โจทย์สินค้าเกษตร หลังโควิด-19 ยกระดับป้องเชื้อปนเปื้อน

โจทย์สินค้าเกษตร หลังโควิด-19 ยกระดับป้องเชื้อปนเปื้อน

เป็นไปไม่ได้เลยที่เชื้อโควิด-19 จะซึมเข้าไปในเนื้อสัตว์ ผักหรือผลไม้ แต่โอกาสปนเปื้อนมีสูง จากการสัมผัสของผู้ติดเชื้อหรือเชื้อที่ยังอยู่ในสภาพอากาศ กรณีที่พบปนเปื้อนทุเรียนไทยในจีน ที่สุดแล้วก็พิสูจน์ได้ว่าไม่ได้เกิดจากห่วงโซ่การผลิตของไทยแต่อย่างใด

ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า โจทย์การค้าหลังโควิด-19นั้นเป็นเรื่องสำคัญ เพราะคาดว่าจะมีกฎเกณฑ์ของประเทศผู้นำเข้าต่างๆตามมาอีกมากมาย แต่ปัจจัยหลักๆแล้วคาดว่าจะเป็นในด้านของความปลอดภัยที่เข้มงวดมากขึ้น ดังนั้นกระทรวงเกษตรฯจึงต้องยกระดับมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อของสินค้าเกษตรในทุกกระบวนการให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิมเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เริ่มตั้งแต่ การผลิต โดยตัวของเกษตรกรเอง ต้องบริหารจัดการฟาร์มทำความสะอาดพื้นที่และสวนเกษตร มาตรการสำหรับผู้ประกอบการสถานประกอบการโรงคัดบรรจุผลไม้ (ล้ง) และมาตรการสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเกษตร มีการเฝ้าระวัง ตั้งแต่การพ่นยาฆ่าเชื้อตั้งแต่ต้นทางจากสวน จนถึงระบบขนส่ง พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ภายในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชของกรมวิชาการเกษตร ติดตามกำกับดูแลที่โรงคัดบรรจุให้ปฏิบัติตามมาตรการ และตรวจสอบใบรับรองการทำเกษตรที่ดีและเหมาะสม GAP และศัตรูพืช เพื่อออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้แก่ผู้ประกอบการส่งออกอย่างเคร่งครัด โดยยึดตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)

162981077185

ด้านปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ได้ประสานกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ส่วนราชการในพื้นที่ และผู้ประกอบการ ให้มีมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ในโรงงาน และตรวจสอบประสิทธิภาพในการควบคุมความปลอดภัยอย่างเข้มงวด มีการเก็บสินค้าตัวอย่าง หากพบมีความเสี่ยงหรือปนเปื้อนเชื้อ กรมปศุสัตว์จะไม่อนุญาตให้ทำการจำหน่ายหรือส่งออกในทันที

นอกจากนี้ โรงานผลิตที่มีขอบเขตพื้นที่ชัดเจน หากพบการติดเชื้อของพนักงาน ให้คัดแยกผู้ติดเชื้อออกได้อย่างรวดเร็ว เพื่อกักตัวในพื้นที่ที่จัดไว้เพื่อเป็นการยกระดับความเข้มข้นของการเฝ้าระวังและป้องกันเพื่อควบคุมเชื้อและการปนเปื้อนต่างๆภายใต้มาตรการบับเบิลแอนด์ซีล (Bubble and Seal)

สำหรับสินค้าประมง กรมประมงได้เข้มงวดระบบการควบคุมตรวจสอบ ตั้งแต่ต้นทาง เช่น เรือประมง มีการผ่านการตรวจสอบ มาตรฐานสุขอนามัย วัตถุดิบที่นำเข้าโรงงาน กระบวนการในการแปรรูป การบรรจุ ตามมาตรฐาน GMP และ HACCP เพื่อให้ระบบคุณภาพของโรงงานและผลิตภัณฑ์เป็นไปตามมาตรฐานสากล

1629810833100

 “การเฝ้าระวังทั้งหมด ไม่ได้เฉพาะสินค้าที่จะส่งออกไปจีนเท่านั้น แต่ต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดในทุกตลาด กรณีที่จีนแจ้งเตือนมานั้นเป็นบทเรียนสำคัญที่ต้องนำมาวิเคราะห์ หาแนวทางแก้ไข รวมทั้งคาดการณ์ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระยะต่อไป เพื่อปรับกระบวนการเตรียมรับผลกระทบในทุกทาง” นายทองเปลว กล่าว

ล่าสุดได้กำชับให้สำนักงานเกษตรในต่างประเทศ ประสานงานกับสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ เร่งทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรไทยปราศจากการปนเปื้อนเชื้อโควิด-19อย่างแน่นอน

ทั้งหมดคือโจทย์ที่ท้าท้ายของกระทรวงเกษตรฯในการเดินหน้ายกระดับมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อในสินค้าเกษตรทั้งระบบ เพื่อปกป้องและรักษาตลาดส่งออกสินค้าเกษตรไทยในตลาดโลกแบบยั่งยืนในอนาคต

 

ล่าสุดได้กำชับให้สำนักงานเกษตรในต่างประเทศ ประสานงานกับสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ เร่งทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรไทยปราศจากการปนเปื้อนเชื้อโควิด-19อย่างแน่นอน

ทั้งหมดคือโจทย์ที่ท้าท้ายของกระทรวงเกษตรฯในการเดินหน้ายกระดับมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อในสินค้าเกษตรทั้งระบบ เพื่อปกป้องและรักษาตลาดส่งออกสินค้าเกษตรไทยในตลาดโลกแบบยั่งยืนในอนาคต