Bank Sector (26 ส.ค.64)

Bank Sector (26 ส.ค.64)

การกลับมาจ่ายเงินปันผลเป็นสัญญาณที่ดี

Event

งบดุลเดือนกรกฎาคม 2564

Impact

ธนาคารส่วนใหญ่มีเงินฝากไหลเข้าเพิ่มขึ้น โดย KTB เพิ่มขึ้นมากที่สุด

เมื่อพิจารณาเป็นรายธนาคาร เราพบว่า KTB มีเงินฝากไหลเข้ามาที่สุด (+3.4% MoM และ +5%YTD) รองลงมาคือ KBANK และ BBL (โตเท่ากันที่ +1.2% MoM และ 7% YTD) ธนาคารนำเงินฝากที่ไหลเข้าส่วนใหญ่ไปปล่อยกู้ในตลาดเงิน ในขณะที่สถานการณ์ลงทุนในพอร์ตลงทุนยังค่อนข้างทรงตัวจาก
เดือนก่อนหน้า การที่ KTB มีเงินฝากไหลเข้าจำนวนมาก จึงปล่อยกู้ในตลาดเงินมากตามไปด้วย โดยสถานะการปล่อยกู้ในตลาดเงินเพิ่มขึ้นถึง 34% MoM และ 36% YTD เราคิดว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงการที่ KTB ทำหน้าที่ดำเนินกระบวนการสำหรับกิจกรรมของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจในช่วงที่ COVID-19 ระบาด

นำสภาพคล่องส่วนเกินไปปล่อยกู้ในตลาดเงิน และขยายพอร์ตการลงทุน

เราคิดว่าการที่มีเงินฝากไหลเข้า BBL และ KBANK เพิ่มขึ้นสะท้อนถึงการที่ลูกค้าส่วนใหญ่ปรับสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์ในช่วงที่ COVID-19 ระบาด โดยลดการถือครองสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง มาเพิ่มสัดส่วนสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ/เงินฝากธนาคารแทน สถานการณ์นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วใน 2Q63 ตอนที่ COVID-19 ระบาดระลอกแรก ทั้งนี้ BBL นำสภาพคล่องส่วนเกินจากเงินฝากที่ไหลเข้าไปขยายพอร์ตการลงทุน ในขณะที่ KBANK นำไปปล่อยกู้ในตลาดเงิน

สินเชื่อของ KBANK, BBL และ KTB ขยายตัว

ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 ที่ระบาดหนักในระลอกสามช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม และธนาคารส่วนใหญ่ขยายสินเชื่ออย่างระมัดระวัง แต่สินเชื่อของ KBANK ยังขยายตัวในระดับเดิมที่ +2% MoM และ 8% YTD ในขณะที่สินเชื่อของ KTB สะท้อนถึงการปล่อยกู้ให้กับภาครัฐ ส่วนสินเชื่อของ BBL ขยายตัวเพียงเล็กน้อย +<1% MoM และ 2% YTD ในขณะที่ของ SCB, TISCO และ KKP ลดลงเล็กน้อย MoM แต่ยังเพิ่มขึ้นเล็กน้อย YTD

สัญญาณของกลุ่มธนาคารมีทั้งบวกและลบ…

หลังจากที่ COVID-19 กลับมาระบาดหนักในระลอกที่สามช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม และคาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป เรามองว่า SCB เตรียมตัวไว้พร้อมสำหรับโครงการผ่อนผันหนี้ของ ธปท. ที่เปิดช่องให้ธนาคารคงสถานะสินเชื่อ และยอดกันสำรองเอาไว้เท่าเดิมได้ โดย SCB ประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 1.43 บาท/หุ้น แสดงถึงการบริหารเงินทุนและคุณภาพสินทรัพย์ได้ดี อย่างไรก็ตาม KBANK ประกาศแผนออกพันธบัตรแบบไม่มีกำหนดอายุ (perpetual bond) 350 ล้านดอลลาร์ฯ เพื่อเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 ซึ่งแสดงถึงสัญญาณลบในด้านความเพียงพอของเงินกองทุน ทั้งนี้
ในสถานการณ์ที่ COVID-19 พลิกมาเป็นบวก เราชอบหุ้นธนาคารใหญ่มากกว่า และเพิ่ม SCB เข้ามาในรายการหุ้นเด่นของเราในกลุ่มธนาคร รองลงมาคือ BBL และ KBANK ตามลำดับ

Risks

NPL และยอดกันสำรองเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง, ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเร่งตัวขึ้น