ผู้เชี่ยวชาญเผยความลับการทำงานของสมองกับพฤติกรรมของคน

ผู้เชี่ยวชาญเผยความลับการทำงานของสมองกับพฤติกรรมของคน

แนะเทคนิคทำลายความเคยชินสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งบุคคลและองค์กรได้จริง

 

อาจารย์ลินดา ติกกะวี หรือ อาจารย์หลิน ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำงานของสมอง ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท อะมิตี้ โซลูชั่น จำกัด ผู้คิดค้นและผู้อบรมหลักสูตร From Yes To Results” (พูดยังไงให้คนเห็นด้วย เมื่อเห็นด้วยแล้ว ทำยังไงให้เขาเปลี่ยน) เปิดเผยว่า จากประสบการณ์ส่วนตัวและประสบการณ์การเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวด้านธุรกิจให้แก่ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานชั้นนำต่างๆ  มีคำถามมากมายเกิดขึ้นจากผู้บริหารว่าเป็นเพราะเหตุใด หลายครั้งที่ผู้บริหารได้สื่อสารถึงนโยบาย การรณรงค์ หรือแม้แต่ออกคำสั่งออกไป แม้จะดูเหมือนพนักงานเข้าใจและพร้อมให้ความร่วมมือ แต่กลับไม่เห็นผลลัพธ์ในเชิงปฏิบัติอย่างแท้จริง บางครั้งเรื่องง่ายๆ ที่ขอความร่วมมือในองค์กร เช่น การขอให้ไม่รับประทานอาหารบนโต๊ะทำงาน แต่กลับนำไปสู่การปฏิบัติได้ยากเย็นกว่าที่คิด

“ความลับอยู่ที่ข้อเท็จจริงที่ว่า มนุษย์เราใช้สมองส่วนที่เรียกว่า สมองส่วนอัตโนมัติ (Ancient brain) ซึ่งประกอบด้วย สมองของสัตว์เลื้อยคลาน (Reptilian Brain) และสมองส่วนอารมณ์ความรู้สึก (Limbic Brain) ที่เป็นส่วนของสัญชาตญาน และถูกใช้งานเพื่อเอาตัวรอดจากอันตรายภายนอกมาตั้งแต่ยุคโบราณ ถึง 95% และจะใช้สมองส่วนตรรกะและเหตุผล (Neocortex) เพียง 5% เท่านั้น มนุษย์จึงมีแนวโน้มที่จะทำตามสัญชาติญาณมากกว่าจะทำอะไรตามหลักเหตุผล โดยมนุษย์ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะทำตามๆ กัน (Follow the herd) ไปก่อนโดยไม่คิดพิจารณา ให้ความหมาย (Labelling) กับสิ่งที่อยู่ข้างหน้าว่ามีผลร้าย หรือผลดีกับตน ต้องการประหยัดพลังงานให้มากที่สุด (Energy Saving) อันเป็นที่มาของคำว่า “ขี้เกียจ” ให้ความสนใจกับสิ่งเร้า และสิ่งที่เกิดขึ้น “ตรงหน้า” ใน “ขณะนี้” (Now) มากกว่าจะสนใจผลข้างหน้า หรืออนาคตที่ยังมาไม่ถึง เช่น “กินไปก่อน เดี๋ยวค่อยไปลด” “พักก่อนเดี๋ยวค่อยทำ” “อยากได้อะไรก็ซื้อไปก่อนเดี๋ยวค่อยคิดเรื่องหาเงินมา” เป็นต้น ทำให้แม้บางครั้งเราสามารถโน้มน้าวหรือทำให้เขาเข้าใจ หรือแม้แต่เห็นด้วยได้ แต่กลับไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรม หรือทำให้ปฏิบัติตามได้” อาจารย์หลิน กล่าว

สาเหตุที่ไม่ทำตาม ไม่ใช่เพราะไม่เห็นด้วยหรือต่อต้าน แต่เพราะการทำงานของสมองส่วนที่เป็น Ancient brain มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์มาก แม้จะรู้ว่าดีมีประโยชน์แต่ก็ยังไม่ทำ รู้ว่าทำแล้วไม่ดี แต่ก็หยุดทำไม่ได้ กุญแจของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมิได้อยู่เพียงที่นโยบายที่ดีเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติ หรือที่ทักษะการพูด หรือวาทศิลป์ที่จะสื่อสารให้เข้าใจหรือยอมรับได้เท่านั้นอีกต่อไป

 

ทำอย่างไรให้การสื่อสารเห็นผล เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง

อาจารย์หลินอธิบายต่อไปว่า หากเราต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือต้องการให้ปฏิบัติตามนโยบายใดๆ  ต้องวางแผนการสื่อสารไปควบคู่กับการอาศัยความเข้าใจในกระบวนการทำงานของสมองเพื่อวางกลยุทธ์ว่าเราจะใช้เรื่องใดในการทำให้ผู้ฟังต้องการทำสิ่งนั้นๆ ด้วยตัวเอง โดยเริ่มตั้งแต่การเตรียม (Priming) สภาพแวดล้อม หรือสิ่งที่จะสร้างให้ผู้ฟังมีความคิดที่คล้อยตามตั้งแต่ก่อนที่เราจะสื่อสารออกไป มีการวางกรอบการสื่อสาร (Communication Framework) โดยการสื่อสารในที่นี้ เน้นการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ (Influential Communication) เพื่อให้เขาเห็นด้วยและยอมรับที่จะเปลี่ยนด้วยความเต็มใจ หลังจากนั้นยังจะต้องมีการวางกลยุทธ์ถึงสิ่งที่ควรจะทำหลังจากการสื่อสารนั้น ๆ  เพราะเราคาดว่าเมื่อจบการสื่อสาร สมองในส่วนที่เป็น Ancient brain จะทำให้เขากลับไปทำพฤติกรรมเดิม ๆ (ถึงแม้ว่าจะเห็นด้วยกับเราแล้วก็ตาม)

“เทคนิคสำคัญคือการวางกรอบ แนวทาง และทิศทาง ที่ชัดเจนก่อนการเริ่มดำเนินการในทุกสถานการณ์  หัวใจหลักก็คือการสร้างความสนใจร่วม สร้างทิศทางให้เขามองเห็น และเลือกช่องทาง หรือคำพูดที่ใช้ในการสื่อสารให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อโน้มน้าว และนำพาเขาไปสู่การเข้าใจ ยอมรับ และปฏิบัติ โดยที่ผู้ฟังรู้สึกเป็นคนเลือกที่จะทำสิ่งนั้น ๆ ด้วยตัวเอง ไม่ใช่เพราะทำตามคำสั่งของใคร สร้างผลลัพธ์ในการเปลี่ยนแปลงได้จริง” อาจารย์หลิน กล่าว

ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการให้พนักงานไม่ทานอาหารกลางวันในที่ทำงาน แต่ให้ลงไปทานที่โรงอาหาร แทนที่จะออกเป็นกฏ ภาคทัณฑ์หากฝ่าฝืน หรือแม้แต่ทำโทษด้วยวิธีการต่างๆ หากเรามีความเข้าใจว่า เขาทำเพราะความเคยชิน หรือคิดว่าเป็นการใช้พลังงานน้อยที่สุด และทำตามๆ กันมานานแล้ว เราก็สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเขาได้ ด้วยการสร้างความเข้าใจ วางแผนการสื่อสารให้ดีก่อน ไม่ว่าจะเป็น “การสร้างความหมายใหม่” (Labelling) ของการทานอาหารกลางวันว่าเป็นช่วงเวลาพักผ่อน เติมพลังกายพลังใจ และดูแลสุขภาพของพนักงานเองในแต่ละวัน

ซึ่งแต่ละวันพนักงานควรลุกเดินวันละกี่ครั้ง ควรออกไปเจอแสงแดดบ้างเพื่อสุขอนามัยที่ดี ได้พบปะพูดคุยกับเพื่อนพนักงานในแผนกอื่นๆบ้าง (องค์กรทำสิ่งนี้เพื่อคุณ) ไปจนถึงสร้างคนพาทำเพื่อให้พนักงานได้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ก็ทำกัน (Follow the herd) และทำให้เห็นว่ามันง่าย และดีกับตัวเขาเองมากกว่าการทานอาหารในที่ทำงาน การวางแผนโดยใช้ความเข้าใจการทำงานของสมองตลอดกระบวนการนี้ ย่อมทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการได้ง่ายกว่า เกิดประโยชน์กับองค์กรมากกว่า ป้องกันการต่อต้านหรือการเกิดปัญหากับพนักงานหรือสหภาพ รวมถึงสร้างความเข้มแข็ง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในองค์กรมากขึ้น

 

ประโยชน์ของการเข้าใจการทำงานของสมอง

“ความเข้าใจเรื่องการทำงานของสมอง และการออกแบบการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงาน การบริหารลูกค้า หรือแม้แต่การทำการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา และเกิดผลลัพธ์ที่ต้องการได้ ซึ่งความเข้าใจในส่วนนี้ ยังสามารถสร้างกรอบแนวคิดในการสร้างโมเดลการโน้มน้าวจิตใจเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือก่อให้เกิดพฤติกรรมใดๆ ได้อีกด้วย โดยปกติจากที่อาจต้องใช้เวลาเป็นปีๆ ในการบังคับใช้กฏใดๆ (และอาจทำไม่สำเร็จเสียด้วยซ้ำ) ไปสู่การใช้เวลาเพียงประมาณ 3 เดือน ตั้งแต่การเตรียมความพร้อม ไปจนถึงการเห็นผลจริง” อาจารย์หลินกล่าวทิ้งท้าย

อาจารย์หลินจึงได้พัฒนาหลักสูตร “From Yes To Results” ขึ้นเพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านกลไกการทำงานของสมอง และการออกแบบการสื่อสาร รวมถึงการพัฒนาแผนการสื่อสารและการดำเนินงานเพื่อไปสู่เป้าหมาย เป็นหลักสูตร 1 วันที่อัดแน่นไปด้วยความรู้ แนวทางการปฏิบัติ และการสร้างความเข้าใจอย่างแท้จริง เพื่อให้ผู้บริหารในองค์กร ทั้งผู้บริหารระดับกลาง และระดับสูง นักการตลาด นักขาย Influencer ไปจนถึงผู้ที่สนใจในการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ และทักษะการสื่อสาร โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในเชิงปฏิบัติแบบเป็นขั้นตอน สร้างกรอบการทำงาน และสามารถนำไปใช้จริงได้ในทันที ผู้สนใจ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ FB Fanpage ของอจ.หลิน ได้ที่ “Coach Lynda” โดยอาจารย์หลินเตรียมเปิดตัวหลักสูตร  From Yes To Results อย่างเป็นทางการ วันที่ 5 เดือนกรกฏาคมนี้ ที่โรงแรมแลนด์มาร์ค ในงาน 2019 MTP Annual Gathering of Wisdom

 

เกี่ยวกับอาจารย์หลิน

อาจารย์ ลินดา ติกกะวี หรือ อาจารย์หลิน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำงานของสมอง ได้รับการรับรองการเป็นผู้ฝึกอบรมระดับ Master Practitioner จากสถาบัน NLP ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับใบรับรองคุณวุฒิด้านการอบรม ระดับ Associate Certified Coach (ACC) จาก ICF (International Coach Federation) หรือสมาพันธ์ผู้อบรมระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรสากลที่ได้รับการยอมรับระดับโลก และมีประสบการณ์ทำงานในระดับกรรมการผู้จัดการของเอเจนซีโฆษณาชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ โดยอาจารย์หลิน ได้รับการยอมรับและประสบความสำเร็จจากการเป็นผู้อบรมระดับ Certified Master Trainer ในหลักสูตร “Building Clients for Life” ของ Andrew Sobel ที่ทำให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองเป็นที่ปรึกษาคู่ใจที่ลูกค้าให้ความไว้วางใจในระยะยาว Certified Trainer ผู้อบรมหลักสูตร “The Leader Speaks” ของ Bluepoint Leadership Development เพื่อพัฒนาทักษะในการพูดและการสื่อสารสำหรับผู้นำ ไปจนถึงการเป็นวิทยากร และที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานชั้นนำทั้งภาครัฐและเอกชนโดยเน้นในส่วนที่เป็นจิตวิทยาการสื่อสาร รวมถึงเป็น Executive Coach ส่วนตัวทั้งในด้านธุรกิจและบุคลิกภาพ ให้กับผู้บริหา