'Circular Meal' มื้อนี้เปลี่ยนโลก มอบอาหารผู้ด้อยโอกาสในชุมชนกทม.

'Circular Meal' มื้อนี้เปลี่ยนโลก มอบอาหารผู้ด้อยโอกาสในชุมชนกทม.

'Circular Meal' มื้อนี้เปลี่ยนโลก นำอาหารส่วนเกินคุณภาพดีทั้งวัตถุดิบและอาหารแช่แข็ง ไปส่งมอบให้กับชุมชนต่างๆ ทั่วกทม.ลดปัญหาความลำบากของผู้ด้อยโอกาสในยุคโควิด-19

  • 'Circular Meal' ลดขยะ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

ธนาภรณ์ อ้อยอิสรานุกุล ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ SOS เล่าว่ามูลนิธิฯ จะวางแผนจัดสรรวัตถุดิบอย่างเหมาะสมและเพียงพอกับจำนวนคนในชุมชน หรือปรุงเป็นอาหารกล่องผ่าน 'ครัวรักษ์อาหาร' ของมูลนิธิฯ หรือครัวกลางของชุมชน และนำไปแจกจ่ายและแยกบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำไปจัดการต่อไม่ให้เกิดเป็นขยะหรือสร้างมลพิษกับ สิ่งแวดล้อม อาหารที่ได้รับบริจาคเหล่านี้ช่วยแบ่งเบาภาระค่าอาหารของพวกเขาได้มาก โครงการนี้เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ส่งเสริมอาหารให้กับผู้ขาดแคลน

เนื่องจากช่วงนี้มีผู้กักตัวและ ผู้ว่างงาน เพิ่มขึ้น วัตถุดิบที่ได้รับมีหลากหลาย เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง นม ส่วนอาหารที่ชุมชนต้องการคือ ข้าว เนื้อสัตว์ และไข่ไก่ ซึ่งจิตอาสาของชุมชนจะใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารในเพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน วัตถุดิบที่ได้รับมาช่วยคนในชุมชนประหยัดค่าอาหารในแต่ละมื้อและนำเงินไปใช้ในเรื่องที่จำเป็นกว่าได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:'CPF'สร้าง 'รพ.สนาม'ป้องกัน ชู'บับเบิลแอนด์ซีล'โรงงานรักษาครบวงจร

                   เช็ค! 4 ช่องทางช่วยเหลือ 'กลุ่มเปราะบาง'ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

                  คลิกเลย! 'koncovid.com' ค้นหาสถานที่ 'ตรวจโควิด-19' ใกล้บ้าน

  • 'Circular Meal'...มื้อนี้เปลี่ยนโลกตั้งเป้า 10,000 ชุด 

ทั้งนี้ ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม โครงการ Circular Meal...มื้อนี้เปลี่ยนโลก ได้มอบอาหารกว่า 7,600 ชุด ให้กับมูลนิธิเด็ก ผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อยและผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิค 19 จำนวน 6 แห่ง มีสมาชิกกว่า 5,000 คน

ประกอบด้วย ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ ชุมชนคลองส้มป่อย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนมักกะสัน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนสวนรื่น ศูนย์สร้างโอกาสพระราม 8 และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก เพื่อส่งต่อให้กับชุมชนดวงแข ตรอกสลักหิน รวมทั้งชุมชนกลุ่มเปราะบางที่มีรายได้น้อยอีก 7 ชุมชน ผ่านการปรุงอาหารจากครัวรักษ์อาหาร ของ SOS เช่น ชุมชนบ้านครัวเหนือ ชุมชนคลองส้มป่อย ครัววัดแข ครัววัดโสม ครัววัดภาชี 

โดยมีเป้าหมายส่งมอบ อาหาร ตลอดปี 2564 จำนวน 10,000 ชุด ให้กับ ผู้ด้อยโอกาสและขาดแคลนอาหารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และยังรณรงค์ให้ผู้บริโภคเก็บและคัดแยกบรรจุภัณฑ์ เช่น ถุงพลาสติกจากการมอบอาหารของโครงการฯ กว่า 3,000 ชิ้น ส่งให้กับ GEPP เพื่อนำไปจัดการตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน สามารถลดขยะอาหารสู่หลุมฝังกลบได้แล้วกว่า 1.8 ตัน ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 3,441 กิโลกรัมคาร์บอนไดอ๊อกไซด์เทียบเท่า

มาลัยมาลย์ อารีวรรณ หรือ ป้าลัยจิตอาสาชุมชนวัดโสมนัส  กล่าวว่าจัดสรรอาหารให้กับคนชุมชนจำนวน 700 คน นำกลับไปปรุงที่บ้านและปรุงโดยครัวกลางของชุมชนวันละ 2 มื้อ แจกคนในชุมชน ผู้ว่างงาน ผู้ที่ถูกกักตัว ช่วยแบ่งเบาภาระค่าอาหารให้ผู้ที่เดือดร้อนประหยัด 30-40 บาทต่อมื้อ เป็นกำลังใจในวันที่พวกเขาลำบาก ก็ยังมีข้าวกิน