หุ้นแบงก์พร้อมช้อปลงทุน ปัจจัยหนุน –  มูลค่าหุ้นจูงใจ

หุ้นแบงก์พร้อมช้อปลงทุน  ปัจจัยหนุน –  มูลค่าหุ้นจูงใจ

ต้องยอมรับเลยว่า “หุ้นกลุ่มแบงก์ “ ไร้เสน่ห์น่าสนใจลงทุน  จากวิกฤติโควิด -19 ที่เข้ามากระทบในระลอก 3  จนทำให้มูลค่าหุ้นทั้งกลุ่มลงมาซื้อขายในระดับที่ต่ำกว่าในอดีตค่อนข้างมาก

แต่หลังจากมีสัญญาณเปิดเมืองเดือนก.ย. ออกมาหุ้นกลุ่มแบงก์กลับเป็นหุ้นที่พลิกมาน่าสนใจลงทุนมากที่สุดเพราะอะไร ?

ปัจจัยลบที่คอยกดดันคือ “หนี้เสียในระบบที่ส่งสัญญาณแล้วว่ามีแต่เพิ่มขึ้นจากมาตรการล็อกดาวน์หลายระลอกที่ทำให้รายได้สะดุด  ลดการจ้างงานหรือลดค่าจ้างจนนำไปสู่การปิดกิจการได้   ทำให้มีการประเมินว่ามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้มีออกมาต้องต้องแรงและถึงมือลูกหนี้จริงซึ่งจะกระทบสถาบันการเงินต้องเกิดขึ้น

มาตรการดังกล่าวธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีการประกาศออกมาเป็นระยะตั้งแต่พักหนี้พักดอกเบี้ย 2 เดือน (ก.ค.-ส.ค. 64) แต่ยังไม่เพียงพอกับสถานการณ์เศรษฐกิจทำให้ ธปท.ต้องเสริมให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้แบบยั่งยืน เช่น ลดดอกเบี้ย ตัดหนี้และดอกเบี้ยบางส่วน (แฮร์คัดหนี้ )  เป็นต้น

จนทำให้เกิดความกังวลในหุ้นกลุ่มแบงก์จะเจอหนี้เสียสะสมมากขึ้น และแบงก์ก็จะไม่กล้าปล่อยสินเชื่อใหม่เพราะถูกปัจจัยเสี่ยงกดทับไว้   จึงไม่น่าแปลกใจที่ราคาหุ้นในกลุ่มนี้จะซื้อขายในระดับมูลค่าที่ต่ำมาตลอด  สะท้อนได้จากอัตรากำไรต่อหุ้น (EPS)  หุ้นในกลุ่มส่วนมากซื้อขายต่ำกว่ากลุ่ม  หรือมูลค่าหุ้นทางบัญชี (PBV)  ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี  ท่ามกลางอัตราการจ่ายปันผลที่จูงใจระดับเฉลี่ย 3-4 % นั้นเพราะแนวโน้มธุรกิจมีความเสี่ยงมากกว่าปัจจัยบวก

จนสมาคมธนาคารไทยและธปท. ออกมาชี้แจงในช่วงเวลาไล่เรี่ยกันถึงแนวทางดังกล่าว  ไม่ได้บังคับให้สถาบันการเงินใช้มาตรการแฮร์คัทหนี้กับลูกหนี้ทุกราย หรือลูกหนี้ทุกรายจะต้องได้รับการแฮร์คัทหนี้ แต่ให้เป็นการช่วยเหลือสอดคล้องกับปัญหาด้านรายได้ เช่น ในช่วงต้นลูกหนี้อาจจะรายได้ยังไม่กลับมามาก ก็ขอให้สถาบันการเงินให้ลูกหนี้ผ่อนชำระในอัตราที่ไม่สูง ก่อนค่อย ๆ ทยอยปรับเพิ่มขึ้น แต่ไม่ใช่การเลื่อน หรือพักหนี้เป็นการชั่วคราว

ต่อด้วยการลดต้นทุนทางการเงินให้กับสถาบันการเงินเกิดความคล่องตัว “กล้าปล่อยสินเชื่อ มีทั้งคงการจัดชั้นชั่วคราวยาวไปถึงสิ้นปี 2565 สำหรับลูกหนี้รายย่อยและเอสเอ็มอีที่เข้าโครงการปรับโครงสร้างนี้ทำให้ลดภาระการตั้งสำรองฯของหุ้นธนาคาร

โดยเสริมการจัดชั้นและการกันเงินสำรองแบบยืดหยุ่นไปจนถึงสิ้นปี 2566 กรณีมีการช่วยเหลือลูกหนี้  และสุดท้าย ขยายเวลาการปรับลดการนำส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟู (FIDF)ของสถาบันการเงินไว้ที่ 0.23 % ไปจนถึงสิ้นปี 2565  ซึ่งมาตรการดังกล่าวถือว่ามากเพียงพอที่จะทำให้นายแบงก์สบายใจในการเข้าช่วยเหลือลูกหนี้และรับหนี้เสียเพิ่มขึ้นในอนาคตได้

ดังนั้นราคาหุ้นกลุ่มแบงก์ปรับตัวขึ้นทันทีจากประเด็นดังกล่าวบวกกับมูลค่าหุ้นที่ถูกกดจนต่ำมานาน จึงเป็นจุด “ลงทุน  สำหรับกองทุน-สถาบัน เพื่อรับกับการเปิดเมืองในอนาคต  ในมุมมองของโบรกเกอร์ต้องมีการปรับแนวโน้มลงทุนอีกครั้งสำหรับหุ้นในกลุ่มนี้

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ แนะนำ ถือลงทุน หุ้นกลุ่มแบงก์ในช่วงต้นเดือน ส.ค.  เริ่มมีความหวังมากขึ้นหลังมีวัคซีนเข้ามา  โดยเชื่อหลังฉีดวัคซีนให้ประชากรได้ครอบคลุมจะทำให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวเหมือนในหลายๆ ประเทศ และยังเชื่อ ว่าฐานะธนาคารปัจจุบันแข็งแกร่งกว่าวิกฤติต้มยำกุ้งอย่างมาก

การเตรียมความพร้อมรองรับความไม่แน่นอนผ่านการตั้งสำรองส่วนเกินน่าจะลดผลกระทบของวิกฤติครั้งนี้ได้มากระดับหนึ่ง ขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารเทรดต่ำเพียง 0.58 เท่า (BV) ดังนั้นจึงมองข้ามไปถึงปี 2565 มองเศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัว กำไรของกลุ่มธนาคารจะค่อยๆ ดีขึ้นในระยะยาว

โดยให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคาร คือ BBL( 151บาท) , KBANK (158 บาท) เชื่อผลประกอบการปีนี้โตโดดเด่นสุด และ TISCO (110 บาท) ถือเป็นธนาคารที่มีความสามารถในการทำกำไรสูงสุดในระบบ  มีเงินกองทุนแข็งแกร่งสุด มี Coverage ratio สูงสุด และอัตราเงินปันผลจ่ายสูงสุดในระบบ