ชีวิตใหม่ ใต้ร่มพระบารมี ครั้งที่ 2

ชีวิตใหม่ ใต้ร่มพระบารมี ครั้งที่ 2

 

SACICT เผยความสำเร็จการจัดงาน "ชีวิตใหม่ ใต้ร่มพระบารมี ครั้งที่ 2"

นำผลิตภัณฑ์เอกลักษณ์ชาติพันธุ์ตอบโจทย์ไลฟสไตล์คนเมือง รับยอดจำหน่ายกว่า 13 ลบ.

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT  เผยความสำเร็จ การรวบรวมผลงานศิลปหัตถกรรมแห่งชาติพันธุ์ที่ยิ่งใหญ่ และหลากหลายมากที่สุด ตอบโจทย์วิถีชีวิตปัจจุบัน ในงาน “ชีวิตใหม่ ใต้ร่มพระบารมี ครั้งที่ 2” ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์ วันที่ 8 – 12 สิงหาคมที่ผ่านมา

นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า งาน“ชีวิตใหม่ ใต้ร่มพระบารมีครั้งที่ 2” เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งเป็นงานที่รวบรวมทุกเรื่องราวงานหัตถศิลป์ของกลุ่มชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 – 12 สิงหาคมที่ผ่านมา ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์ โดยความสำเร็จของการจัดกิจกรรมตลอด 5 วัน นอกจากจะเป็นการเปิดโอกาสให้ครูช่าง ทายาท ศิลปหัตถกรรม ครูศิลป์ของแผ่นดิน และสมาชิก SACICT ได้มีโอกาสพบปะกับกลุ่มผู้ซื้อแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้เกิดการ “บอกต่อ” ถึงความมีคุณค่า และความน่าสนใจของงานศิลปหัตถกรรมของชนเผ่า และชาติพันธุ์ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของการจัดงาน

ชีวิตใหม่ ใต้ร่มพระบารมี ครั้งที่ 2

ชีวิตใหม่ ใต้ร่มพระบารมี ครั้งที่ 2

ชีวิตใหม่ ใต้ร่มพระบารมี ครั้งที่ 2

ผลจากการจัดงานตลอดระยะเวลา 5 วัน มีผู้เข้าชมจำนวนมาก โดยกลุ่มลูกค้าที่มาเยี่ยมชมงานต่างมีความประทับใจในผลิตภัณฑ์ซึ่งล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่หายาก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ของชนเผ่าและชาติพันธุ์ ทั้งในแบบดั้งเดิม และประยุกต์ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ร่วมสมัย ซึ่งกลุ่มลูกค้าที่ได้มีโอกาสเข้าเลือกชมช้อป ผลิตภัณฑ์ในวันแรก ยังได้มีการกลับมาซื้อซ้ำ ตลอดจน มีการเจรจาธุรกิจร่วมกัน  โดยสรุปยอดจำหน่ายภายในงานชีวิตใหม่ใต้ร่มพระบารมี ครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 8 – 12 สิงหาคม จำนวน 5 วันได้รับยอดจำหน่ายรวมทั้งสิ้น 13,432,115 บาท เกินจากเป้าหมายที่วางไว้ 5,132,115 บาท  

นอกจากนี้ ความสำเร็จที่ประเมินค่าไม่ได้คือ การได้มีโอกาสถ่ายทอดองค์ความรู้ของงานหัตถกรรมแห่งชาติพันธุ์ให้ยังคงอยู่ ซึ่งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับกลุ่มช่างศิลปหัตถกรรมไทย ให้ยังคงสืบทอดผลงานแห่งมรดกทางภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์ให้คงอยู่