อ.ส.ค. เดินหน้ายุทธศาสตร์สู่ “นมแห่งชาติ”

อ.ส.ค. เดินหน้ายุทธศาสตร์สู่ “นมแห่งชาติ”

ขยายแนวรบ เปิดไลน์สินค้าใหม่ “แลคโตส ฟรี” “นมดีไม่แพ้ ของแท้ไม่ผสม” กับเปิดช่องทางใหม่ๆ ทั้งร้านไทย-เดนมาร์ค มิลค์แลนด์ ร้านใหม่ล่าสุดสาขา 3

 

องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ขยายแนวรบ เปิดไลน์สินค้าใหม่ “แลคโตส ฟรี” “นมดีไม่แพ้ ของแท้ไม่ผสม” กับเปิดช่องทางใหม่ๆ ทั้งร้านไทย-เดนมาร์ค มิลค์แลนด์ ร้านใหม่ล่าสุดสาขา 3 ที่ไอคอนสยาม โซนสุขสยามกับเปิด มิลค์ช็อป เจาะตลาดสถาบันการศึกษา หวังเพิ่มการบริโภคนมให้คนไทยและเดินหน้าสู่ยุทธศาสตร์ “นมแห่งชาติ” ทำยอดขายให้เกิน 1 หมื่นล้านบาทภายในปี 2562 และยกระดับอุตสาหกรรมการเลี้ยงโคนมและการผลิตผลิตภัณฑ์นมทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) พร้อมเตรียมขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์บนกล่องนม ยูเอชที

ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์สุวรรณ ผู้อำนวยการ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เปิดเผยถึงยุทธศาสตร์ “นมแห่งชาติ” ว่า ปัจจุบัน อ.ส.ค. เดินหน้ายุทธศาสตร์องค์กรตามแผนวิสาหกิจของ อ.ส.ค. ปี 2560-2564 สำหรับปีงบประมาณ 2562 ซึ่งเป็นปีที่เราต้องเร่งก้าวไปสู่การเป็น “นมแห่งชาติ” ในปี 2564 ให้ได้ ซึ่งมี 4 ภารกิจ คือ 1. ผลประกอบการทางธุรกิจที่จะต้องทำยอดขายให้ได้ในปี 2562 กว่า 1 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากยอดขายในปี 2561 ที่ขยับขึ้นมาถึง 9,000 กว่าล้านบาทแล้ว 2. การเป็น Top of Mind ของอุตสาหกรรมนม 3. การเป็นศูนย์กลางความรู้เกี่ยวกับโคนมของประเทศไทย 4. การยกระดับการบริหารจัดการองค์กรให้เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีขีดความสามารถสูง”

สำหรับยุทธศาสตร์เพื่อให้บรรลุเป้าขาย 1 หมื่นล้านบาทนั้น ดร.ณรงค์ฤทธิ์ เปิดเผยถึงการขยายแนวรบของแบรนด์นมไทย-เดนมาร์คเพิ่มเติมว่า “ล่าสุด เราเปิดตัวสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดเพิ่มเติม อีกทั้งเป็นเซ็กเม้นท์ที่ตลาดยังว่าง ด้วยผลิตภัณฑ์ “ไทย-เดนมาร์ค แลคโตส ฟรี” (Thai-Denmark Lactose Free) ทางเลือกใหม่ของนมพร้อมดื่ม ยูเอชที ภายใต้ Key Message “นมดีไม่แพ้ ของแท้ไม่ผสม”เจาะตลาดกลุ่มผู้แพ้น้ำตาลแลคโตส ด้วยผลิตภัณฑ์นมไทย-เดนมาร์ค ปราศจากน้ำตาลที่ผลิตจากนมโคสดแท้ 100% ที่นำมาผ่านกระบวนการผลิตพิเศษที่ย่อยแลคโตสให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลที่เล็กลง ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่ายขึ้น ดื่มง่าย สบายท้อง แต่ยังคงความหวานจากน้ำตาลธรรมชาติในนมและมีรสชาติความอร่อยเหมือนนมโคทั่วไป และจะขยายช่องทางการวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อให้ทั่วถึงและครอบคลุมมากขึ้น”  

ณ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม โซนสุขสยาม ชั้น UG เป็นสาขาที่ 3 ต่อจากสาขา 1 ที่ตั้งอยู่ในบริเวณโรงงาน อ.ส.ค. อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี และสาขา 2 ตั้งอยู่ ณ บริเวณตลาด อ.ส.ค. อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี 

ดร.ณรงค์ฤทธิ์ กล่าวว่า ร้าน “ไทย-เดนมาร์ค มิลค์แลนด์”สาขาใหม่ล่าสุดนี้จะทำให้เห็นภาพลักษณ์ที่ทันสมัยของแบรนด์นม ไทย-เดนมาร์ค อีกทั้งเป็นแหล่งแฮงค์เอ้าท์แนวสุขภาพที่สามารถกระตุ้นการบริโภคนมของคนไทยให้มากขึ้น จากสถิติเดิมที่คนไทยบริโภคนมเพียง 18 ลิตร/คน/ปี ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่ต่ำมากๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ และโครงการนี้เป็นการต่อยอดโครงการอาหารเสริม(นม)โรงเรียนที่ อ.ส.ค.ดำเนินการมานาน เนื่องจาก “ไทย-เดนมาร์ค มิลค์แลนด์” จะทำให้เราเข้าถึงคนกลุ่มผู้บริโภคใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดีในทำเลระดับไพรม์ของเมือง ดังนั้น เราจึงมีแผนที่จะเปิด “ไทย-เดนมาร์ค มิลค์แลนด์” ในเมืองต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาค จากเดิมก่อนหน้าที่ อ.ส.ค. ได้เปิด “ไทย-เดนมาร์ค มิลค์ช็อป” ในสถาบันการศึกษา ทั้งระดับโรงเรียน – มหาวิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของเราได้อย่างเต็มที่”

อย่างไรก็ตาม นอกจากการทำตลาดทั้งสินค้าและช่องทางแล้ว ในส่วน Marketing 4.0 อ.ส.ค. ยังเดินตามยุทธศาสตร์ Triple CG - From CG - To CG - By CG ได้แก่ Community Grass หญ้าจากชุมชน   - Consumer Glass นมจากแก้วผู้บริโภค - Corporate Governance  ธรรมาภิบาลขององค์กร ซึ่งเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นน้ำ – ปลายน้ำ ซึ่งกำกับดูแลควบคุมด้วยธรรมาภิบาลขององค์กร พร้อมเดินหน้ายุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDG) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ทั้งนี้ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ กล่าวว่า สำหรับปี 2562 อ.ส.ค. มีแผนที่จะดำเนินการ เพื่อขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint Label) บนกล่องนม ยูเอชที เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคตระหนักและรับรู้ถึงข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมนมไทยในการแข่งขันตลาดโลก เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับสินค้าที่มีการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น โดยก่อนหน้าในปี 2560 อ.ส.ค.ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อขึ้นทะเบียนฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ผลิตภัณฑ์นมไทย-เดนมาร์ค กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัท เอส ไอ จี คอมบิบล็อค จำกัด  

“ในปี 2561 ที่ผ่านมา อ.ส.ค. ได้เก็บข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์นมทั้งโซ่อุปทาน นับแต่ต้นน้ำของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม จนถึงกลางน้ำและปลายน้ำ อันได้แก่ การผลิตของ อ.ส.ค. และการจำหน่ายถึงผู้บริโภค ตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งานและการจัดการซากผลิตภัณฑ์หรือของเสียหลังใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ทั้งนี้ นอกจากเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์จะเป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคแล้ว ยังทำให้ อ.ส.ค.ทราบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์นม ยูเอชที ซึ่งจะสามารถปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น สอดรับเทรนด์การตลาด การค้าและ
เทรนด์การบริโภค ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศได้เริ่มนำฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์มาใช้แล้ว อาทิ อังกฤษ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น ขณะเดียวกัน ยังมีการเรียกร้องให้สินค้าที่นำเข้าจากไทยต้องติดเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ด้วย”

นอกจากนี้  ในปี 2562 อ.ส.ค. ยังจะสนองนโยบายของ กรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการลดขยะถุงพลาสติกในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ซึ่งจากเดิมที่เคยใช้นมพาสเจอร์ไรส์ ซึ่งเป็นถุงพลาสติกมาเป็นนมกล่อง ยูเอชที เนื่องจากเกิดขยะจากถุงพลาสติกวันละหลายตันและกลายเป็นขยะและเป็นภาระที่ต้องกำจัดต่อไป แต่ถ้าใช้กล่องนมก็ยังสามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ โดย อ.ส.ค.ยังมีแผนขยายแคมเปญรีไซเคิลกล่องนมไปทั่วทุกภูมิภาค ด้วยการทำโครงการหลังคาเขียว ซึ่งจะเริ่มกับ โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ระหว่าง อ.ส.ค. – กรุงเทพมหานคร- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงภาคเอกชน ได้แก่ บริษัท เต็ตตร้า แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอส ไอ จี คอมบิบล็อก จำกัด บริษัท ไฟเบอร์พัฒนา จำกัด เป็นต้น