เช็ค! ข้อห้ามปฏิบัติ 1 ก.ย. เปิดร้านอาหารแบบนั่งทาน

เช็ค! ข้อห้ามปฏิบัติ 1 ก.ย. เปิดร้านอาหารแบบนั่งทาน

สธ.คลอดแนวปฏิบัติCOVID Free Setting  “เปิดร้านอาหารปลอดภัย” นำร่องก.ย. 1 เดือน ยังงด “บุฟเฟ่” – จำกัดนั่งกินไม่เกิน 1 ชั่วโมง คาด 1 ต.ค.บังคับต้องมี “Covid Free Pass” พนักงาน-ลูกค้าก่อนใช้บริการ  ต้องฉีดวัคซีนครบโดส – ผลตรวจATKลบ  

    เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่  1 ก.ย. 2564  ในการแถลงสถานการณ์โควิด 19 ของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ประเด็น “มาตรการปลอดภัยสำหรับร้าอาหารและสถานประกอบการ” นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ตั้งแต่ 1 ก.ย. 2564 เป็นวันเริ่มต้นข้อกำหนดฉบับที่ 32 มีการปรับมาตรการและการกำหนดทิศทางในอีก 1 เดือนข้างหน้า โดยในส่วนของมาตรการร้านอาหาร ข้อที่เป็นประเด็นเรื่องการนั่งบริโภคในร้านอาหาร โดยพื้นที่อื่นๆ แนวปฏิบัติยังเหมือนเดิม

      มีเฉพาะพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดหรือสีแดงเข้ม ซึ่งเดิมไม่อนุญาตให้บริโภคในร้าน แต่จำหน่ายแบบเดลิเวอรี  มีการปรับเป็นให้นั่งบริโภคในร้านได้ไม่เกิน 20.00 น.  โดยมีการกำหนดในห้องปรับอากาศไม่เกิน 50% ของที่นั่งปกติ และพื้นที่อากษสระบายถ่ายเทได้ดีไม่เกิน 75 %ของที่นั่งปกติ รวมทั้ง ต้องปฏิบัติตนระมัดระวังตนเองขั้นสูงสูดหรือแบบครอบจักรวาล ตามหลัก Universal Prevention)

   ในส่วนของมาตรการที่สธ.กำหนดสำหรับการจะบังคับใช้ในอนาคต ซึ่งได้กำหนดระยะเวลาหลังข้อกำหนดที่บังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.ย. จะมีการประเมินผล 1 เดือน ถ้าสถานการณ์เป็นตามกำหนด ศบค.อาจจะมีการพิจารณาให้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 1ต.ค. เป็นต้นไป มีมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร หรือ Covid Free Setting สำหรับร้านอาหาร ในกรณีในห้องปรับอากาศหรือในพื้นที่เปิดที่อากาศสามารถระบายถ่ายเทได้ดี เช่น ร้านอาหารขนาดเล็ก หาบเร่ แผงลอย รถเข็น ทั้งนี้ บังคับมาตรการนี้กับร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์หรือสถานประกอบการอี่นที่มีลักษณะคล้ายกันด้วย

   

    

163048383249

  สำหรับหลักการของมาตรการ Covid Free Setting มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ 1.มาตรการสภาพแวดล้อม เรื่องสุขอนามัย สะอาด ปลอดภัย  ทำความสะอาด โต๊ะ ที่นั่งทันทีหลังให้บริการ ทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมและห้องน้ำทุก 1-2 ชั่วโมง จัดอุปกรณ์รับประทานอาหารเฉพาะบุคคล  งดจัดบริการอาหารรูปแบบผู้บริโภคบริการตนเอง เช่น บุฟเฟ่ จัดบริการเจลแอลกอฮอล์ประจำโต๊ะ  เรื่องการรักษาระยะห่าง เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และโต๊ะรับประทานอาหาร 1-2 เมตร
     หากพื้นที่จำกัด มีระยะไม่ถึง
1 เมตรให้ทำฉากกั้น  พื้นที่มีเครื่องปรับอากาศเว้นระยะระหว่างโต๊ะ 2 เมตร จัดพื้นที่ไม่ให้แออัด ไม่นั่งตรงข้ามกัน พื้นที่ที่มีเครื่องปรับอากาศนั่งได้ 50 % พื้นที่เปิดนั่งได้ 75 % จำกัดระยะเวลารับประทานอาหารไม่เกิน 1 ชั่วโมงเพราะต้องการไปรับประทานอาหาร ไม่ใช่ไปสังสรรค์ และเรื่องการระบายอากาศ เปิดประตู หน้าต่างอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ก่อนเปิด ปิดระบบปรับอากาศ มีการระบายอากาศที่เหมาะสมต่อจำนวนคน พื้นที่ปรับอากาศให้เปิดระบายอากาศในพื้นที่รับประทานอาหารทุก 1 ชั่วโมง และห้องน้ำควรมีระบบระบายอากาศที่ดี

2.มาตรการผู้ให้บริการ สิ่งที่กำหนดให้ดำเนินการเพิ่มคือต้องคัดกรองความเสี่ยงพนักงานทุกวันด้วยเวบแอปไทยเซฟไทย หรือแอปอื่นๆ  ต้องยกระดับการป้องกันส่วนบุคคลเป็นแบบครอบจักรวาลร่วมกับมาตรการใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง เป็นต้น  โดยเน้นย้ำให้ร้านกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบกำกับติดตามพนักงานทุกคน และงดการรวมกลุ่มหรือรับประทานอาหารร่วมกัน นอกจากนี้ มีข้อกำหนดที่จะบังคับใช้ในอนาคตซึ่งคาดว่าจะเริ่มตั้งแต่  1 ต.ค. 2564 คือ   พนักงานทุกคนต้องมีภูมิคุ้มกัน โดยจะต้องฉีดวัคซีนครบโดส หรือมีประวัติติดเชื้อใน ช่วง 1-3 เดือน และต้องจัดหา ATK ให้พนักงานตรวจทุก 7 วันหรือตามความเสี่ยงทั้งนี้ขึ้นกับคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานครกำหนดเป็นอื่นกรณีพบเหตุการณ์เพิ่มความเสี่ยง

    และ3.มาตรการผู้รับบริการ  ยังคงต้องมีการคัดกรองความเสี่ยงด้วยเวบแอปไทยเซฟไทย หรือแอปอื่นๆที่ร้านหรือเจ้าของร้านอาหารสามารถนำมาใช้ ปฏิบัติมาตรการป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด  แต่สิ่งที่จะบังคับใช้ในอนาคตคาดว่าจะเริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค. คือ ลูกค้าต้องมีใบรับรองหรือยืนยัน Covid Free Pass ก่อนเข้ารับบริการ โดยเฉพาะร้านที่มีเครื่องปรับอากาศ โดยเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนครบโดส หรือมีประวัติเคยติดเชื้อในช่วง 1-3 เดือน หรือตรวจATKไม่พบเชื้อ   163048384811

      นพ.สุวรรณชัย กล่าวอีกว่า ตั้งแต่ 1 ก.ย. 2564  ผู้ประกอบการในพื้นที่สีแดงเข้มเปิดได้ตามปกติ ไม่ต้องตรวจATK เป็นประจำ แต่เน้นว่าช่วงเดือนก.ย.ให้ร้านหรือผู้ประกอบการเตรียมความพร้อมและตรวจตามความพร้อมของร้านอาหารหรือผู้ประกอบการ เน้นยังคงยึดมาตรการป้องกันอย่างเข้มข้น ในส่วนของพนักงานไม่ต้องฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแต่ร้าอาหาร ผู้ประกอบการ พนักงานควรเร่งรัดให้ไปรับวัคซีนให้ครบภายในก.ย. ทั้งนี้ทั้งนั้น คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพฯ อาจจะออกประกาศบังคับใช้เพิ่มมากกว่าข้อกำหนดได้ตามสถานการณ์ของโรคระบาดหรือการรองรับระบบสาธารณสุขของจังหวัดนั้น

      “ 29 จังหวัดสีแดงเข้มยังมีความเสี่ยงการแพร่ระบาดมากอยู่ แต่ข้อกำหนดให้ร้านอาหารสามารถเปิดให้นั่งบริโภคในร้านได้ ภายใต้ความรับผิดชอบของร้านหรือผู้ประกอบการ ผู้ไปใช้บริการก็ต้องร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการ และการกำกับดูแลของจังหวัดต้องจริงจังและเข้มข้น เพื่อลดผลกระทบของผู้ประกอบการร้านอาหารทุกระดับ ควบคู่ไปกับสมดุลในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด”นพ.สุวรรณชัยกล่าว  

     ต่อข้อถามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ไปใช้บริการร้านอาหารกับผู้ปกครองในห้างสรรพสินค้าได้หรือไม่ นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า สามารถไปใช้บริการได้ แต่ในพื้นที่สีแดงเข้ม จำนวนผู้ติดเชื้อยังคงมากกว่า 1 หมื่นกว่ารายต่อวัน มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิดในระดับที่สูง เพราะฉะนั้นในเด็กเล็ก เด็กนักเรียนหรือกลุ่มเด็กที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเพราะวัคซีนกำหนดให้ฉีดในกลุ่ม 12-18 ปีที่มีในประเทศไทยมีชนิดmRNA ที่เป็นของไฟเซอร์ ส่วนอายุต่ำกว่า 12 ปีไม่มีวัคซีนขึ้นทะเบียนในประเทศไทยให้ฉีดกลุ่มนี้ เพราะฉะนั้นผู้ปกครองที่จะพาเด็กไปรับประทานอาหารตามร้าน ต้องประเมินความเสี่ยงในการติดเชื้อเมื่อไปรับประทาน ถ้าสามารถป้องกันและร้านปฏิบัติมาตรการเป็นที่น่าเชื่อถือ ก็ไปได้ ก็ต้องรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น แต่ถ้าจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงก็สั่งเดลิเวอรี่มาทานที่บ้านก็ปลอดภัยกว่า

163048386532

       ถามถึงสธ.มีการติดตามประเมินผลร้านอาหารหลังมีการเปิด นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า  การที่ข้อกำหนดออกมาแล้ว ความสำเร็จในเรื่องการพยายามควบคุมให้โควิด 19 อยู่ในระดับที่ระบบสาธารณสุขจะรองรับได้ ไม่ได้เกิดจากฝ่ายรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว ต้องอาศัยความร่วมมือและความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ พนักงาน ลูกค้าที่ใปใช้บริการ  โดยร้านต้องรับผิดชอบด้วยการประเมินตนเองผ่านแอปไทยเซฟไทยหรือแอปอื่น เพื่อคัดกรองความเสี่ยงทั้งประวัติเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงและอาการเสี่ยง  

      ถ้าร้านประเมินตนเองแล้วผ่าน ก็สามารถพิมพ์เอกสารรับรองการดำเนินการตามมาตรการกำหนดและปิดป้ายที่หน้าร้านให้ประชาชนไปใช้บริการเห็นชัด COVID Free Setting เพื่อที่ประชาชนสามารถแยกแยะได้ร้านไหนปฏิบัติตามมาตรการ และประชาชนจะต้องช่วยกัน หากพบเห็นร้านอาหารไม่ได้มีการดำเนินการตามมาตรการที่กำหนด สามารถสแกนคิวอาร์โค้ด และแจ้งข้อมูลกลับมายังกรมอนามัย ซึ่งจะนำส่งข้อมูลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขระดับจังหวัดเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ถ้าไม่มีการติดต่อก็อาจจะเกิดการแพร่ระบาดขึ้นมาอีกในพื้นที่สีแดงเข้ม