ถ้า 'โควิดสายพันธุ์เดลต้า' แพร่เชื้อไว แล้ว 'วัคซีน' ช่วยไม่ให้เชื้อลงปอดได้แค่ไหน

ถ้า 'โควิดสายพันธุ์เดลต้า' แพร่เชื้อไว แล้ว 'วัคซีน' ช่วยไม่ให้เชื้อลงปอดได้แค่ไหน

"โควิดสายพันธุ์เดลต้า" แพร่เชื้อได้ไว เร็วและปริมาณมาก แล้ววัคซีนจะป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสลงปอดได้แค่ไหน นักไวรัสวิทยา มีรายงานผลการศึกษาในอเมริกา

ก่อนหน้านี้ ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา เคยให้"กรุงเทพธุรกิจ" สัมภาษณ์อยู่หลายครั้ง เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2564 แสดงความห่วงใยก่อนระบาดใหญ่ของโควิดว่า

"ห่วงการแพร่ระบาดของสายพันธุ์อินเดีย(สายพันธุ์เดลต้า) เพราะบ้านเราถอดรหัสพันธุกรรมได้ช้า เนื่องจากมีห้องแล็บด้านนี้น้อย การแบ่งปันเชื้อสำหรับถอดรหัสพันธุกรรม เราทำน้อยไป  เพราะข้อกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ทำให้เสียเวลา

ถ้าต่อไปคนติดเชื้อเยอะขึ้น และเสียชีวิตสูง อาจเป็นเพราะสายพันธุ์อินเดียและอังกฤษ ถ้าเราติดตามการกระจายของเชื้อได้ไว จะทำให้เราเข้าใจและป้องกัน เพื่อไปสู่นโยบายการใช้วัคซีนได้ดีขึ้น"

ไม่ได้เกินคาดหมายที่อาจารย์อนันต์ให้ข้อมูลไว้

ล่าสุดอาจารย์อนันต์นำเสนอไว้ในเฟซบุ๊ค Anan Jongkaewwattana เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 เกี่ยวกับผลการศึกษาโควิดสายพันธุ์เดลต้าว่า ไวรัสสายพันธุ์นี้เพิ่มปริมาณตัวเองได้มากกว่าไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม 1000 เท่า 

นอกจากสายพันธุ์นี้ยังฟักตัวได้ไว บริเวณที่ไวรัสเข้าโจมตีร่างกายของเราคือ จมูก ซึ่งแอนติบอดีที่ยับยั้งไวรัสได้มีอยู่อย่างจำกัด 
"ผลการศึกษาที่ไปเก็บข้อมูลที่ เมืองเล็กแห่งหนึ่งในรัฐแมสซาจูเสตของสหรัฐอเมริกา ที่ทาง CDC แถลงออกมาว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบแล้ว (ส่วนใหญ่เป็น mRNA vaccine ส่วนน้อยเป็น J&J) ที่ติดไวรัสสายพันธุ์เดลต้า ยังสามารถแพร่กระจายเชื้อต่อไปให้คนอื่นๆได้
โดยผู้ที่แพร่กระจายเชื้อนั้นมีอาการไม่หนัก คือ มีไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งยังสามารถเดินทางเคลื่อนที่ไปแพร่กระจายต่อได้ เป็นข้อมูลชิ้นสำคัญที่ทำให้หน่วยงานหลักของอเมริกาบังคับให้ประชาชนกลับมาใส่หน้ากากอนามัยอีกครั้ง"
162771300658
(ภาพจากเฟซบุ๊ค Anan Jongkaewwattana)
ข้อมูลของไวรัสเดลต้ามีมากขึ้นเรื่อยๆและยอมรับกันว่า ไวรัสเพิ่มปริมาณตัวเองได้มากกว่าไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิมในระดับ 1000 เท่า (วัดจากปริมาณสารพันธุกรรมของตัวอย่าง swab)
นอกจากนี้ระยะฟักตัวดูเหมือนจะไวกว่าไวรัสปกติ ซึ่งเราคาดหวังได้ว่า เมื่อรับไวรัสเข้าสู่ร่างกายแล้วไวรัสจะสามารถเพิ่มจำนวนได้ไวขึ้น ในปริมาณมากขึ้น
โดยเฉพาะในบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน การแพร่กระจายผ่านการไอ จาม การพูด การตะโกน จะสามารถเกิดได้ไว และ ในไวรัสที่มีปริมาณมากกว่าปกติ
วัคซีนทุกชนิดที่ฉีดกันในปัจจุบันเป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีที่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้ จะอยู่ในกระแสเลือด
แต่บริเวณที่ไวรัสเข้าโจมตีร่างกายของเราคือ จมูก ซึ่งแอนติบอดีที่ยับยั้งไวรัสได้มีอยู่อย่างจำกัด และ ไม่เพียงพอต่อการยับยั้งการติดเชื้อ และ ด้วยระยะฟักตัวที่สั้นลง ภูมิคุ้มกันกระตุ้นได้ไม่มากพอและอาจจะไม่ทัน
โอกาสที่ไวรัสจำนวนสูงๆ จะแพร่กระจายออกสู่ภายนอกร่างกายได้จึงเป็นไปได้ และไม่น่าแปลกใจ แต่ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนจะป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสไปยังอวัยวะสำคัญเช่นปอดได้ยากขึ้น เพราะแอนติบอดีมีอยู่จำนวนมากพอ (ไวรัสกว่าจะไปถึงปอดจะใช้เวลา ซึ่งภูมิจากร่างกายกระตุ้นขึ้นมาได้ทันเวลาทำหน้าที่ของมัน) ประกอบกับ T cell ที่พร้อมทำลายเซลล์ที่โดยไวรัสเข้าทำลายในเวลาอันรวดเร็ว อาการหนักๆ จึงไม่น่าเกิดขึ้นครับ"