ธปท.เผยข้อมูลเฟสบุ๊กชี้กิจกรรมเศรษฐกิจส.ค.ชะลอ

ธปท.เผยข้อมูลเฟสบุ๊กชี้กิจกรรมเศรษฐกิจส.ค.ชะลอ

ธปท.เผยข้อมูลเร็วจากเฟสบุ๊กและการพูดคุยกับผู้ประกอบการพบ แนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเดือนส.ค.ยังถูกกดดันจากโควิด-19 โดยการใช้จ่ายลดลงถาวร ขณะที่ จับตาการส่งออกจะขยายตัวหนุนเศรษฐกิจได้แค่ไหน

นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เปิดเผยแนวโน้มเศรษฐกิจในเดือนส.ค.ว่า จากข้อมูลเร็วของเฟสบุ๊กและการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการพบว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังถูกกดดันจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ยังรุนแรงและคงต้องติดตามผลของเดือนก.ค.เรื่องการขาดแคลนวัตถุดิบและการแพร่ระบาดโควิด-19 ในโรงงาน รวมถึง การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์จะมีการแก้ปัญหาและการกลับมาของกิจกรรมเศรษฐกิจจะซัพพอร์ตการส่งออกได้แค่ไหน

“กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ประเมินจากการใช้ข้อมูลเฟสบุ๊กจะเห็นว่า ในช่วงวันที่ 1-15 ส.ค.ปรับปรับลดลงกว่าช่วงเดือนก.ค.สะท้อนมาตรการคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้นและการแพร่ระบาดในต้นเดือนทะลุ 2 หมื่นคน ทำให้ความเชื่อมั่นกระทบด้วย”

ทั้งนี้ จากการพูดคุยกับผู้ประกอบการพบว่า บางภาคการผลิตและการค้าบริการยังได้รับผลกระทบ โดยภาคผลิตอาจทรงๆ แต่ว่าการส่งออกขยายตัวได้ แต่มีปัญหาเรื่องของการขาดแคลนปัจจัยการผลิต ขณะที่ การจ้างงานปรับตัวได้ ส่วนภาคการค้าได้รับผลกระทบมากขึ้นจากเดือนก่อน โดยยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภครายเล็กใหญ่เริ่มได้รับผลกระทบแล้ว และการจ้างงานลดลง

สำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์นั้น แย่ลงจากมาตรการคุมไซค์การก่อสร้าง และกำลังซื้อยังอ่อนแอ แต่การจ้างงานไม่ได้ปรับลดใดๆ ส่วนภาคบริการในแง่การดำเนินธุรกิจได้รับผลกระทบทั้งฝั่งโรงแรมและร้านอาหาร ด้านการขนส่งสินค้ารายได้ลดลง เพราะมีปัญหาเรื่องการขนส่งเข้าออกพื้นที่สีแดงเข้ม ส่วนจ้างงานอาจไม่ได้รับกระทบเท่าไหร่ เพราะการจ้างงานน้อยอยู่แล้ว

นอกจากนี้ ยังได้พูดคุยอีกว่า เหตุใดธุรกิจไม่กลับมาสู่ระดับเดิมได้ โดยเห็นว่า เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ การใช้จ่ายที่ลดลง ทั้งกำลังซื้อ และ การระบาดโควิด-19 ที่กระทบเชื่อมั่นแย่ลง และมีมาตรการคุมเข้ม ทำให้การจับใช้จ่ายสอยลดลง ขณะเดียวกัน ภาคการผลิต ก็เจออุปสรรคทั้งการนำเข้าและส่งออกจากการเดินเรือที่ยังไม่กลับภาวะปกติ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ

ขณะเดียวกัน ยังพบว่า ในบางกลุ่มเห็นพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยส่วนใหญ่เป็นภาคการค้าและบริการ โดยผู้บริโภคลดการใช้จ่ายค่อนข้างถาวร และ บางกลุ่มปรับตัวไปซื้อสินค้าออนไลน์ ขณะที่ ผู้ผลิตยังปรับตัวไม่ทัน ทำให้ไม่สามารถปรับตัวได้

สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจในเดือนก.ค.นั้น แย่ลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจพบว่า ได้รับผลกระทบจากโควิด-19จากเดือนก่อนและรุนแรงกว่า โดยด้านการบริโคภเอกชนลดลงมากจากกำลังซื้ออ่อนแอและมาตรการคุมระบาดที่เข้มงวดขึ้น แม้ว่า ที่ผ่านมา อาจจะมาตรการภาครัฐช่วยพยุง แต่ช่วยได้เพียงบางส่วน ทำให้การบริโภคที่อ่อนแอ

ส่วนการลงทุนภาคเอกชนก็ลดลงจากอุปสงค์ที่อ่อนแอลงด้วย ความเชื่อมั่นธุรกิจก็อ่อนแอ ด้านส่งออกเริ่มเห็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19ในประเทศคู่ค้า อาจได้รับผบกระทบจากปัญหา supply disruption ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงจากอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอและการส่งออก สำหรับผลผลิตสินค้าเกษตรปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาจากผลผลิตข้าวนาปรังมีปริมาณน้ำในเขื่อนไม่พอ ส่วนนักท่องเที่ยวเห็นเข้ามาเพิ่มบ้างแต่ดัชนีการผลิตในภาคบริการยังต่ำและลดลงต่อเนื่องจากการจับจ่ายใช้สอยในประเทศที่ลดลง