ปตท.(PTT) แต่งตั้ง เอ็นวิชั่น ดิจิทัล (Envision-Digital)

ปตท.(PTT) แต่งตั้ง เอ็นวิชั่น ดิจิทัล (Envision-Digital)

ปตท.(PTT) แต่งตั้ง เอ็นวิชั่น ดิจิทัล (Envision-Digital) เป็นผู้พัฒนาระบบ AIoT SMART GRID ครั้งแรกในเขตอีอีซี (EEC) ของประเทศไทย

บริษัท เอ็นวิชั่น ดิจิทัล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (Envision Digital) ผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยี AIoT บนแพลตฟอร์มดิจิทัลซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในประเทศสิงคโปร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้พัฒนาระบบโครงข่ายอัจฉริยะ (SMART GRID) ครั้งแรก ให้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. บริษัทด้านพลังงานยักษ์ใหญ่ของเมืองไทยซึ่งสร้างผลผลิตมวลรวมภายในประเทศราว 16% ในแต่ละปี

 

ภารกิจในสัญญาฉบับนี้คือการพัฒนาระบบ AIoT SMART GRID” ที่ สถาบันวิทยสิริเมธี (สวสธ. , VISTEC) โดยใช้ระบบปฏิบัติการ AIoT จาก เอ็นวิชั่น ดิจิทัล หรือ EnOS™ ด้วยการบูรณา แผงเซลล์สุริยะแบบลอยตัว (Floating Solar) แผงเซลล์สุริยะบนหลังคา (Rooftop Solar) ระบบจัดเก็บพลังงาน (Energy Storage) และสถานีประจุพลังงานไฟฟ้า (EV Charging Station) ภายในเขตวิทยาลัย ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์เพื่อการวิเคราะห์ระบบดิจิทัล Enlight และ Ensight ของเอ็นวิชั่น โครงการ SMART GRID จะช่วยให้ ปตท. สามารถบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ปี 2563 ได้อย่างสัมฤทธิ์ผลนั่นคือ ​อัตราการเพิ่มการปล่อยมลพิษทางอากาศเป็นศูนย์

 

การทำสัญญาฉบับนี้เกิดขึ้นเนื่องจากบันทึกข้อตกลง ระหว่าง เอ็นวิชั่น ดิจิทัล และ ปตท. เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 เพื่อสร้างความร่วมมือในหลายโครงการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการพิจารณาโอกาสในแหล่งพลังงานใหม่ และการแปรรูปไปสู่ระบบดิจิทัล  ถือเป็นการดำเนินโครงการรูปแบบนี้เป็นครั้งแรกในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation: EECi) ซึ่งเป็นภาคการทำงานเฉพาะที่ให้ความสำคัญในการคิดค้นนวัตกรรมสำหรับเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: ECC) ซึ่งถือเป็นภูมิภาคที่ทวีความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่องสำหรับการค้าและการพาณิชย์ของภูมิภาคอาเซียน โครงการนี้ยังถือเป็นการนำร่องสู่โครงการในลักษณะเดียวกันอื่นๆ ของ ปตท. ในประเทศไทยต่อไป

 

“เรารู้สึกยินดีที่ได้ประกาศการร่วมมือโครงการครั้งสำคัญกับ ปตท. ในครั้งนี้ เนื่องจากการใช้ระบบ AIoT SMART GRID จะมอบศักยภาพอันมหาศาลให้แก่ ปตท. และผู้บริหารโครงสร้างพื้นฐานรายใหญ่อื่นๆ  รวมถึงชุมชนและบริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทย ในการยกระดับประสิทธิภาพและการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน” ซิลวี อูเซียล ประธานกรรมการสากล เอ็นวิชั่น ดิจิทัล อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว

 

ซิลวีกล่าวเสริมว่า “การเปลี่ยนผ่านสู่แหล่งพลังงานที่ปล่อยคาร์บอนน้อยนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งในการบรรลุเป้าหมาย การลดอัตราการปล่อยคาร์บอนตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งประเทศไทยได้มีการให้สัตยาบันในเรื่องนี้ เทคโนโลยี AIoT ก่อให้เกิดตัวช่วยสำคัญเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบอัจฉริยะ ทีมงานเอ็นวิชั่น ดิจิทัล และดิฉันจึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับผู้นำด้านพลังงานของเมืองไทยอย่าง ปตท. เพื่อรับมือกับความท้าทายนี้”

 

 

“โครงการที่เราได้ร่วมดำเนินการที่ VISTEC ในครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของเราเพื่อการแปรรูประบบดิจิทัลและ     การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน โครงการนี้ไม่เพียงช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศเท่านั้น หากยังถือเป็นพื้นที่ทดสอบสำหรับงานวิจัยและพัฒนาของกลุ่ม ปตท. และทีมนักวิจัยของ VISTEC ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Electricity Value Chain และ Smart City ซึ่งเราหวังว่าจะสามารถนำไปใช้ต่อยอดในภาคธุรกิจต่อไป” นายดรุณพร กมลภุส ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนานวัตกรรมและดิจิทัล บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าว

 

โครงการ AIoT SMART GRID สำหรับสถาบันวิทยสิริเมธี มีกำหนดแล้วเสร็จในช่วงปลายปี พ.ศ. 2563