรงค์สร้างจิตสำนึกและผลักดันให้เกิดการลงมือทำจริงด้วยตนเองในการกอบกู้สภาพแวดล้อม โดยมีเป้าหมายให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในสังคมไทย แต่ละบุคคลปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ หรือ Zero Emission ซึ่งจะดำเนินการจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

 

เทศกาลสภาพภูมิอากาศเกิดจากการผนึกกำลังกันของหลากหลายภาคส่วน ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ชนเผ่าปกาเกอะญอแห่งหมู่บ้านห้วยหินลาดใน สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 1 (เชียงใหม่) กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ มณฑลทหารบก ที่ 33 โดยสำนักงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวอ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า ศูนย์ส่งเสริมการควบคุมไฟป่าภาคเหนือที่ 1 เชียงใหม่ และยังมีภาคเอกชนที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนโครงการ ได้แก่ บริษัท สยามนิสสัน เชียงใหม่จำกัด นำรถยนต์ Nissan Leaf รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) เพื่อรับส่งสื่อมวลชน และจิตอาสาที่มาร่วมในกิจกรรมปลูกป่าในครั้งนี้ด้วย

 

โครงการนี้เป็นเทศกาลที่ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการรณรงค์สร้างจิตสำนึกและผลักดันให้เกิดการลงมือทำจริงด้วยตนเองในการกอบกู้สภาพแวดล้อม โดยมีเป้าหมายที่เพื่อรณรงค์ให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในสังคมไทย

 ปัจจุบัน วิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะปัญหาจากขยะพลาสติก และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งจากฝุ่นละอองและจากการเผาป่าที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเหตุนี้ โครงการเทศกาลสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Festival “พลัง เหนือ ธรรมชาติจึงเริ่มต้นที่เชียงใหม่เพื่อรณรงค์วิถีชีวิตคาร์บอนต่ำในการแก้ไขปัญหาหมอกควันและปลูกต้นไม้เพิ่มเติมเพื่อบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์ของงานนี้ นอกจากการรณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้มาเป็นรูปแบบคาร์บอนต่ำแล้ว ยังมีกิจกรรมหารายได้ไปช่วยเหลือมูลนิธิด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้การท่องเที่ยวให้เป็นประโยชน์ในการแก้ไขและดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนอีกด้วย

กิจกรรมในโครงการ Climate Festival แบ่งออกเป็นรายสัปดาห์ ดังนี้

 

ครั้งที่ 1. เริ่มต้นด้วยกิจกรรมชื่อดัง ฌอน บูรณะหิรัญ Influencer กลุ่มจิตอาสาในพื้นที่ ภายในงานพบกับโซนพื้นที่สร้างแรงบันดาลใจ และเรื่องราวของ Climate Festival Exhibition “Low Carbon Lifestyle” เพื่อให้ข้อมูลและสร้างแรงบันดาลใจในการรักษาสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ด้วยการปลูกป่าในวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า จังหวัดเชียงใหม่ โดยความร่วมมือร่วมใจของหลายภาคส่วน ได้แก่ ผู้นำเยาวชนนักอนุรักษ์ของชนเผ่าปกาเกอะญอแห่งหมู่บ้านห้วยหินลาดใน นักคิด นักเขียน

ครั้งที่ 2 เพื่อระดมเงินสมทบทุนการช่วยเหลือช้างให้กับสมาคมสหพันธ์ช้างไทย จัดกิจกรรม Online Mini Concert จากศิลปินวง Lipta ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2563 ผ่านช่องทางเพจ Trip&Treat

ครั้งที่ 3 เพื่อระดมเงินบริจาคสมทบทุนโครงการปลูกป่าให้กับหน่วยงานกรมป่าไม้ จัดกิจกรรม Online Mini Concert จากวง Mild ในวันที่ 6 มิถุนายน 2563 ผ่านช่องทางเพจ Trip&Treat

ปิดท้ายด้วย กิจกรรมเพื่อสังคม หรือ CSR ปลูกป่าครั้งที่ 2 ร่วมกับผู้ใหญ่บ้านปรีชา ศิริ หนึ่งในห้าวีรบุรุษโลกที่ได้รับรางวัลวีรบุรุษผู้ดูแลป่า หรือ Forest Heroes จากองค์การสหประชาชาติ และคุณแพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์ ผู้แทนกองทัพเรือ สื่อมวลชน Influencer ด้านการท่องเที่ยว จิตอาสาในพื้นที่ ในวันที่ 13 มิถุนายน 2563

ทั้งนี้ กิจกรรมปลูกป่ามีการวางมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อย่างเคร่งครัด โดยมีการแจก Face Shield แอลกอฮอล์ และการปฏิบัติตามมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคมตามมาตรฐานคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างรัดกุมตลอดงาน 

 

โครงการเทศกาลสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Festival มีเจตนารมณ์ผลักดันการใช้ชีวิตแบบคาร์บอนต่ำ หรือ “LOW CARBON LIFESTYLE” ให้เป็นมาตรฐานการใช้ชีวิตทั่วไปในประเทศไทย เพื่อการมีสภาพแวดล้อมที่ดี และการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนร่วมกันของมนุษย์ สัตว์ และ สิ่งแวดล้อม

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ Facebook Page : Trip&Treat