“กูรู”แนะทางรอดเศรษฐกิจ ฝ่าวิกฤติไวรัสโคโรนาระบาด

“กูรู”แนะทางรอดเศรษฐกิจ ฝ่าวิกฤติไวรัสโคโรนาระบาด

งบประมาณปี 63 สะดุด แนะทุกส่วนร่วมมือเร่งสร้างความเชื่อมั่น เตือนรับมือความผันผวนจากนโยบาย

กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (บสส.) รุ่นที่ 9 สถาบันอิศราฯ ได้จัดการสัมมนาสาธารณะหัวข้อ "How toรอด...รอดอย่างไรในสถานการณ์เศรษฐกิจร้อน การเมืองแรง" ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 6 อาคารปฏิบัติการวิทยุโทรทัศน์ บจม. อสมท  เพื่อนำเสนอมุมมองการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการเมือง ภายใต้ปัจจัยความเสี่ยงรอบด้านทั้งในและต่างประเทศ โดยมีวิทยากร ประกอบด้วย ดร.กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการวิจัยและคำปรึกษาระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรมว.คลัง ดร.ชัยยงค์ สัจจิพานนท์ อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และรศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของนายกรัฐมนตรี

  ดร.กิริฎา เภาพิจิตร ผอ.ทีดีอาร์ไอ เปิดเผยว่า ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้น่าจะเติบโตต่ำกว่า 2%  จากคาดการณ์เดิมมองว่าปีนี้จะเติบโตได้ในระดับ 2.8%   หลักๆมาจากผลกระทบจากไวรัสโคโรนาที่ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง  และงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ที่ล่าช้า กว่าจะเบิกจ่ายได้น่าจะเดือนมิ.ย. 2563 รวมถึงปัญหาภัยแล้ง

ทั้งนี้การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา  อาจจะส่งผลกระทบให้จำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลง 2 ล้านคน  และส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่น ๆ ปรับลดลง 8 แสนคน เฉพาะผลกระทบจากการท่องเที่ยวจะทำให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้ลดลงเหลือ 2%  เมื่อรวมผลกระทบจากภัยแล้ง งบประมาณล่าช้า จึงมีโอกาสที่จะต่ำกว่า 2%

 “ผลกระทบไวรัสโคโรนา เป็นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลจะต้องสร้างความเชื่อมั่น เพราะไม่ได้กระทบเฉพาะการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงกับห่วงโซ่การผลิต เพราะชิ้นส่วนบางอย่างที่นำเข้าจากจีนต้องหยุดชะงัก”

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยปีนี้ ไม่ได้มีเฉพาะข่าวร้ายเท่านั้น ยังมีข่าวดีในหลายเรื่อง ทั้งเศรษฐกิจโลกที่ยังเติบโตอยู่ จากคากการณ์ของสำนักจต่าง  บอกได้ว่าไม่มีวิกฤติ เช่นเดียวกับในประเทศที่เศรษฐกิจยังเติบโต แม้จะชะลอตัว บวกกับแนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับลดลง ปีนี้ไม่น่าจะเกิน 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล   อีกทั้งเงินบาทยังเริ่มอ่อนค่า ล่าสุดอยู่ที่ระดับ  31.2 บาทต่อดอลลาร์(31 ม.ค.) ราคาสินค้าเกษตรเริ่มขยับ แม้ว่าจะมีปัญหาภัยแล้งทำให้เราได้อานิสงส์ไม่ได้เต็มที่  สุดท้ายคือ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยตลาดโลกรวมถึงไทยปรับลดลง
             ส่วนเรื่องงบประมาณที่ล่าช้า  ไม่ได้กังวลเรื่องงบประจำ เพราะสามารถใช้งบพลางปีไปก่อนได้ แต่ที่ห่วงคืองบลงทุนที่กว่าจะออกมาได้ก็เดือนมิ.ย. หากออกมาแล้วก็อยากให้เร่งเบิกจ่ายให้ได้มากกกว่า 70%  จะมีส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค

ด้านนายชัยยงค์  สัจจพานนท์ อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซีเปิดเผยว่า การรับมือกับสถานการณ์ไวรัสโคโรนา ทุกภาคส่วนทำได้ค่อนข้างดี โดยท่านฑูตจากปักกิ่ง3 คนจะเดินทางไปเมืองอู่ฮั่น  เพื่อดูแลคนไทยที่นั่น แม้กลับไปต้องถูกกักตัว 14 วัน  ส่วนทางการไทยจะจัดไปรับคนไทยในอู่ฮั่นวันที่ 4 ก.พ. นี้ ซึ่งการเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขเราได้รับคำชมจาก WHO มาโดยตลอด

สำหรับสถานการณ์การเมืองต่างประเทศ จะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน  จากการทำนโยบายของทรัมป์ที่จะต้องสร้างคะแนนเสียง  โดยเฉพาะเรื่องสงครามการค้า ที่แม้ตอนนี้จะมีการประณีประณอมในรอบแรก การลดภาษีรอบแรกเป็นแค่ส่วนย่อยจากการใช้กำแพงภาษี สงครามการค้ายังมีอยู่ เพียงแต่ตอนนี้เบาบางลง

 

 “นโยบายที่ไม่ชัดเจนของทรัมป์สร้างความลำบากต่อผู้ดำเนินนโยบาย เราเองก็ต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างจีนและสหรัฐ ที่ผ่านมาทำได้ดี สร้างความสมดุล ไม่ให้เกิดผลกระทบว่าเลือกข้างใดข้างหนึ่ง และดำเนินการที่เป็นประโยชน์ เราสามารถดำเนินความสัมพันธ์พิเศษกับจีนและสหรัฐได้ โดยต้องหลีกเลี่ยงประเด็นที่สร้างความเข้าใจผิด” 

นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าไทยกล่าวว่า คณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)ประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 2563ไว้เมื่อเดือนมกราคมอยู่ที่ระดับ 2.5-33% โดยที่ยังไม่มีปัจจัยเรื่องงบประมาณรายจ่ายปี 2563 ล่าช้าและการระบาดของไวรัสโคโรนา ดังนั้นในการประชุม กกร.วันที่ 5 กุมภาพนธ์นี้ จะมีการทบทวนประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยใหม่อีกครั้ง ซึ่งขณะนี้ชัดเจนว่า จะเติบโตต่ำกว่า 3%  แต่เชื่อว่า จะไม่ต่ำกว่า 2.5% เนื่องจากเศรษฐกิจไทย ยังมีโอกาสรับเงินลงทุนที่เข้ามาลงทุนจากต่างประเทศ จากการย้ายฐานการผลิตจากประเทศจีน ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา จากการที่ไทยเป็นศูนย์กลางภูมิภาคใตประเทศ CLMV

แม้เศรษฐกิจไทยจะเจอปัจจัยลบ แต่ก็ยังมีข่าวดีในแง่การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทำให้ผู้ประกอบการ สามารถเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น สะท้อนจกตลาดอีคอมเมิร์สที่เติบโตสูงในปีที่ผ่านมา ขณะเดียวทุกภาคส่วนสามารถช่วยกันฟื้นเศรษฐกิจไทย ด้วยโครงการไทยเท่ เที่ยวเมืองไทย และใช้ของไทย โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ ต้องสนับสนุนให้เกิดการจัดสัมนาในประเทศ เชื่อว่า จะช่วยให้เม็ดเงินหมุนเวียนเศรษฐกิจ พยุงเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า ได้

นายกรณ์ จาติกวณิช กล่าวถึงร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี2563ยังไม่ประกาศใช้ว่า รัฐบาลทำอะไรต้องมีงบ คงต้องประเมินและผลักดันงบประมาณออกโดยเร็ว ทำได้หลายช่องทาง ถ้าจำเป็นฉุกเฉินต้องออกเป็นพระราชกำหนดหนด โดยเฉพาะงบด้านการลงทุน หรือหากใช้ร่างพ.ร.บ.งบประมาณฉบับเดิมเอาเข้าสภาใหม่ หากใช้เวลาไม่แตกต่างกัน รัฐบาลคงเลือกใช้วิธีหลัง ส่วนที่ถามว่ารัฐบาลแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจถูกทางหรือไม่ ถ้าถูกทางเศรษฐกิจคงดีขึ้นและสร้างความเชื่อมั่น นโยบายที่ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจได้แค่ไหน สามารถวัดได้ และยังยังมาเจอไวรัสโคโรน่า กำลังซื้อภายในประเทษลดลง ดังนั้นรัฐต้องกระจายงบประมาณและกระจายโอกาส โครงสร้างการเกษตรต้องปรับทั้งหมด ทำอย่างไรให้เกษตรกรอยู่ได้ ไม่ใช่คนทำอยู่ไม่ได้

นายกรณ์กล่าวอีกว่า วันนี้เป็นช่วงที่ประชาชน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและรัฐต้องปรับตัวครั้งใหญ่และรวดเร็ว ให้สอดรับเทคโนโลย โครงสร้างสังคมและเศรษฐกิจ โดยรัฐต้องปรับตัวในยุคเทคโนโลยี มีการกระจายอำนาจ โดยเฉพาะกระจายงบประมาณแผ่นดิน35%ให้ท้องถิ่นบริหารเอง รวมถึงกระจายโอกาสและรายได้ให้ประชาชน รัฐต้องปรับแพลตฟอร์มในกาประกอบอาชีพให้ประชาชน สร้างโอกาสให้เอกชนและประชาชนทำมาหากิน ที่ผ่านมาประเทศพึ่งนโยบายทางการเงินมานาน วันนี้ต้องหันมาพึ่งนโยบายการคลัง เพื่อให้การลงทุนภาคเอกชนโต เน้นให้โอกาสเอสเอ็มอีเข้าถึงงบประมาณ รูปแบบการออกนโยบายมีศูนย์กลางที่ประชาชน ขอเสนอให้รัฐบาลผลักดันนโยบายเหล่านี้ ส่วนที่มีคำถามว่าประเทศไทยควรปิดประเทศหรือไม่ คำถามนี้ต้องมีคำตอบเชิงวิทยาศาตร์ โดยรัฐบาลต้องประเมินสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าว่รุนแรงถึงขั้นไหนถึงปิดประเทศ

ด้านนายปณิธาน กล่าวว่า ตั้งแต่ออกจากพรรคประชาธิปัตย์ตั้งคำถามตอบได้ยากมาก คงปิดประเทศไม่ได้ ไทยไม่เคยปิดประเทศ และเรามีความเชื่อมโยงกับจีนเป็นพิเศษ ความความสัมพันธ์ซับซ้อน อาจมีมาตรการเป็นพิเศษในการบริหารเฉพาะ เช่น จะนำเสนอครม.เรื่องวีซ่าในสัปดาห์หน้า ตอนนี้ครม.ตั้งหลักได้ดีขึ้น โดยเฉพาะด้านความมั่นคง นายกฯดูแลใกล้ชิด เชื่อควบคุมได้ ส่วนมุมมองด้านความมั่นคงของรัฐบาล ในต่างประเทศขณะนี้มีหลายขั้วอำนาจ ทั้งการเติบใหญ่ของจีน ทำให้สหรัฐฯวางตัวไม่ถูกว่าจะเป็นมิตรหรือเป็นศัตรู การเชื่อมโยงของอินเตอร์เน็ต ใครเร็วกว่าจะชิงความได้เปรียบ ส่วนความมั่นคงในประเทศไทย มีทั้งความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ มี