ส่องสถานการณ์ อัตราป่วย-เสียชีวิต จาก 'โควิด-19' ไทยและต่างประเทศ

ส่องสถานการณ์ อัตราป่วย-เสียชีวิต จาก 'โควิด-19' ไทยและต่างประเทศ

ขณะที่ 'โควิด-19' สายพันธุ์เดลตา ระบาดไปแล้วหลายประเทศทั่วโลก ทำให้ในขณะนี้ ในบางประเทศที่โรคสงบกลับมาระบาดอีกครั้ง เช่น จีน 'ล็อกดาวน์' จาก 'เดลตา' กระจายไปกว่า 20 เมือง ขณะที่สัดส่วนไทยพบสัดส่วนป่วยอยู่ที่ 9,318 ต่อประชากร 1 ล้านคน

วันนี้ (3 ส.ค. 64) ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 3 ส.ค. 64 ภาพรวมทั่วโลก วันอังคารที่ 3 สิงหาคม 2564 เวลา 10.00 น. ยอดผู้ติดเชื้อรวม 199,595,039 ราย อาการรุนแรง 91,649 ราย รักษาหายแล้ว 180,083,311 ราย เสียชีวิต 4,248,886 ราย
  • 5 อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 35,895,980 ราย
2. อินเดีย จำนวน 31,725,399 ราย
3. บราซิล จำนวน 19,953,501 ราย
4. รัสเซีย จำนวน 6,312,185 ราย
5. ฝรั่งเศส จำนวน 6,151,803 ราย
ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 42 จำนวน 652,185 ราย
162796631180
  • จีน 'ล็อกดาวน์' หลายล้านคนสกัดสายพันธุ์ 'เดลตา'
ขณะที่ประเด็นน่าสนใจในต่างประเทศ พบว่า ประชาชนหลายล้านคนในจีนถูกกักตัวอยู่บ้าน ขณะจีนสกัดการระบาดของโควิด-19 ครั้งใหญ่รอบหลายเดือน พบการติดเชื้อใหม่ในชุมชน 55 คน หลังสายพันธุ์เดลตากระจายไปกว่า 20 เมืองมากกว่า 12 มณฑล ขณะนี้รัฐบาลท้องถิ่นในเมืองใหญ่รวมถึงกรุงปักกิ่งต้องตรวจหาเชื้อจากประชาชนหลายล้านคน พร้อมๆ กับตรวจตราย่านอยู่อาศัย และกักตัวผู้สัมผัสใกล้ชิด
เมืองจูโจวในมณฑลหูหนานออกมาตรการล็อกดาวน์เข้มงวด สั่งประชาชนกว่า 1.2 ล้านคนอยู่บ้านไปจนถึงอีก 3 วันข้างหน้า พร้อมตรวจหาเชื้อทั่วโมงและรณรงค์ฉีดวัคซีน
กรุงปักกิ่งที่ก่อนหน้านี้โวว่าลดการติดเชื้อได้สำเร็จเหลือ 0 เสมือน นับตั้งแต่โควิดเกิดขึ้นครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่น เมื่อปลายปี 2562 จนเศรษฐกิจเมืองหลวงฟื้นตัวได้ แต่การระบาดรอบล่าสุดเชื่อมโยงกับคลัสเตอร์หนานจิง ทำให้กรุงปักกิ่งมีการติดเชื้อกว่า 360 คน
ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา เมืองท่องเที่ยวจางเจียจี้ ใกล้จูโจว การระบาดกระจายไปเมื่อเดือนก่อนในหมู่ ผู้ร่วมเทศกาลภาพยนตร์ เมื่อกลับไปภูมิล าเนาโควิดก็กระจายไปทั่วประเทศเป็นเหตุให้ จางเจียจี้ล็อกดาวน์ประชาชนทั้งหมด 1.5 ล้านคน
  • ไทยพบติดเชื้อรายใหม่ 18,901 ราย
ขณะที่สถานการณ์ในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อ โควิด-19 รายใหม่อีก 18,901 ราย ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 652,185 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 147 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2564 มียอดผู้เสียชีวิตสะสมสูงถึง 5,221 รายแล้ว ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 5,315 ราย ผู้ป่วยอาการหนัก 4,893 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 1,046 ราย
162797247049
ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

  • อัตราป่วยไทย 9.318 คนต่อล้านประชากร

สำหรับ ประเทศในเอเชียพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน ญี่ปุ่น บังคลาเทศ ไทย ทั้งนี้ หากดูอัตราการป่วย เสียชีวิตจากโควิด-19 ต่อประชากร 1 ล้านคน ข้อมูลจาก worldometers ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2564 เวลา 10.00 น. จะพบว่า ในแต่ละประเทศมีสัดส่วน ดังนี้ 

อัตราการป่วย 

  • สหรัฐอเมริกา 107,760 ต่อประชากร 1 ล้านคน 
  • สหราชอาณาจักร 86,452 ต่อประชากร 1 ล้านคน
  • มาเลเซีย 34,928 ต่อประชากร 1 ล้านคน
  • อินเดีย 22,747 ต่อประชากร 1 ล้านคน
  • อินโดนีเซีย 12,516 ต่อประชากร 1 ล้านคน
  • ไทย 9,318 ต่อประชากร 1 ล้านคน

อัตราการเสียชีวิต 

  • สหราชอาณาจักร 1,900 ต่อประชากร 1 ล้านคน
  • สหรัฐอเมริกา 1,891 ต่อประชากร 1 ล้านคน
  • อินโดนีเซีย 352 ต่อประชากร 1 ล้านคน
  • อินเดีย 305 ต่อประชากร 1 ล้านคน
  • มาเลเซีย 287 ต่อประชากร 1 ล้านคน
  • ไทย 76 ต่อประชากร 1 ล้านคน

162797247112

  • ต่างจังหวัดติดเชื้อ 58% 

จำนวนผู้ป่วย-ผู้ติดเชื้อในชุมชนรายวัน กทม.และปริมณฑล ต่างจังหวัด และภาพรวมประเทศ ระลอกเมษายน 2564 พบว่า ในกทม. ปริมณฑล (5 จังหวัด) มีการติดเชื้อเป็นสัดส่วน 42% ขณะที่ ต่างจังหวัด (71 จังหวัด) พบว่า สัดส่วนติดเชื้อคิดเป็น  58%

162797247064

  • CCRT ลุยเคาะประตูบ้าน ตรวจเชิงรุก 

ในส่วนของ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักอนามัย สำนักงานเขต ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง ซึ่งได้บูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย จัดทีมป้องกันและแก้ไขปัญหาโควิด-19 เชิงรุกในชุมชน Bangkok Comprehensive Covid-19 Response Team (Bangkok CCRT) โดยมีทีมหลัก 163 ทีม และทีมสนับสนุน 97 ทีม รวม 260 ทีม ลงพื้นที่ชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 15 ก.ค. - 20 ส.ค. 64 เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงในชุมชน ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค และหญิงตั้งครรภ์ และดำเนินการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเสี่ยง

ให้บริการตรวจคัดกรองค้นหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชน ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นก่อนส่งต่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และให้คำแนะนำในการแยกกักที่บ้าน (HI : Home Isolation) และมอบชุด HI แก่ผู้ป่วยที่สามารถกักตัวที่บ้านได้

สำหรับผู้ที่ไม่สามารถกักตัวที่บ้านได้ ทีมจะนำผู้ป่วยนำส่งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (CI : Community Isolation) ดำเนินการกักกันผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่บ้าน และมอบชุด HQ : Home Quarantine หรือส่งเข้า LQ : Local Quarantine ตามความเหมาะสม พร้อมสื่อสารทำความเข้าใจ ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ตลอดจนการปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากโรคโควิด-19

162797773381

  • ให้บริการประชาชนแล้ว 107,323 ราย

(3 ส.ค. 64) พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า สำหรับภาพรวมผลการดำเนินการ Bangkok CCRT ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. - 2 ส.ค. 64 ลงพื้นที่ชุมชนแล้ว 2,092 แห่ง ให้บริการประชาชนสะสมจำนวน 107,323 ราย ให้บริการฉีดวัคซีนแล้ว 76,756 ราย แบ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 43,916 ราย ผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค 32,673 ราย และหญิงตั้งครรภ์ 167 ราย ให้บริการตรวจ Antigen Test Kit แก่ประชาชนแล้ว 22,377 ราย ผลไม่พบเชื้อ 19,671 ราย

และผลพบเชื้อ 2,706 ราย ซึ่งได้นำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา 55 ราย นำส่งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (CI) 42 ราย และให้การดูแลแยกกักตัวที่บ้าน (HI) 2,609 ราย พร้อมดำเนินการมอบชุดกักตัว HI ยาฟ้าทะลายโจร ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ และยา Favipiravir ภายใต้ดุลยพินิจของทีมแพทย์ ดำเนินการกักกันผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่บ้าน (HQ) 5,113 ราย โดยมอบชุด HQ แก่ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง พร้อมสื่อสารทำความเข้าใจ ให้ความรู้แก่ประชาชน 107,323 ราย ทั้งนี้ ทีม Bangkok CCRT จะลงพื้นที่ชุมชนที่ยังตกค้างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 20 ส.ค. 64 อีกเกือบ 500 ชุมชน