STARK (4 ส.ค.64)

STARK (4 ส.ค.64)

ประมาณการ 2Q64 และประเด็นการลงทุนที่สำคัญ

Event

ประมาณการ 2Q64 และ ประเด็นการลงทุนที่สำคัญ

Impact

คาดว่ากำไรใน 2Q64F จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

เราคาดว่ากำไรปกติของ STARK ใน 2Q64F จะอยู่ที่ 524 ล้านบาท (+191.2% YoY, +10.6% QoQ) โดยกำไรที่เพิ่มขึ้นทั้ง YoY และ QoQ จะเป็นเพราะ i) ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดลง ii) รับรู้รายได้จากสินค้าที่มี margin สูงขึ้นซึ่งผลิตจากโรงงานในเวียดนาม iii) synergy ทางธุรกิจ และ iv) อัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงงานในเวียดนามสูงขึ้น สำหรับรายการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ เราคาดว่าบริษัทจะมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่รับรู้ 67 ล้านบาท, รายได้ทางการเงิน 5 ล้านบาท และ อื่น ๆ อีก 5 ล้านบาท ทำให้กำไรสุทธิอยู่ที่ 467 ล้านบาท (+5.2% YoY, +5.9% QoQ)

คาดว่ากำไรจะโต 21.4% CAGR ในอีก 2 ปีข้างหน้า

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 เราจึงใช้สมมติฐานรายได้ปีนี้แบบอนุรักษ์นิยม โดยปรับลดลงจากเป้าของบริษัทที่ 2 หมื่นล้านบาท เป็น 1.8 หมื่นล้านบาท เราคาดว่ารายได้จะลดลง 5-10% ใน 3Q64 และจะฟื้นตัวขึ้น 5% ใน ใน 4Q64 ในขณะที่คาดว่า EBITDA margin จะเป็นไปตามเป้าของบริษัทที่ 18-20% เราคาดว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงงานในประเทศไทย และเวียดนามจะอยู่ที่ประมาณ 55% ซึ่งจะทำให้กำไรปกติอยู่ที่ 1,904 ล้านบาท เราคาดว่ารายได้ในปี 2565 จะเพิ่มขึ้น 17% เป็น 2.15 หมื่นล้านบาท ในขณะที่บริษัทตั้งเป้าเอาไว้ที่ 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งสะท้อนถึงอัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงงานในประเทศไทย และเวียดนามที่เพิ่มขึ้นเป็น 60-65% ซึ่งจะทำให้กำไรปกติอยู่ที่ 2,386 ล้านบาท

Valuation & action

เราได้ทำการวิเคราะห์ PER ย้อนหลังสองปี ตั้งแต่ STARK เข้าตลาดแบบ backdooring listing ในปี 2562 พบว่า PER ผันผวนอยู่ระหว่าง 1.5x และ 70.5x อย่างไรก็ตาม PER ของ STARK ขยับอยู่ในช่วงที่แคบลงระหว่าง 20.9x (PER เฉลี่ย) และ 31.2x (+0.5 S.D.) ใน 1H64 เมื่อเทียบกับ PER ของกลุ่ม IMM ที่ 28.8x เราคาดว่า EPS ในปี 2565 จะเพิ่มขึ้นเป็น 0.15 บาท/หุ้น (ประเมินผลจาก dilution ของ STARKW1 อย่างเต็มที่แล้ว) หรือเป็น 0.20 บาท/หุ้น (ไม่มี dilution จาก STARK-W1)

Risk

สัดส่วนหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยต่อทุนอยู่ในระดับสูง, ต้นทุนวัตถุดิบผันผวน, เศรษฐกิจถดถอย, COVID-19 ระบาด และการแข่งขันในตลาดรุนแรง