การประกาศการเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยการแข่งขันของอาเซียน (Launch Negotiations for an ASEAN Framework Agreement on Competition)

การประกาศการเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยการแข่งขันของอาเซียน (Launch Negotiations for an ASEAN Framework Agreement on Competition)

การประกาศการเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยการแข่งขันของอาเซียน (Launch Negotiations for an ASEAN Framework Agreement on Competition)

เมื่อวันที่ 14 – 15 กันยายน 2565 ราชอาณาจักรกัมพูชาได้จัดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic Ministers Meeting) ครั้งที่ 54 ขึ้น โดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (Economic Minister) ได้ประกาศเริ่มต้นการเจรจาสําหรับกรอบข้อตกลงว่าด้วยการแข่งขันของอาเซียน (ASEAN Framework Aagreement on Competition: AFAC) ซึ่งจะเป็นข้อตกลงความร่วมมืออย่างเป็นทางการที่จะช่วยเพิ่มความร่วมมือและอำนวยความสะดวกในการประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในเรื่องนโยบายและกฏหมายการแข่งขัน

 

การประกาศการเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยการแข่งขันของอาเซียน (Launch Negotiations for an ASEAN Framework Agreement on Competition)

การเริ่มต้นเจรจาข้อตกลงนี้

นับเป็นหนึ่งในประเด็นสําคัญของราชอาณาจักรกัมพูชาที่ถูกผลักดันให้ดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จในปีนี้
(Priority Economic Deliverables) นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของพิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) และ แผนปฏิบัติการด้านการแข่งขันของอาเซียน (ASEAN Competition Action Plan 2025) ซึ่งมีเป้าหมายให้มีความร่วมมือเกี่ยวกับนโยบายและกฏหมายการแข่งขันในระดับภูมิภาค
โดยการสร้างข้อตกลงร่วมกันในการบังคับใช้การแข่งขัน เพื่อจัดการกับธุรกรรมทางการค้าข้ามพรมแดนที่จำกัดการแข่งขัน
AFAC มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เป็นธรรมและมีการแข่งขันในอาเซียน ผ่านความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างหน่วยงานกำกับการแข่งขัน
และเพื่อส่งเสริมให้เกิดนโยบายการแข่งขันของอาเซียนที่สอดประสานไปกับนโยบายเศรษฐกิจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ พร้อมทั้งกำหนดให้มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับปัญหาการแข่งขันบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันทั้งภูมิภาค

 

การประกาศการเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยการแข่งขันของอาเซียน (Launch Negotiations for an ASEAN Framework Agreement on Competition)
 

เมื่อเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนในภูมิภาคมีการบูรณาการกันมากขึ้น ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานการแข่งขันจึงมีความสําคัญมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากจะช่วยประหยัดทรัพยากรในการจัดการปัญหาด้านการแข่งขันและไม่ก่อให้เกิดความซ้ำซ้อนในการบังคับใช้กฏหมายในคดีการแข่งขันเดียวกัน
ความร่วมมือดังกล่าวยังช่วยให้เกิดการแบ่งปันประสบการณ์และช่วยเหลือระหว่างกันในการพิจารณาคดีการแข่งขันให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน หรืออย่างน้อยคำตัดสินของคดีดังกล่าวจะไม่ขัดแย้งซึ่งกันและกันเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดทำกรอบความตกลง
ผู้นำสูงสุดของหน่วยงานกำกับการแข่งขันของอาเซียน จึงได้ประชุมหารือร่วมกันเพื่อพัฒนาหลักการพื้นฐานสําหรับการเจรจาข้อตกลง AFAC และได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการแข่งขันของอาเซียน ซึ่งหลักการพื้นฐานดังกล่าวได้รับการรับรองจาก AEM เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) และสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สำนักงานกขค.) โดยฝ่ายกิจการต่างประเทศมีส่วนร่วมในการประชุมหารือพัฒนาหลักการพื้นฐานสําหรับการเจรจาข้อตกลง AFAC มาโดยตลอด และเมื่อการเจรจาเริ่มขึ้นทั้ง กขค. และ สำนักงาน กขค. จะเข้าร่วมเจรจาเพื่อกำหนดให้มีกรอบข้อตกลงว่าด้วยการแข่งขันของอาเซียนที่สามารถยกระดับการกำกับการแข่งขันและเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เป็นธรรมและมีการแข่งขันในอาเซียน อันจะยังประโยชน์ต่อผู้ประกอบการของประเทศไทยที่ต้องแข่งขันในตลาดอาเซียนต่อไป