Baania เผยพฤติกรรมผู้บริโภคค้นหาที่อยู่อาศัยผ่านสื่อดิจิทัล

Baania เผยพฤติกรรมผู้บริโภคค้นหาที่อยู่อาศัยผ่านสื่อดิจิทัล

Marketplace และ Data Platform ที่เป็นแหล่งข้อมูลข้านอสังหาริมทรัพย์ด้วยการใช้ Big Data รายแรกของไทย เปิดเผยข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค

 

เวบไซต์ Baania.com เผยข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยผ่านการค้นหาข้อมูลในระบบ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 จนถึงปัจจุบัน พบยอดชมกว่า 8 ล้านเพจวิว เกือบ 70 % เข้าชมผ่านโทรศัพท์มือถือ เนื้อหาที่เป็นที่นิยมสูงสุดคือ ข้อมูลโครงการและแบบบ้าน ในขณะที่บทความและข้อมูลต่าง ๆ ได้รับชมกว่า 1.2 ล้านเพจวิว พบผู้หญิงเข้าค้นหาข้อมูลมากกว่าผู้ชายอย่างมีนัยยะ คือ 61.4 % ของผู้ใช้งานเป็นผู้หญิง  และเกือบ 60% ของผู้ใช้งานเป็นผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียม ด้านช่วงเวลาในการใช้งาน พบความมีการเข้าค้นหาตลอดวัน ทั้งนี้ เวลา 14.00 - 16.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ผู้บริโภคนิยมเข้าค้นหาข้อมูลมากที่สุด

นางสาวอัญชนา วัลลิภากร ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานบริหาร บริษัท บาเนีย (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท Property Tech ผู้ให้บริการด้าน Marketplace และ Data Platform ที่เป็นแหล่งข้อมูลข้านอสังหาริมทรัพย์ด้วยการใช้ Big Data รายแรกของไทย เปิดเผยข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยผ่านการค้นหาข้อมูลใน www.Baania.com ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 จนถึงปัจจุบัน พบว่ามียอดกว่าเข้าชมมากกว่า 8 ล้านเพจวิว โดยร้อยละ 68.6 เข้าชมผ่านโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน ตามมาด้วยคอมพิวเตอร์ร้อยละ 24.1 และแท็บเลตร้อยละ 7.3 ตามลำดับ ในส่วนเนื้อหาที่มีการเข้าชมมากที่สุดคือ ข้อมูลโครงการและแบบบ้าน ขณะที่บทความและข้อมูลต่าง ๆ ได้รับการเข้าชมเกินกว่า 1.2 ล้านเพจวิว

“การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ผู้บริโภคเริ่มต้นจากการค้นหาบนโทรศัพท์มือถือก่อนเป็นส่วนใหญ่ เห็นได้จากตัวเลขการเข้าชมผ่านโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน มากถึง 68.6% อย่างไรก็ตาม เราพบว่า ผู้บริโภคจะเข้าค้นหาข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ต่อ เพื่ออ่านและดูรายละเอียดเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่ต้องการค้นหา เพื่อเปรียบเทียบก่อนการตัดสินใจไปเยี่ยมชมโครงการหรือก่อนตัดสินใจซื้อเสมอ” นางสาวอัญชนากล่าว

นอกจากนี้ บาเนีย (ประเทศไทย) ยังพบว่า สำหรับข้อมูลของผู้เข้าชม ปรากฏว่า เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในสัดส่วนร้อยละ 61.43 ต่อ 38.57 และเมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่ามีคนรุ่นใหม่หรือ มิลเลนเนียน ช่วงอายุระหว่าง 18-34 เข้าใช้งานเกือบร้อยละ 60 ตามมาด้วย คนเจนเอ็กซ์ และวัยผู้ใหญ่ ด้านช่วงเวลาในการค้นหาข้อมูลที่อยู่อาศัย ช่วงเวลา 14.00 – 16.00 น. เป็นช่วงเวลายอดนิยมที่คนเข้าใช้งานมากที่สุด ตามด้วยช่วงกลางวัน 11.00 – 13.00 น. และช่วงเช้า 8.00 – 10.00 น. ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมผู้บริโภคมันจะเข้าหาข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตลอดทั้งวัน โดยช่วงบ่ายจะมีผู้ใช้งานหนาแน่นกว่าเล็กน้อย นางสาวอัญชนากล่าว

นางสาวอัญชนากล่าวเพิ่มเติมว่า “การได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคช่วยให้ ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะสามารถรู้ถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค และรู้ถึงข้อมูลที่ เหมาะกับยุคที่ต้องใช้ Data Driven ในการทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และนำข้อมูล Big Data มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสินค้า ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง และเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เติบโตได้อย่างรวดเร็วขึ้น”

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นการทำธุรกิจขนาดใหญ่ เงินทุนสูง และต้องใช้เวลาในการพัฒนา การปรับแผนงานเป็นเรื่องค่อนข้างยาก เกี่ยวข้องกับผู้คนเป็นจำนวนมาก ต้องการข้อมูลประกอบการตัดสินใจค่อนข้างสูงทั้งในด้านการ

พัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบความต้องการของผู้บริโภค บาเนีย (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัท Property Technology ได้พัฒนาเว็บไซต์ Baania.com ขึ้นมาเพื่อมาตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในด้าน

ของผู้บริโภคคือเป็น Market place ที่มีข้อมูลสมบูรณ์และครบถ้วนที่สุดที่จะทำให้ผู้บริโภคมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการซื้อที่อยู่อาศัยที่ดีที่สุด โดยการตอบโจทย์เป็นรายบุคคลตามความต้องการ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ไม่

เคยรู้มาก่อน ในด้านของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ สถาบันการเงินและธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะได้รู้ถึงพฤติกรรมผู้บริโภค เส้นทางการค้นหาที่อยู่อาศัย (customer journey ) ว่ามีความต้องการสินค้าในรูปแบบใด  ทำเลไหน

และความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างอย่างไร  สามารถที่ใช้ข้อมูลจาก Big Data มาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจพัฒนาโครงการให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค นางสาวอัญชนา กล่าวทิ้งท้าย

 

 

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ บริษัท แอบโซลูท พีอาร์ จำกัด

กรกช ตันสกุล (ปิ๋ม) โทร.061-858-6556 หรือ email: [email protected]

ขวัญพัฒน์ (บี) ตั้งเจิดจรัส โทร.094-414-4694 หรือ email: [email protected]